การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


           สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับ อาจแบ่งเป็นด้านต่างๆเช่น สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางสังคม สิทธิทางเศรษฐกิจ และสิทธิทางวัฒนธรรม

           สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชราฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาสให้ความสำคัญให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควรเพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด[1]

          สิทธิในชีวิตนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ค.ศ.1948ได้บัญญัติรับรองไว้ในข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล[2]

          จากกรณีศึกษาน้องผักกาด ซึ่งเกิดที่โรงพยาบาลแม่สอดไม่มีการแจ้งเกิด บุพการีเป็นคนมาจากเมียนมาร์และยังมิได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก จึงประสบปัญหาความไร้รัฐโดยสิ้นเชิง คือไร้ทั้งรัฐและไร้สัญชาติตลอดคนถูกถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายของรัฐทุกรัฐบนโลก นอกจากนี้น้องผักกาดยังพิการตั้งแต่กำเนิด พูดไม่ได้ เดินไม่ได้ อาการป่วยหนักมาจากที่ศีรษะบวมใหญ่มาก บุพการีจึงทอดทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลพบพระตั้งแต่เกิด

          การที่น้องผักกาดเกิดที่โรงพยาบาลแม่สอด แต่ไม่ได้มีการแจ้งเกิดเนื่องจากคิดว่าน้องผักกาดไม่น่าจะมีชีวิตรอด แม้ว่าน้องผักกาดจะพิการตั้งแต่กำเนิดแต่น้องผักกาดซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งก็มีสิทธิในการมีชีวิต และรัฐไทยเป็นรัฐที่พบตัว รัฐไทยก็ต้องบันทึกชื่อของน้องลงในทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเพื่อทำให้น้องผักกาดไม่เป็นคนไร้รัฐ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามข้อ 6 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย แม้ว่าน้องผักกาดจะเกิดจากบุพการีเป็นคนมาจากเมียนมาร์ น้องผักกาดจึงไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต แต่เมื่อน้องผักกาดเกิดที่โรงพยาบาลแม่สอดซึ่งเป็นราชอาณาจักรไทย น้องผักกาดย่อมมีสิทธิได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดนเมื่อรัฐไทยไม่รับรองให้น้องผักกาดจึงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อนี้[3]

          เมื่อน้องผักกาดเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิงทำให้น้องไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 ทั้งที่ความจริงแล้วน้องผักกาดเป็นคนป่วยและมีความพิการย่อมสิทธิในการได้รับการรักษาและหลักประกันสุขภาพซึ่งสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน เมื่อน้องผักกาดไม่ได้รับหลักประกันสุขภาพยามพิการซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับการรักษาและเสียชีวิตได้ น้องผักกาดจึงถูกละเมิดสิทธิในชีวิต

           อีกทั้งน้องผักกาดอายุ 8 ปีจึงยังเป็นเด็กในความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้นน้องผักกาดจึงได้รับความคุ้มครองจากอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย เพราะเมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญากับคนทุกคน โดย ข้อ 6 1. รัฐภาคียอมรับว่า เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต 2. รัฐภาคีจะประกันอย่างเต็มที่ ที่เท่าที่จะทำ ได้ ให้มีการอยู่รอดและการพัฒนาของเด็ก แม้น้องผักกาดจะพิการตั้งแต่กำเนิด น้องผักกาดก็มีสิทธิที่จะมีชีวิตและได้รับการรักษาอย่างถึงที่สุดให้มีชีวิตรอดอยู่ และ ข้อ 7 1. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะได้สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้สิทธิที่จะรู้จักและได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน เมื่อน้องผักกาดเกิด น้องผักกาดย่อมต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิดและมีสิทธิได้สัญชาติ อีกทั้งจากข้อเท็จจริงน้องผักกาดถูกทอดทิ้งจากบุพการีไว้ที่โรงพยาบาลแต่ตามอนุสัญญานี้น้องผักกาดมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตนกระกระทำของบุพการีน้องผักกาดจึงเป็นการละเมิดอนุสัญญานี้ด้วย อีกทั้ง ข้อ 24 1.รัฐภาคียอมรับในสิทธิของเด็กที่จะได้รับมาตรฐานสาธารณสุขที่สูงที่สุดเท่าที่จะหาได้และสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสุขภาพ รัฐภาคีจะพยายามดำเนินการที่จะประกันว่าไม่มีเด็กคนใดถูกริดรอนสิทธิในการรับบริการดูแลสุขภาพเช่นว่านั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐภาคีจึงต้องทำให้น้องผักกาดได้รับมาตรฐานสาธารณสุขที่สูงที่สุดเท่าที่จะหาได้สำหรับการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยของน้องผักกาด[4]


[1]อภิชาติ คามีศักดิ์.สิทธิมนุษยชน...กับบางเรื่องเล็กๆที่ไม่เล็กในสังคม.[ออนไลน์].http://www.oknation.net/blog/print.php?id=390479 .วันที่ 12 พฤษภาคม

[2] กระทรวงการต่างประเทศ.ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ.[ออนไลน์]. http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf . วันที่ 12 พฤษภาคม 2557

[3] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508. [ออนไลน์].http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nationality1.pdf . วันที่ 12 พฤษภาคม 2557

[4] กระทรวงการต่างประเทศ.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.[ออนไลน์]. http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/crct.pdf.วันที่ 12 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568396เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 01:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท