สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว

เนื่องจากในขณะนี้ประเทศไทยมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่กำลังร้อนแรง จึงทำให้มีการมีการชุมนุมและขึ้นเวทีปราศัยกันเกี่ยวกับการเมืองในประเทศไทย

การปราศัยบนเวทีเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยปรากฏสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในรัฐธรรมนูญ มาตรา45บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น จะเห็นว่าการที่บุคคลจะขึ้นเวทีปราศัยแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้นย่อมทำได้ และในวรรคสองบัญญัติว่า การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน[1] ดังนั้น การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นก็อาจจะทำได้ถ้าเข้าตามกรณีที่บัญญัติไว้

ในกรณีของนายสาธิต เซกัล ซึ่งกำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ การที่นายสาธิต เซกัลซึ่งถือสัญชาติอินเดีย[2] จึงเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย ขึ้นเวทีปราศัยของกปปส. และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองนั้น นายสาธิตย่อมมีเสรีภาพนั้น และจะถูกจำกัดเสรีภาพนั้นมิได้เพราะนายสาธิตเพียงแสดงความคิดเห็นเท่านั้น มิได้ทำให้มีการกระทำใดที่กระทบต่อผู้อื่นแต่อย่างใด ตามมาตรา45แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

อย่างไรก็ตามอาจมีบางคนที่มีความเห็นความว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา45นั้น อยู่ในหมวด3 ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ดังนั้นมาตราทั้งหมดในหมวด3 จะใช้บังคับแก่คนต่างด้าวมิได้ แต่ในกฎหมายระหว่างประเทศ มีการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ19(1)บุคคลทุกคนมีสิทธิท่ีจะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง (2)บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธิน้ีรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและความคิดทุกประเภทโดยไม่คานึงถึงพรมแดนทั้งน้ี ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ในรูป ของศิลปะหรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามท่ีตนเลือก[3]

จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ19 ยิ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าสิ่งที่นายสาธิตกระทำนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือคนต่างด้าวก็ตาม ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นในประเทศไทยจะกระทำได้โดยคนชาติไทยเท่านั้น เพราะสิทธิในการแสดงความคิดเห็นนั้น เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมี และจะถูกจำกัดมิได้

[1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550. แหล่งที่มา: http://bcp.nbtc.go.th/sites/default/files/act3%20รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย%20พ.ศ.%20๒๕๕๐%20(รวมที่แก้ไขเพิ่มเติม%20ฉบับสำนักงานกฤษฎีกา).pdf ... 10 พฤษภาคม 2557

[2]สาธิต เซกัล ประวัติประธานหอการค้าไทย-อินเดีย ที่ถูกศรส.เนรเทศ. 5 กุมภาพันธุ์ 2557. แหล่งที่มา :http://hilight.kapook.com/view/97452 ... 10 พฤษภาคม 2557

[3]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/iccprt.pdf ... 10 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 567675เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท