กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


                                 

 จากเว็บไซด์:         https://www.google.co.th/search? q=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95&es_sm=93&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=GklrU43cJc-cugSns4Ew&ved=0CAgQ_AUoAQ&biw=1280&bih=880#facrc=_&imgdii=_&imgrc=qD8Mm8jf2CG1WM%253A%3BUUNFroWsFZKF0M%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.manager.co.th%252Fasp-bin%252FImage.aspx%253FID%253D1320789%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.manager.co.th%252FDaily%252FViewNews.aspx%253FNewsID%253D9520000098944%3B500%3B

              สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ(1) เป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง หากพิจารณาตามกฎหมายไทยที่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนนั้นมีหลายประการไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา หรือพระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งผู้เขียนขอยกตัวอย่าง เรื่องโทษประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา

โทษประหารชีวิตได้บัญญัติไว้ในมาตรา18 ประมวลกฎหมายอาญาแห่งประเทศไทยซึ่งแนวคิดเบื้องหลังของโทษประหารชีวิตในสมัยก่อนคือ เพื่อเป็นการแก้แค้น และเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย แต่แนวคิดในปัจจุบันของการลงโทษประหารชีวิต คือ เพื่อไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นและมุ่งให้ผู้กระทำความผิดมีความรู้สึกผิดสำนึกในการกระทำของตนมากกว่าการแก้แค้น ซึ่งประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตมีหลายประเด็นดังนี้

              ประเด็นแรก
คือ โทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าโทษประหารชีวิตนั้นไปละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของบุคคลเพราะขัดต่อหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 3 ว่า ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล กล่าวคือสิทธิในการมีชีวิตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่งของผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ควรจะได้รับ ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสระและปลอดภัย ปราศจากการละเมิดจากผู้อื่น แม้รัฐก็มิอาจไปละเมิดได้

             ประเด็นที่สอง คือโทษประหารชีวิตเป็นการสร้างความทรมานต่อร่างกายและจิตใจหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า การลงโทษประหารชีวิตของประเทศไทยในสมัยโบราณจะถือได้ว่าเป็นการลงโทษที่ดูโหดร้าย เยือกเย็นไร้มนุษยธรรม โดยการใช้ดาบฟันคอนักโทษหรือที่ เรียกว่า "กุดหัว"(2) ต่อมาเปลี่ยนเป็นการยิงเป้าในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งการลงโทษดังกล่าวทำให้ผู้ได้รับโทษนั้นได้รับความทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจนกว่าจะเสียชีวิต นอกจากเป็นการพรากชีวิตของมนุษย์แล้วยังขัดกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 5 ว่า บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้ และขัดกับ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT)กระทั่งวันที่ 18 ก.ย.2546 การประหารชีวิตด้วยปืนถูกยกเลิก แต่ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย มีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 ก.ย. 2546 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 19 ผู้ใด ต้องโทษ ประหารชีวิต ให้ดำเนินการ ด้วยวิธีฉีดยา หรือ สารพิษ ให้ตาย(3) ซึ่งแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ที่ได้รับโทษนั้นทรมานน้อยลง แต่โทษประหารชีวิตของไทยกลับเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ เช่น ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ, ความผิดเกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรม นอกจากนั้น ยังมีพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 ซึ่งโทษสูงสุดคือการประหารชีวิตเช่นกัน

            ประเด็นที่สาม คือ โทษประหารชีวิตไม่ได้ช่วยให้อาชญากรรมลดลงจริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วยกับงานเขียนในเชิงวิชาการว่า โทษประหารชีวิตไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้ โดยงานวิจัยระบุว่า ปัจจัยที่จะทำให้อาชญากรรมลดน้อยลงนั้นคือเรื่องของความรวดเร็วในการจับกุมและความชัดเจนมากกว่า(4) แต่หากคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เสียหายและคนที่ถูกทำร้ายที่ต้องสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้จึงเกิดประเด็นต่อมาว่า

            ประเด็นที่สี่ คือ การยกเลิกโทษประหารมีความจำเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (ICCPR) เคยวินิจฉัยว่า สิทธิในชีวิตตามกติกาข้อ ๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กําเนิด กล่าวว่า รัฐ ไม่จําเป็นต้องยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องจํากัดการใช้บทลงโทษดังกล่าว และอาจใช้เฉพาะสําหรับกรณีที่เป็น “อาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด” เท่านั้น(5)

           สำหรับตัวผู้เขียนเองก็มีความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องยกเลิกโทษประหารชีวิต แม้ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการมีชีวิตของบุคคลก็ตาม หากผู้นั้นเป็นกระทำผิดอย่างร้ายแรงซึ่งก็ต้องมีการตีความว่าการกระทำแบบใดที่เรียกว่า “อาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด”ดังที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้กล่าวไว้ เพื่อเป็นการป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจนั้น หากกระทำผิดอย่างร้ายแรงจริงๆก็ควรที่จะได้รับการลงโทษเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเป็นเยี่ยงอย่างและให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมต่อไป

_______________________________________________________________________________________

หมายเลขบันทึก: 567665เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท