สนทนาประสาคนชอบมวย..ศึกษาการฝึกสมาธิ สำหรับผู้ฝึกพาหุยุทธ์


ประโยชน์จากการทำสมาธิภาวนา

            หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จิตใจก็เบิกบาน สมองแจ่มใส จิตใจเข้มแข็ง อารมณ์เย็น พร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรมากระทบ สามารถ แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตัวเอง เมื่อมีสมาธิที่เข้มแข็ง ปัจจุบันมี การวิจัยและค้นพบข้อดีของการทำสมาธิเช่น ช่วยปรับสภาวะสมดุลของ ร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้อัตราการหายใจและชีพจรช้าลง ทำให้คลื่นสมองสงบ กล้ามเนื้อผ่อนคลายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระดับ ฮอร์โมนที่ถูกระตุ้นจากความเครียดลดลง แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ถึงร้อยละ ๗๕ และช่วยให้ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใช้ยาแก้ปวดลดลงจาก เดิมร้อย ละ ๓๔ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มีอาการทุกข์ทรมานลดน้อย ลงกว่าการรักษาเฉพาะทางทางยา ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ความถี่หรือความรุนแรงของอาการจะลดลงร้อยละ ๓๒ และยังพบอีกว่า ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในศาสนา จะหายเร็วกว่า ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย จะมีอัตรา การตายมากกว่าผู้นับถือศาสนาถึง ๓ เท่า ในสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบผลตรงกันว่า ชาวพุทธที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองในส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ดี และความคิดด้านบวกจะทำงาน กระฉับกระเฉงกว่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้สมองส่วนที่เป็น ศูนย์กลางความทรงจำด้านร้ายสงบลง และการนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อารมณ์แปรปรวน ตกใจ เกรี้ยวกราด หรือหวาดกลัวลดลงด้วย แพทย์โรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้คนไข้โรคหัวใจ ฝึกสมาธิระหว่างบำบัดด้วยยาไปด้วยและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะทำให้ ความดันโลหิตและความเครียดลดลงอย่างมาก ฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี ไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ก็ต้องเริ่มการฝึกทำ สมาธิและต้องเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าได้ผัดผ่อนเด็ดขาด…

การทำสมาธิอาจจะทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร

           รายงานจากศูนย์ข่าวทางการแพทย์ เมื่อวันที่ ๑๐ พ.ย. ๒๕๔๗ ที่ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ข่าวล่าสุดรายงานมาว่าการทำสมาธิ นั้นไม่เพียงแต่จะสร้างความสงบให้แก่จิตใจเท่านั้น ผลการวิจัยชิ้นใหม่ที่ศึกษา เกี่ยวกับการฝึกทำสมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นอาจจะทำให้สมอง เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างถาวรอีกด้วย นักวิจัยได้ค้นพบว่า พระสงฆ์หลายรูป ผู้ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลาหลายปีนั้น สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเรียนรู้ และส่วนรับความรู้สึก มีกระบวนการทำงานที่ดีกว่าหลายๆ คนที่ไม่เคยทำ สมาธิมาก่อน ผลการวิจัยยังบอกอีกว่า การฝึกการทำสมาธิ เช่น การฝึกทำ สมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นสามารถเปลี่ยนการทำงานของสมอง ได้ทั้งในการฝึกระยะยาวหรือระยะสั้น ทั้งนี้นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยเปรียบเทียบการทำงานของสมอง ของผู้เข้ารับการทดลองในสองกลุ่มหลัก ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๘ รูป มีอายุเฉลี่ยประมาณ ๔๙ ปี แต่ละรูปมีประสบการณ์ในการ นั่งสมาธิตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๑๕ ถึง ๔๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ ๒๑ ปี จำนวน ๑๐ คน ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการ ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ มาก่อน และเพิ่งได้รับการอบรม ในเรื่องการทำสมาธิได้เพียง ๑ สัปดาห์ก่อน เริ่มการทดลอง การทดลองครั้งนี้ นักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า อิเล็กโทรเอนเซฟา โลแกรมส์ (Electroencephalograms) ในการวัดระดับการทำงานของคลื่น สมองแกมมา รวม ๓ ครั้ง คือ ก่อน ระหว่าง และหลังการ ปฏิบัติสมาธิ ซึ่ง คลื่นสมองแกมมาเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงความทรงจำ ระดับการเรียนรู้ ระดับสมาธิและการมองโลกในแง่ดี ผู้เข้ารับการทดลองทั้ง สองกลุ่มถูกจัดให้นั่งสมาธิแบบทิเบตในห้องทดลองที่ ผ่อนคลาย และมีการ ทำสมาธิเน้นให้ รู้สึกถึงความรักและความเมตตาต่อสรรพสิ่ง โดยจะไม่ใช้วิธี การเพ่งจิตต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ลมหายใจ ผล ปรากฏว่า ในช่วงก่อนการนั่งสมาธิ คลื่นสมอง แกมมาของกลุ่ม พระภิกษุมีระดับที่สูงกว่ากลุ่มนักศึกษา และระดับความแตกต่างนี้ ได้ปรับ สูงขึ้นอย่าง มากระหว่างการนั่งสมาธิ ซึ่งระดับคลื่นสมองแกมมา ของกลุ่ม ภิกษุในระหว่างการนั่งสมาธิครั้งนี้ นับว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมี รายงานมา เป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มพระภิกษุ มีการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ทางด้านบวก เช่น ความสงบสุข มีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มที่ไม่เคย ปฏิบัติสมาธิใดมาก่อน นอกจากนี้ ยังสรุปได้ว่า ระดับคลื่นแกมมาที่สูงของ ภิกษุก่อนการปฏิบัติสมาธินั้น แสดงให้เห็น ว่าสมองได้มีการพัฒนาอย่าง ถาวรหากได้รับการปฏิบัติ ธรรมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้ว่าปัจจัย ทางด้านอายุและสุขภาพอาจจะทำให้คลื่นสมองแกมมา มีระดับที่แตกต่าง กันไป แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สังเกตได้ชัด จากการทดลอง คือ จำนวนชั่วโมง ของการปฏิบัติ สมาธิ ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคลื่นสมองแกมมา

             นอก จากนี้ ยังมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่ศูนย์วิจัยจิต และสมองยู.ซี เดวิส (UC Davis Center for mind and brian) เมืองแคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้รับแรงบันดาลใจจากสารขององค์ดาไลลามะแห่งทิเบต ที่ กล่าวถึงความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา และยังได้รับเงิน สนับสนุนจากสถาบันศึกษาเรื่องจิตสำนึก แห่งซานตาบาร์บารา ซึ่งสถาบัน นี้ได้รับเงินบริจาคจาก ริชาร์ด เกียร์ พระเอกหนุ่มชื่อดังของฮอลลีวูดผู้มี ความเลื่อมใสในพุทธศาสนานั่นเอง ดังนั้น โครงการนำร่องจึงได้จัดตั้งขึ้น เพื่อศึกษา ถึงการทำงานของ สมองระหว่างการนั่งสมาธิ และสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมาธิสามารถเชื่อม ต่อกับอารมณ์ในแง่บวกได้ง่าย กว่าคนปกติ โดยจะเริ่มโครงการจริงในวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ โดยกลุ่มผู้ทดลองจำนวนทั้งสิ้น ๓๐ คนจะถูกคัด เลือกจากประเทศยุโรป เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และพาไปฝึกอบรมนั่งสมาธิ ในระยะเวลากว่า ๑ ปี ในสถานที่เงียบๆ แห่งหนึ่งในเมืองแคลิฟอร์เนีย เพื่อ นักวิจัยจะได้สังเกตถึงพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทดลอง ดอกเตอร์อลัน วอลเลซ หัวหน้าศูนย์วิจัยจิตและสมอง ยู.ซี เดวิส เป็นผู้ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความจำ ปฏิกิริยาตอบสนองทาง อารมณ์ การจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พร้อมกับจัดตารางชีวิตประจำวันที่ เรียบง่ายให้กับทุกคน โดย เริ่มจากตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้าเพื่อนั่งสมาธิกลุ่ม และเดี่ยวจน ถึงเวลา ๑๐ โมง มีการเสิร์ฟอาหารเป็นเวลาที่แน่นอน และมี เวลาว่าง ๒ ชั่วโมงต่อวัน จุดประสงค์ของตาราง เวลา คือ เพื่อที่จะสร้าง กิจวัตรที่แน่นอน ที่ไม่รบกวน เวลานั่งสมาธิและมุ่งเน้นที่ความสมดุลของ การทำงาน ของจิตใจเป็นสำคัญ กลุ่มผู้ทดลองจะได้รับเงินตอบแทนจำนวน ๑,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนในการเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ เนื่องจากทุกคนต้องอยู่ห่างบ้าน และสิ่งที่คุ้นเคยมาอยู่ ในกฎระเบียบที่ทางสถาบันจัดให้ นอกจากนี้ ทุกๆ สองสัปดาห์ ผู้ช่วยนักวิจัยจะเข้ามาเก็บข้อ มูลอย่างละเอียด เช่น ผลเลือด น้ำลาย ความดัน และศึกษาทดลองเพื่อที่จะตรวจวัดการทำงานของสมอง ผ่านเครื่องอีเล็กโทรเอนเซ ฟาโลแกรมส์ อีกทั้งยังตรวจ วัดระดับความเครียด และระบบการทำงานของภูมิต้านทานอย่างละเอียดอีกด้วย ดอกเตอร์อลัน กล่าวทิ้งท้ายว่า การทดลองครั้งนี้ นับว่าเป็นการทดลองที่น่าตื่นเต้นสำหรับ ศูนย์วิจัย เนื่องจากเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญชื่อดังทางด้านสมอง นักจิตวิทยา และพุทธศาสนิกชน ด้วยข้อมูลที่เก็บอย่างละเอียดตั้งแต่ต้น นักวิจัยหลายๆ คนซึ่งได้ทำการตรวจกระบวนการทำงานของสมอง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกดังกล่าวโดยใช้การตรวจด้วยภาพคลื่น กระแสไฟฟ้าของสมอง และแล้วเหล่านักวิจัยก็ได้พบความแตกต่างที่น่าทึ่ง ของผลการตรวจระหว่างกลุ่มพระสงฆ์ และ กลุ่มของนักเรียนในเรื่องของ กระบวนการทำงานของสมองที่เรียนว่า “gamma wave activity” ซึ่งภาพ คลื่นดังกล่าวแสดงผลรวมไปถึงการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมด้าน ความรู้สึก และ จิตใจ ความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องการงาน และ การเรียนรู้การ เข้าใจ จากการสำรวจพบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มของพระสงฆ์ และสามารถ เห็นความแตกต่างซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดีอย่างน่าทึ่งระหว่างการฝึก ซึ่ง นักวิจัยได้เปิดเผยความจริงว่าระดับคลื่นสมองที่สำรวจพบในกลุ่มของพระ สงฆ์ดังกล่าวนั้นเป็นคลื่นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่เคยมีการสำรวจคลื่นสมองมา ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มดังกล่าวต่อมาก็ยังมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เช่น พัฒนาด้าน ความรู้สึกที่เป็นสุข

          ท้ายสุดนักวิจัยกล่าวว่าความจริงแล้วกระบวนการทำงานของสมอง ของพระสงฆ์นั้นมีการพัฒนามาก่อนการฝึกครั้งนี้แล้ว ซึ่งก็สรุปได้ว่าการฝึก สมาธิที่ฝึกมาเป็นเวลานานสามารถเปลี่ยนกระบวนการทำงานของสมองได้ ถึงแม้ว่าอายุจะแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญ คือ ระยะเวลาที่ใช้ ในการฝึก และปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ต้องทำการศึกษาโดยผ่านภาพคลื่นกระแส ไฟฟ้าของสมอง กันต่อไปก็คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ได้เปลี่ยน แปลงไปนั้นเป็นเพราะการฝึกสมาธิมาเป็นเวลานาน หรือ เป็นความสามารถ เฉพาะตัวของแต่ละคนก่อนที่จะได้รับการฝึก

สรุปประโยชน์ของสมาธิ
๑. ทางร่างกาย
๑.๑ อัตราการหายใจลดลง คาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง เป็นผลดีต่อปอด
๑.๒ อัตราเต้นของหัวใจน้อยลงเป็นผลดีต่อหัวใจ
๑.๓ ปริมาณ กรดแลคเตท ในเลือด ซึ่งเกี่ยวกับความคิด ความวิตก กังวล จะลดลงเป็นลำดับทำให้คิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะทำอะไรลงไป
๑.๔ เลือดจะมีความเป็นกรดสูงขึ้นเล็กน้อย แสดงถึงสุขภาพที่ดี
๑.๕ คลื่นสมองของผู้นั่งสมาธิ จะมีความราบเรียบ และทิ้งช่วงห่าง มากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติ
๑.๖ ความต้านทานของผิวหนังสูงขึ้นทันทีที่เริ่มมีสมาธิ
๑.๗ อายุยืน

๒. ทางจิตใจ

๒.๑ ทำให้ลดทิฐิ ต่างๆ ที่มีอยู่ในตนเอง
๒.๒ ทำให้จิตใจได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ผ่องใส เกิดความสงบ เยือกเย็น
๒.๓ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียนและในการทำงานต่างๆ
๒.๔ ทำให้เป็นผู้มีความเมตตากรุณา และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
๒.๕ เป็นผู้ที่มีสติ ไม่หลงลืม มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ อะไรอยู่
๒.๖ เป็นผู้มีศีล คือทำดี ไม่ทำชั่ว
๒.๗ ทำให้เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคง
๒.๘ ทำให้เป็นผู้มีปัญญา คือ รอบรู้ในสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ และโทษภัยต่างๆ
๒.๙ เป็นกุศล นำไปสู่สุคติ ไม่ตกไปสู่อบาย

             ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากแสดงถึงผลสรุปที่ไม่ สามารถโต้แย้งได้เลยว่า การทำสมาธิโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์มีคุณประโยชน์ มากมายมหาศาลในหลายๆ ด้าน เช่นทำให้สุขภาพด้านร่างกายดีขึ้น จิตใจ มั่นคงขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น มีความหยั่งรู้เองมากขึ้น และทำให้ จิตใจสงบเยือกเย็นมีความสุขมากขึ้น การรู้จักทำสมาธิให้เป็นส่วนหนึ่งของ กิจวัตรประจำวัน เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง…..

.........ขอกราบขอบพระคุณ หลวงพี่ พระนวกภิกษุ ที่ได้ให้ข้อมูล..ขอรับ..
.....(คัดลอกจากเว็บไซต์ชมรมผู้ศึกษาธรรม....)....

หมายเลขบันทึก: 567345เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท