ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


        สุขภาพดี [1] เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติตามปฏิญาณสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ ประกอบกับสุขภาพเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ผู้อื่นจะหยิบยื่นหรือทำแทนแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และไม่ทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งขวนขวายหาความรู้และแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

          ในทางสาธารณสุขถือว่า คน เป็นทั้งผู้มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดการของรัฐ และเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีการจัดระบบบริหารจัดการสุขภาพ ที่คนในชาติจะได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ประชาชน เอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจกำหนดทิศทางและบริหารจัดการสุขภาพด้วยตนเอง  ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพไว้ ต่อไปนี้

   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 4 บัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"

ซึ่งถือเป็นบททั่วไปที่สามารถนำไปปรับใช้กับบทกฎหมายเฉพาะเรื่องได้

มาตรา 51 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์"

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

มาตรา 3 บัญญัติว่า "บริการสาธารณสุข หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบโรคศิลปะ"

มาตรา 5 วรรค 1 บัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้"

       แต่ในทางเป็นจริงกลับพบว่าเกิดการให้บริการทางด้านสาธารณสุขไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ ห่างไกลจะไม่มีโอกาสได้ใช้บริการด้านสาธารณสุขหรือไม่มีแพทย์หรือบุคลากรทาง การ แพทย์ประจำ และ ปัญหาการช่วยเหลือบุคคลไร้สัญชาติซึ่งถือเป็นมนุษย์คนหนึ่ง  

    ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกรณีของน้องจอหนุแฮ เด็กชายที่เกิดที่ประเทศเมียนม่าร์ พ่อแม่พามารักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดตากเนื่องจากน้องป่วยเป็นวัณโรคทำ ให้ปอดเสียหายหนัก ไม่สามารถหายใจเองได้ จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามมติคณะ รัฐมนตรีทั้งๆที่น้องเป็นผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คือน้องเป็นผู้ประสบปัญหาไร้รัฐและไร้สัญชาติ น้องจอหนุแฮจึงควรจะได้รับสิทธิในหลักประกันสุขภาพดังกล่าว เพื่อจะได้รับการรักษาพยาบาลและได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่น้องไม่สามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้เนื่องจากมีปัญหาการตีความเรื่องสถานะ บุคคล อย่างไรก็ตามมีภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมศึกษาวิจัยปัญหาเด็กและเยาวชนข้าม ชาติด้อยโอกาสเข้าไปช่วยเหลือโดยการที่กำลังจะเสนอการสนับสนุนทุนเพื่อซื้อ หลักประกันสุขภาพตามมติคณะรัฐมนตรีให้แก่น้องจอหนุแฮ

     จากกรณีข้างต้นจะพบว่า น้องจุนแฮ ประสบปัญหาไร้รัฐโดยสิ้นเชิง คือ ไร้ทั้งรัฐและสัญชาติ ตลอดจนถูกถือเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่ถึงแม้น้องจุนแฮจะเป็นคนไร้รัฐ แต่ก็ถือเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก็ถือเป็นผู้ทรงสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ เช่นนี้แล้วน้องจุนแฮ จึงเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพที่ดี การที่รัฐปฏิเสธการช่วยเหลือ เพราะเห็นว่าเป็นคนไร้สัญชาติ จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มาอาศัยในรัฐไทย

เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2557

อ้างอิง

[1] สุขภาพภาคประชาชน

http://www.esanphc.net/online/people/people01.htm

หมายเลขบันทึก: 567370เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท