กฎกระทรวงออกตามความมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑


กฎกระทรวงออกตามความมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

กฎกระทรวงซึ่งจะต้องออก ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๗ (๑) , มาตรา ๗ วรรคสอง กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแล้ว คือ


(๑) กฎกระทรวง กำหนดวิธีการและค่าธรรมเนียมคำขอพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด พ.ศ. ๒๕๕๓

ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ตามมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑๓ - ๑๖ เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖๖ ก วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/066/13.PDF

สาระสำคัญ

ข้อ ๑ ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ประสงค์จะพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ...

ข้อ ๒ การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้

(๑) ถ้าผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการเขต ณ สำนักงานเขตแห่งท้องที่ที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนา

(๒) ถ้าผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอแห่งท้องที่ที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนา

(๓) ถ้าผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อข้าราชการสถานทูตไทยหรือกงสุลไทยที่ได้รับมอบหมาย ณ ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่หรือส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่ออย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ที่มีเขตอาณาหรือเขตกงสุลในประเทศนั้น

...

ข้อ ๓ วรรคสี่ วรรคห้า
"... ในการพิจารณาคำขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนผู้เกิด บิดาหรือมารดาของผู้เกิดผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นคำขอ หรือบุคคลอื่นที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกิดและบิดาของผู้เกิด พร้อมทั้งตรวจสอบหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าบิดาและผู้เกิดเป็นบิดาและบุตรกัน

ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดวิธีการสอบสวนตามวรรคสามในราชกิจจานุเบกษาโดยวิธีการสอบสวนนั้นต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรรวมถึงปัจจัยแวดล้อมและความเป็นไปได้ในการแสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้เกิดประกอบด้วย
..."

(๒) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบคำขอ แบบหนังสือรับรอง และวิธีการสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

ลงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับข้อ ๑ และข้อ ๓ วรรคสี่ และวรรคห้า ของกฎกระทรวงกำหนดวิธีการและค่าธรรมเนียมคำขอพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด พ.ศ. ๒๕๕๓

ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๒๒ – ๒๓เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๔๑ ง วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔

http://www.pikarnpanya.tht.in/images/Legal_provision5_07.pdf

สาระสำคัญ

ข้อ ๑ ในประกาศนี้

“ผู้ขอ" หมายถึง ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสีย

“ผู้มีส่วนได้เสีย" หมายถึง บุพการี บุตร ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กของผู้เกิด

ข้อ ๒ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดวิธีการและค่าธรรมเนียมคำขอพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศนี้

(๑) นายอำเภอ

(๒) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

(๓) ผู้อำนวยการเขต

(๔) พนักงานทูตหรือกงสุลประจำสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ หรือส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านกงสุล

...

ตัวบท มาตรา ๗ พรบ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่แก้ไขใหม่

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง

“คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม" **

** มาตรา 7 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และเดิม มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535


อ้างอิงเกี่ยวข้อง

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, หลายเรื่องที่ต้องมีการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ยังไม่ขยับ : จึงยังมีคนไร้สัญชาติที่ผิดกฎหมายต่อไปทั้งที่แก้ไขกฎหมายแล้ว", ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/people-management/300199

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=476&d_id=475

บทความเพื่อเป็นข้อมูลของกองบรรณาธิการเดลินิวส์


"พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555"

ลิงค์ดาวน์โหลด พรบ.แก้ไขถึงฉบับที่ 5 (Multiversional, both Word & PDF files)

https://www.mediafire.com/?cpk4kf3k4hgo717

http://www.mediafire.com/download/cpk4kf3k4hgo717/NationalityAct2508toNo5PSK2555.doc

http://www.mediafire.com/download/07jy0l1k3nmp1dg/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.doc

http://www.mediafire.com/download/7683g4tq8ztd68f/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.pdf

http://www.mediafire.com/download/grcxnb62gi6r0vb/NationalityAct2508toNo5PSK2555-09.pdf


Phachern Thammasarangkoon, การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย", ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/510683

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย" http://118.174.31.136/data_pdf/km7_53.ppt

พงษ์เทพ ยังสมชีพ, การตรวจดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อพิสูจน์สัญชาติไทย", ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=73&d_id=73

หมายเลขบันทึก: 567668เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2015 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท