ลุงเหมย
ข้าราชการครูบำนาญ นายชุมพล บุญเหมย

การสวดมนต์รักษาโรค ตอนที่ ๒


ขอกราบคารวะแด่ท่านกัลยาณธรรมและรัตนมิตรผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย...คราวก่อนอีตาลุงเหมยได้นำเอาบันทึกจากการได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่จรัญมาน้อมกราบเรียนให้ท่านฟังแล้วว่า  เมื่อเราเข้าใจในวิธีการสวดมนต์เป็นประจำวันของเราแล้ว เราก็สวดมนต์ให้กับตนเอง ยังไม่พอ...หากเราเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ให้พิจารณาถึงต้นเหตุของการเจ็บป่วย เมื่อรู้สาเหตุแล้วก็หาทางดับเหตุนั้นเสีย ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้วว่าเหตุแรกเกิดจากการเจ็บป่วยทางกาย...ทีนี้ก็จะขออนุญาตพูดถึงเรื่องการเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดโรคทางใจให้ท่านได้วิสัชนานะครับ....หลวงปู่ท่านกล่าวว่า..โรคทางใจ มีสมมตุฐานเกิดจากกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ภาษาพระเรียกว่า อกุศลวิตก  โรคภูมิแพ้ทางกาย แพทย์วินิจฉัยว่า เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง  โรคภูมิแพ้ทางใจ พระพุทธองค์วินิจฉัยว่า เกิดจากภูมิคุ้มกันกิเลสบกพร่อง...กายกับใจนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น คนป่วยทางกาย ถ้าใจตก หรือใจเสีย ที่ป่วยน้อยก็ป่วยมาก ที่ป่วยมากก็ทรุดหนักลงไปอีก ความเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายหรือใจ เกมื่อเกิดขึ้นทำให้เป็นทุกข์ประจำสังขาร วิธีแก้ทุกข์ยามเจ็บป่วย..พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ ( ทองดี  สุรเตโช ) ป.ธ ๙ ,ราชบัณฑิต  แนะนำว่า.....ให้ตัดความทุกข์ที่ไม่จำกเป็นลงบ้าง คือ บางครั้งตัวทุกข์มีอย่างเดียว แต่คนไปเพิ่มทุกข์ที่ไม่จำเป็นอีกมากมายทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้นอีก เช่น เจ็บป่วยขึ้นมา ทุกข์ตัวจริง ๆ คือ ป่วย  แต่บางคนก็เลยเถิด ป่วยก็ป่วยยังคิดต่อไปว่า...หมอไม่เอาใจใส่ ยาไม่ดีทำให้หายช้า พยาบาลไม่ดูแล ลูก ผัว เพื่อนฝูงไม่มาเยี่ยม คิดเรื่อยเปื่อย ความจริงมันมีอยู่อย่างเดียว คือ ป่วย นอกนั้นเป็นทุกข์นอกรายการที่เจ้าตัวเชิญมาทั้งสิ้น เป็นทุกข์โดยไม่จำเป็น ทุกข์ประเภทหลังนี้หมอก็รักษาไม่ได้ เจ้าตัวต้องจัดการเชิญออกกไปเอง....

             การรักษาโรคของพระพุทธองค์ ทรงแนะว่าให้รักษาโรคทางกายไปพร้มกับการรักษาโรคทางใจ...เพราะกายกับใจนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างแนกบแน่น...การรักษาทางกาย  พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า...ต้องทำความสบายให้เกิดขึ้น ต้องรู้ประมาณในสิ่งที่สบายแต่พอดี กินยาตามแพทย์สั่ง บอกอาการให้แพทย์ฟังตามความเป็นจริง อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น.....การรักษาทางใจ  ทรงสอนให้พิจารณาเห็นความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาของชีวิตว่า...เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อวันใดเกิดเจ็บป่วยจะได้ทำใจยอมรับความจริง เรียกว่า ป่วยแต่กาย อย่าให้ใจป่วยตาม

              ในพระพุทธศาสนา มีหลักฐานว่า...พระพุทธเจ้าทรงรักษาพระสาวกผู้อาพาธด้วยพระพุทธมนต์อยู่หลายครั้ง หรือแม้พระองค์ทรงประชวร ก็ได้ให้พระสาวกวดพุทธมนต์ถวายเพื่อบรรเทาความเจ็บไข้ จึงยืนยันได้ว่า...พระพุทธมนต์  มีอานุภาพรักษาโรคทางกายได้ ...พระพรหมคุณาภรณ์ ( ประยุทธ์  ปยุตโต ) ท่านได้แนะนำว่า.....เป็นธรรมดากายกับใจนั้นเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน พอกายเจ็บป่วยไม่สบาย คนทั่วไปก็มักกจะพาลจิตใจไม่สบาย เศร้าหมอง กระวนกระวาย และในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตใจไม่สบายก็พลอยให้กานไมบายไปด้วย ในทางตรงกันข้าม คือ ในทางที่ดี ถ้าจิตใจดีสบายบางทีก็กลับมาช่วยกาย เช่น ขอกราบขออนุญาตเอ่ยนาม คุณพี่พรพิมล  สุรินทร์วงศ์  ซึ่งท่านบอกว่า....เป็นผู้โชคดี ที่ได้พบหนังสือ " โพชฌังคปริตร ทำให้มีกำลังใจดีในการรักษาตัว " เมื่อรู้สึกตัวว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านม เมื่อต้นปี ๒๕๕๓ จึงเข้ารับการรักษาตัวด้วยการผ่าตัดและให้ยาเคมีบำบัด และในชณะเดียวกันนั้น็ได้รำลึกถึงบทสวดมนต์โพชฌังคปริต น่าอัศจรรย์จากการที่สามารถทำความเข้าใจกับบทสวดโพชฌังคปริต ให้เกิดเป็นพุทธฤทธิ์รักษาโรค ซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้  ๗  ประการ จึงตระหนักว่า....กายและใจเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกัน เกี่ยวข้องกัน การมีศรัทธาในหลักธรรม ทำให้จิตใจแข้มแข็ง ผ่องใส สามารถนำกาย - ใจ ไปสู่ทางสงบได้

                ขอน้อมกราบคารวะท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งท่านไสด้เสด็จสวรรคตไปไม่นานนี้ได้ประทานข้อคิดในการสวดบทโพชฌังคปริต ไว้ว่า......พระพุทธศาสนา แบ่งการรักษาอาพาธเป็น ๒  อย่าง คือ อาพาธที่ควรให้หมอรักษาก็ให้มอรักษา อาพาธที่ไม่จำเป็นให้หมอรักษาก็ให้ธรรมรักษา เพราะอากพาธที่เกิดขึ้นแม้เกิดขึ้นทางร่างกายแต่ก็เกี่ยวกับทางจิตใจ ถ้าใจไม่มีความอดทนพอ ที่เรี่ยกว่า อธิวาสนขันติ  คือ อดทนไปอาพาธก็หายไปเอง หรือมีใขบันเทิงในธรรม ปีติในธรรม สุขในธรรม ก็เป็นเครื่องระงับทางกายได้ คนปัจจุบันก็ยังปฏิบัติ เจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างก็ไม่รับประทานยา ใช้ความอดทนก็หายไปเอง......
                แต่ก็ใช่ว่าการสวดมนต์จะช่วยรักษาโรคให้หายได้ทุกอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย  ๓  อย่าง ดังที่ พระนาคเสนเถระ ได้กล่าวเป็นอุทาหรณ์เปรียบเทียบไว้ในหนังสือ มิลินทปัญหา ว่า....อาหารตามปกติแล้วเป็นสิ่งรักษาชีวิต แต่ถ้าหากเกินขนาดและธาตุไฟหย่อนไม่ย่อยเผาผลาญแล้ว เป็นเหตุให้ถึงตายได้ อาหารจึงรักษาชีวิตไว้ไม่ได้เสมอไป พระปริตที่สวดก็เช่นกัน บางทีก็รักษาได้ บางทีก็รักษาไม่ได้ เพราะมีเหตุ  ๓ ประการ คือ
                 ๑.   ถูกแรงกรรมปิดกั้น         ๒.  ถูกกิเลสปิดกั้น       ๓.  มีจิตไม่เชื่อในพระปริต
โพชฌังคปริต  นอกจากจะมีอานุภาพรักษาโรคด้วยอำนาจของพระพุทธมนต์แล้ว  
ผู้ป่วยยังสามารถนำฌพชฌงค์  ๗  มาประยุกต์ใช้กับการรักษาดรคทางกายและใจในปัจจุบันได้อีกด้วย โดยปฏิบัติดังนี้....
                  ๑.   สติสัมโพชฌค์  เจริญภาวนา รักษาสุขภาพกาย ด้วยมีความระลึกนึกถึงเรื่องที่จะเป็นต่อการรักษาโรค รักษาสุขภาพใจ ด้วยมีสติรู้เท่าทันความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องธรรมดา
                  ๒.   ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  เจริญภาวนา รักษาสุขภาพกาย ด้วยพิจารณาสังเกตความเจ็บป่วย เลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณแก่โรค รักษาสุขภาพทางใจ ด้วยปีปัญญาเห็นความไม่จีรับของชีวิต ไม่ว่าจะพยายามรักษาชีวิตไว้อย่างไร ก็ต้องพลัดพรากกันไปในที่สุด
                   ๓.  วิริยสัมโพชฌงค์  เจริญภาวนา รักษาสุขภาพกาย ด้วยมีความเพียรในการรักษาตน ไม่ปล่อยปละละเลยในสุขภาพ จนทำให้โรคกำเริบหนัก รักษาสุขภาพใจ ด้วยมีความเพียรเร่งทำบุญกุศลไว้เป็นเสบียงเลี้ยงตัในโลกหน้า เจริญภาวนาเพื่อให้มีสติไม่หลงเพ้อ

บทสวด โพชฌงคปริตร......        โพชฌังโค  สะติสังขาโต              ธัมมานัง วิจะโ  ตะถา
                                             วิริยัมปิติปัสสัทธิ                              โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
                                              สะมาธุเปกขะโพชฌังคา                 สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
                                              ภาวิตา  พหุลีกะตา                          สังวัตตันติ  อพภิญญายะ
                                              นิพพานายะ  จะ  โพธิยา                 เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
                                              โสตถิ เม ( ถ้าสวดให้คนอื่น เปลี่ยน เม  เป็น  เต )โหตุ  สัพพะทา
                                               เอกัสมิง ( อ่านว่า เอ - กัด - สะ - หมิง )    สะมะเย  นาโถ
                                               โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา  ( 
อ่านว่า ทิด - สะ - หวา )
                                               โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ               เต จะ ตัง อะภินันทิตวา ( อ่านว่า ทิด - ตะ - วา   )
                                               โรคา มุจจิงจุ ตังขะเณ                  เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
                                               โสตถิ 
เม  โหตุ  สัพพะทา              เอกะทา ธัมมะราชาปิ
                                               เคลัญเญนาภิปีฬิโต                      จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
                                               ภะณะเปตวานะ สาทะรัง                สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
                                               ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส                 เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

                                               โสตถิ เม
โหตุ สัพพะทา                 ปะหี ( อ่านว่า..ฮี  ) นา เต จะ อาพาธา
                                                ติณณันนัมปิ  มะเสินัง                   มัคคาหะตะกิเลสา วะ
                                                ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง                   
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
                                                โสตถิ เม
โหตุ สัพพะทา........
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร เมืองราชคฤห์ ทรงประชวรพระโรคเกี่ยวกับพระนาภี และประชวรหนักลงทุกวัน ครั้งนั้นพระจุนทเถระเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์รับสั่งให้พระเถระแสดงโพชฌังคปริตถวาย พระเถระจึงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ เมื่อพระเถระกล่าวพระสูตรนี้จบลง พระพุทะองค์ทรงโสมนัสและหายจากพระโรคาพาธ.....
                      ท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่าน ได้มีผู้รู้ในธรรมท่านหนึ่งกล่าวแก่อีตาลุงว่า...ท่านมีความเชื่อในผลกรรม ทุกอย่าเกิดขึ้นมาจากผลกรรมที่เราได้กระทำไว้ ในอดีตชาต ปัจจุบันชาต และแม้แต่คิดจะกระทำในอนาคตชาติ นั่นก็เป็นสิ่งที่ถูต้องอย่างยิ่ง เว้านแต่ว่าผลกรรมที่กระทำไว้นั้นจะส่งผลออกมาในยามใด ขอกราบท่านผู้รู้ที่ได้แจ้งให้ทราบ...และขออานิสงส์าสจากการเจริญภาวนาในบทสวดโพชฌงคปริตนี้จงบังเกิดใหท่านได้ถึงซึ่งความสุข หายจากโรคาพาธจงทุกท่านเทอญขอน้อมกราบในภูมิรู้ของทุกท่าทุกเมื่อ...เทอญ....
อีตาลุงเหมยครับ


                                               
       

                                            

หมายเลขบันทึก: 567344เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท