HR-LLB-TU-2556-TPC-ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแล้วมีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องไปยังสังคมโลกหรือประเทศอื่น หรือปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นประเทศหลักที่เกี่ยวข้องแล้วมีผลกระทบไปยังสังคมโลก หากจะยกตัวอย่างปัญหานี้ให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ก็คือปัญหาการอพยพ ลี้ภัย เข้าเมือง ของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของพม่า ที่เรียกว่า “ชาวโรฮิงญา”

โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่า
มักมีคนเข้าใจผิดว่าอาระกันกับโรฮิงญาคือคนกลุ่มเดียวกัน จริงๆแล้วชาวอาระกันและชาวโรฮินยาเป็นคนละกลุ่มกัน ชาว อาระกันมาจากรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ของพม่า ส่วนชาวโรฮินยาหรือโรฮิงญามาจากเมืองจิดตะกองของบังกลาเทศ ทั้งสองกลุ่มเป็นพวกเชื้อสายเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน แยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ต่างกันที่สัญชาติเพราะอยู่คนละประเทศ แต่นับถือศาสนาเดียวกันคือ อิสลาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโรฮิงญาแล้วจะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอะรากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ มากกว่าอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ [1]

สาเหตุที่ชาวโรฮิงญาหนีออกจากประเทศพม่านั้นเป็นเพราะด้วยกฎหมายของพม่า ไม่ออกสถานะยอมรับชาวโรฮิงญาเป็นพลเมือง ไม่ให้สิทธิต่างๆแก่ชาวโรฮิงญาทั้งในด้านสาธารณสุข การเดินทาง ที่อยู่อาศัย การใช้แรงงาน หรือแม้แต่การเก็บภาษี ชาวโรฮิงญาได้รับความลำบากจนต้องอพยพหนีออกจากถิ่นอาศัยตัวเองเพื่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมาเลเซีย บังคลาเทศ หรือบางครั้งก็อพยพเข้าปากีสถาน

ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาในเขตประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ถูกนายหน้าหลอกมาว่าจะพาออกไปยังประเทศที่พวกเขาสามารถอยู่ได้ โดยให้จ่ายเงินแก่นายหน้าด้วย แต่นายหน้ากลับพาคนเหล่านี้ลักลอบเข้ามาขายเป็นแรงงานเถื่อน ซึ่งการกระทำนี้ก็เป็นการค้ามนุษย์อย่างหนึ่ง และเมื่อมีการหลบหนีผ่านเข้ามาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่รัฐก็จะจับกุมในข้อหาเกี่ยวกับการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความซับซ้อนของปัญหาในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยต้องรับมือกับกลุ่มผู้ลี้ภัยซึ่งลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ถ้าพิจารณาในทางกฎหมาย พวกเขาผิดที่เข้าเมืองในลักษณะนี้ และต้องถูกส่งกลับประเทศ หากแต่ในทางด้วยมนุษยธรรม เราย่อมรู้ว่าพวกเขาถูกหลอกมาขายแรงงานเถื่อนและพวกเขาไม่ได้ต้องการจะกลับไปสู่ที่ๆจากมา เนื่องด้วยสภาพปัญหาทางสังคมที่ไม่ยอมรับพวกเขา ประเทศไทยจึงต้องเป็นผู้ผลักดันให้พวกเขาไปยังประเทศอื่นที่ยอมรับคนกลุ่มนี้ต่อไป โดยในระหว่างดำเนินการนี้ก็ได้ให้ปัจจัยสี่แก่คนเหล่านี้เช่นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วย แต่ปัญหานี้เหมือนจะยังไม่จบไปอย่างถาวร เนื่องจากหลังการผลักดันไปยังประเทศอื่นแล้ว ก็ใช่ว่าคนเหล่านี้จะได้สัญชาติของประเทศนั้น พวกเขายังคงเป็นผู้ลี้ภัย เป็นชนกลุ่มน้อยที่ไร้สัญชาติในประเทศนั้นอยู่ดี เพียงแต่ที่นั่นพวกเขาอาจได้รับการปฏิบัติเช่นมนุษย์ด้วยกันมากกว่าถิ่นเดิมของเขาเอง

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่าหากชาวโรฮิงญาได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่มีการแบ่งแยกหรือกดขี่ข่มเหง ได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้ ได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเอง ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้น ทั้งในด้านศาสนาหรือเชื้อชาติ อีกทั้งปัญหาการใช้แรงงานทาส แรงงานเถื่อนก็จะไม่เกิดขึ้นโดยนายหน้าที่เห็นแก่ตัว หากำไรบนความลำบากของคนเหล่านี้ด้วย สิ่งที่คนบางกลุ่มขาดไปจนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกันนี้คือความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและทัศนคติที่จะทำให้คนเราเปิดใจรับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่แบ่งแยกในความแตกต่างของกันและกัน หากมีการพัฒนาและใส่ใจกันมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้คงสามารถแก้ไขและลดลงไปได้บ้าง

อ้างอิง

[1] http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58

หมายเลขบันทึก: 568389เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท