ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


บันทึกเมื่อ วันอาทิตย์ ที่4 เดือนพฤษภาคม 2557 

        สำหรับ ประเทศไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนของประชาชน โดยได้ให้ความเห็นชอบในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2491 และ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ [1] ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR), อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC), อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูป แบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD), อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหด ร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD) อย่างไรก็ดีสำหรับประเทศไทยแล้วนั้นก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ถึงแม้จะมีการดำเนินการให้เป็นผลตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญา หรือให้เป็นผลไปตามตราสารระหว่างประเทศที่ได้เข้าเป็นภาคี โดยการตรากฎหมายภายในประเทศ หรือปรับแก้กฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับพันธกรณีอนุสัญญา

         พิจารณาได้จากกรณีศึกษาของชาวโรฮิงญา พวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ หรือที่สมัยโบราณเรียกว่ารัฐอาระกัน อิสลาม ชาวโรฮิงญาในพม่านั้นถือเป็นชนกลุ่มน้อย ที่เรียกได้ว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลพม่ามากที่สุดเพราะเหตุความแตกต่างทางชาติพันธุ์ พวกเขากลับถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธที่จะให้สัญชาติซึ่งเป็นสถานภาพพลเมือง ที่ชาวโรฮิงญาควรจะได้และถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายจากเหล่าทหาร พวกเขาถึงกับกล่าวว่าสิ่งที่ทหารพม่าได้กระทำกับพวกเขานั้นช่างราวกับพวกเขาไม่ใช่คน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากล ข้อ 2 กล่าวคือ ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางเชื้อชาติ [2]

          นอกจากนี้กลุ่มทหาร พวกเขายังถูกชาวพม่าดูถูกเหยียดหยามและทำร้ายร่างกาย ไม่สามารถสมัครงานที่ไหนได้ พวกเขาไม่มีสิทธิในด้านที่ดิน การศึกษา หรือสถานพยาบาลใด ๆ ในพม่า ทั้งยังถูกกีดกันทางด้านการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางข้ามเขตที่ไม่สามารถกระทำได้เลย แถมพืชพันธุ์ในหมู่บ้านก็ถูกทหารเข้ามาแย่งเก็บเกี่ยว หากใครขายของได้เงินก็จะถูกทหารเข้ามาแย่งยึดไป ทำให้พวกเขาต้องอยู่อย่างอดอยาก ไม่มีแม้แต่ข้าวจะกินครบ 3 มื้อ บางครั้งพวกผู้ชายก็ต้องยอมอดข้าวเพื่อให้ลูกเมียได้กิน

           ซึ่งถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในข้อ 13 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ ข้อ 17(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตนเอง และโดยร่วมกับผู้อื่น ข้อ 23(1) สิทธิในการทำงาน ในการเลือกงานโดยอิสระ ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพ และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และสุดท้ายข้อ 26 (1) ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา

            สำหรับประเทศไทย เจ้าหน้าที่กำลังผลักดันเพื่อส่งตัวกลุ่มชาวโรฮิงญากลับพม่า เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามค้นหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาของพวกเขา และพยายามประสานกับองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญาและร่วมหาทางออกร่วมกัน เพราะต่างก็ทราบดีว่า การที่ส่งตัวพวกเขากลับไปยังประเทศพม่านั้น ก็ไม่ต่างจากส่งพวกเขากลับไปยังนรกขุมเดิม พร้อมกับบอกว่า หากให้พวกเขากลับไปอยู่ที่รัฐอาระกัน ก็เหมือนกับไปรอคอยความตาย อยู่ไปก็อยู่อย่างไร้อนาคต ไม่มีสภาพความเป็นคน ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหน เดินทางไปมาได้ก็เฉพาะภายในจังหวัดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น โดนกดดันจากทหารพม่าตลอดเวลา [3]

            และในปัจจุบัน แม้จะมีการผลักดัน หรือ การหาทางแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงญา ยังถือได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีชาวโรฮิงญาล่องเรือมายังไทยและไม่มีการรับรองสถานะสัญชาติ เมื่อชาวโรฮิงญาเข้าเมืองมาก็จะถือว่าเป็น ผู้ที่มีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมายได้

เอกสารอ้างอิง

[1]กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, (2553), ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี(ออนไลน์), สืบค้นจาก : http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conventions , [04 พฤษภาคม 2557]

[2]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights (ออนไลน์), สืบค้นจาก : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/udhrt.pdf , [04 พฤษภาคม 2557]

[3]สำนักข่าวไทย ครอบครัวข่าว3, เปิดชีวิต ชาวโรฮิงญา อยู่รัฐอาระกันก็เหมือนรอคอยความตาย (ออนไลน์), สืบค้นจาก : http://hilight.kapook.com/view/33433 , [04 พฤษภาคม 2557]

หมายเลขบันทึก: 567375เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการเพิ่มขึ้นนะคะ จะทำให้งานมีคุณค่ามากขึ้นค่ะ

ระบบโกทูโนจะไม่บันทึกวันที่เขียน ดังนั้น ในบันทึกของเรา ควรบันทึกวันที่เราเขียนค่ะ เวลาอ้างอิง จะต้องอ้างอิงวันที่เราเขียนค่ะ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท