HR-LLB-TU-2556-TPC-ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ในการเริ่มศึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยและคนหนีภัยความตายนั้น ควรทำความรู้จักกับคำจำกัดความของทั้งคำว่า "ผู้ลี้ภัย" และ "คนหนีภัยความตาย" เสียก่อน  เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง [1]

ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ ส่วนภัยความตาย โดยอ้อม ผมแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

ในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไทยมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย สถานะผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) เนื่องจากมีข้อติดขัดหลายประการทาง กฎหมายในการให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ แต่ประเทศไทย ก็ได้ให้การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานของหลักการมนุษยธรรมและสอดคล้องตามหลัก การพื้นฐานที่สำคัญของอนุสัญญาฯ มาโดยตลอด ซึ่งการปฏิบัติของไทยได้รับการ ยอมรับด้วยดีจากประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ร่วมมือกับองค์การ ระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติองค์การอนามัยโลก ฯลฯ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หนีภัยเหล่านั้น ในระหว่างที่พักพิงอยู่ในประเทศไทย และเมื่อสถานการณ์ของประเทศมาตุภูมิเหล่านั้นกลับคืนสู่สภาพที่ปลอดภัย ก็ได้ช่วย เหลือผู้หนีภัยเดินทางกลับมาตุภูมิอย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี 

นอกจากนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไทยได้จัดทำ Working Arrangements กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย (UNHCR) โดยได้อนุญาตให้ UNHCR มีบทบาทเพิ่มขึ้นในปัญหาผู้หนีภัยฯ พม่า เช่น ร่วมสังเกตการณ์ในการรับให้ พื้นที่พักพิงและการส่งกลับ ช่วยเหลือทางการไทยในการจัดทำทะเบียน และการย้ายพื้น ที่พักพิง เป็นต้น 

อนึ่ง ข้อจำกัดด้านนโยบายของรัฐบาลไทยต่อผู้หนีภัยฯ ในปัจจุบันคือ จะให้ความ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและการประหัตประหารเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยสาเหตุอื่น ๆ เช่น ถูกบังคับย้ายถิ่นฐาน บังคับใช้ แรงงาน หลบหนีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความหวาดกลัวต่าง ๆ รัฐบาลไทยไม่ สามารถแบกรับภาระในการจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้ได้ นอกจากดำเนินการส่งกลับ อย่างปลอดภัย 

ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้กำหนดการรับรองสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคนที่อยู่ใน ประเทศไทยโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งย่อมรวมถึงผู้อพยพ ผู้หนีภัย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วยโดยมีบัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับการคุ้มครอง" [3]

เหตุการณ์ในประเทศซีเรียซึ่งมีรูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี[4]  ได้เริ่มเกิดการจลาจลขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2007 กลางเมืองดาราทางตอนใต้ของประเทศ หลังมีกลุ่มเด็กและวัยรุ่นถูกจับเพราะวาดภาพล้อเลียนการเมือง มีประชาชนเสียชีวิตหลายสิบรายหลังจับกลุ่มประท้วงและเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารประเทศภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างยาวนานของตระกูลอัล-อัสซาด  และหลังจากนั้นรัฐบาลก็ทำการตอบโต้ผู้ชุมนุมด้วยวิธีการรุนแรง จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2013ที่ผ่านมานี้ ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งโลกตกตะลึงและเศร้าสลดใจไปตาม ๆ กัน เมื่อมีรายงานการยิงระเบิดก๊าซพิษซารินเพื่อจัดการกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลในเมืองกัวตาห์ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 ราย ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนชรา แม้กระทั่งเด็กเล็ก ๆ ภาพโศกสลดที่ศพผู้เสียชีวิตที่นอนเรียงรายเกลื่อนกลาดสะเทือนจิตใจชาวโลก และกลายเป็นภาพที่ส่งเสียงคำรามดังกึกก้องให้ทุกคนสะดุด และหยุดหันมาให้ความสนใจว่าอะไรกันที่ทำให้คนในประเทศเดียวกันลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากันเองจนสูญเสียมากมายขนาดนี้[5] 

เหตุการณ์ในประเทศซีเรียนั้นก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยดังนี้

ประการที่1 จากการกระทำของรัฐบาลซีเรียที่ใช้มาตรการโต้ตอบโดยการใช้ระเบิดและอาวุธเคมี กับการชุมนุมอย่างสงบและสันติของชาวซีเรีย ในช่วงสงครามกลางเมืองนั้นกินเวลากว่า 2 ปี จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึงกว่า 100,000 ราย และทำให้ผู้คนหลายล้านต้องอพยพหนีภัยสงคราม จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 20 หลักว่า (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ เนื่องจากประชาชนซีเรียไม่พอใจกับการปกครองประเทศของรัฐบาลทหารซึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ อำนาจในการปกครองประเทศอยู่ในมือของตระกูลเดียวเป็นเวลายาวนาน และการชาวซีเรียมีความคิดที่แตกต่างจากรัฐบาลซึ่งพวกเขาก็มีอิสระในการสมาคม จากข้อ20 (2) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวซีเรียที่จะแสดงออกความไม่เห็นด้วยกับการปกครองในรูปแบบนี้ ผ่านการชุมนุมโดยสงบ  อีกทั้งการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลนั้นขัดกับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 3 หลักว่า ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ดั้งนั้นชาวซีเรียจึงมีสิทธิตามที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนรับรองไว้ การทิ้งระเบิดและใช้อาวุธเคมีทำให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิต

ประการที่2 จากกรณีผู้หนีภัยความตายชาวซีเรียที่มายังประเทศไทย ประเทศไทยน่าจะช่วยให้ที่พักพิงชั่วคราว แต่ผู้หนีภัยก็จะใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในค่ายพักพิงชั่วคราวนั้น ทำให้ไม่สามารถออกจากค่ายได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จึงต้องรอการช่วยเหลือจากผู้เกี่ยวข้อง  ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 (1) กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตน และของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน การที่ผู้ลี้ภัยต้องอาศัยอยู่ในเต๊นท์ ทำให้ต้องเผชิญกับสภาพอากาศทั้งร้อนจัดและหนาวเหน็บ รวมทั้งการไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องนอนกับพื้น ทำให้บางคนถึงกับเสียชีวิตเพราะทนกับสภาพอากาศไม่ไหว จึงพิจารณาได้ว่าผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องดังกล่าว

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ลี้ภัยมักจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบที่แตกต่างกัน  ทั้งที่สิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่ควรถูกละเมิด ดังนั้นประเทศต่างๆควรเร่งหาแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความปลอดภัยของประเทศนั้นๆ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรภายในประเทศให้ประเทศไม่ต้องรับผลกระทบไปด้วย เป็นต้น

อ้างอิงแหล่งที่มา

[1]  UNHCR. ผู้ลี้ภัยคือใคร. เข้าถึงได้จาก : https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee (วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 พฤษภาคม 2557).

[2] พงศ์เทพ. บทสัมภาษณ์ : “สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ. เข้าถึงได้จาก : http://salweennews.org/home/?p=986 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 พฤษภาคม 2557).

[3] แผนปฏิบัติการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัย. เข้าถึงได้จาก : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/hu... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 พฤษภาคม 2557).

[4] ประเทศซีเรีย. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 พฤษภาคม 2557).

[5] ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในซีเรียจากสงบจนปะทุ. เข้าถึงได้จาก : http://hilight.kapook.com/view/90267 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 พฤษภาคม 2557).

หมายเลขบันทึก: 567661เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท