"ยางนา"ต้นไม้พลังงานสร้างพลังคน (มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสังคม)


ศุกร์ที่2พฤษภาคม2557 

รศ. ศจี สัตยุตม์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย เชิญดิฉันให้เป็นผู้สังเกตการณ์ ทำหน้าที่่บันทึกเรื่องดีๆของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 50ปีเพื่อสังคม  เพื่อกำหนดทิศทางและการวิจัยน้ำมันยางนา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข้อมูล ของต้นไม้พลังงาน ชื่อ "ยางนา" ถูกถ่ายทอดออกมาจากผู้เชียวชาญหลายหลากสาขาที่มีคุยกัน ในมุมมองของแแต่ละสายวิชาชีพอย่างน่าสนใจมาก เป็นบรรยายกาศที่มีความกระตือรืนของผู้นำเสนอ กลั่นความรู้เรื่องของต้นไม้ยางนา ออกมาอย่างกระชับในเวลาสั้นๆ

+ ยางนา ด้านการวิจัย มีงานวิจัยเพื่อการนำนำ้ยางนามาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลและการนำยางนาเป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ของเกษตรกร  อย่างไรก็ตามยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย

งานวิจัยการนำประโยชน์ด้านพลังงาน นำเสนอน่าสนใจมาก พบว่า สามารถนำมาใช้ได้จริงแต่เป็นสูตรที่ต้องผสมกับดีเซล อุปสรรคคือเรื่อง ค่าความหนืด

+ ยางนา ด้านองค์ประกอบทางเคมี  ในน้ำมันยางนานอกจากมาทำเชื้อเพลิงแล้ว ด้านเคมียังพบว่า เป็นสาร antioxydant สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านความงาม มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิได้ด้วย และพบว่า น้ำมันยางนา ประกอบด้วยฮอร์โมลเพศชายสูงอีกด้วย ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายด้านการแพทย์

+ ยางนา ด้านแหล่งที่มา มีพืชที่ชื่อคล้ายกันและใกล้เคียง ยาแดง ยางกุง และยางควาย เป็นพืชในตระกูลเดียวกัน แหล่งความรู้เหล่านี้จะสามารถค้นคว้าได้จากแหล่งใดบ้าง นักวิจัยด้านการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน 

ในภาคอีสาน จังหวัดที่มีต้นไม้ที่ คือ อุบล อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด ถ้าเราต้องการตรวจสอบว่ามีพืชชนิดนี้ โดยเครื่องGPSสามารถพัฒนาขึ้นมาได้แต่ปัจจุบัน ยังต้องการพัฒนาคล้ายๆกับการสำรวจหาแหล่งการปลูกของต้นยางพารา

เป้าหมายสุงสุดของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาใช้ประโยชน์ของน้ำมันยางเพื่อเป็นพลังงานทดแทนแบบยั่งยืน 

ดังนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมจึงมีส่วนสำคัญ 

+ ยางนา ด้านการพัฒนาชุมชน โครงการปลูกต้นยางนา 10ต้นต่อ1ตารางวา ของ หมออภิสิทธิ์  รพอ.อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งวันนี้ท่านนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเช่นกัน การส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกต้นยางนา ไม่ใช่การตั้งใจปลูกอย่างโดดเดี่ยว พบว่า ยางนาจะเจริญได้ดีไปพร้อมๆกับพืชอื่นๆ การปลูกแบบเศรษฐกิจพอเพียง เล่าอย่างน่าสนใจ สอดคล้องกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การส่งเสริมการปลูกต้นยางนาต้องใช้เวลา ต้องการความต่อเนื่อง ต้องอบรม ดูงาน สร้างชุดความรู้ที่ใช้เป็นสื่อ ปัจจุบัน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นดำเนินโครงการดังกล่าวและได้รับการสนับสนุน จาก สสส นอกจาก ปชช อยู่ดีมีสุขยังสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ด้วย เมื่อให้ข้อมูลเรื่องพลังงาน ปชช สนใจมาก

+ยางนา ด้านการเกษตร นำเสนอการเพาะพันธ์ยางนา ที่ใช้จุลลินทรีย์ เป็นการวิจัยดินที่เหมาะสมในการเพาะปลูกต้นยางนา

การประชุมเสวนาวันนี้ สิ่งที่รับรู้ได้คือ พลังปัญญา การขับเคลื่นที่มีทิศทาง เพื่อยกระดับการพัฒนางานวิจัยสู่สังคม คือ ประชาชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง 

+ยางนา กับการจัดการ 

การตั้งเป็นศูนย์การวิจัยยางนา เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานและเก็บข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ

การสนับสนุนงบประมาณวิจัย ที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมส่งเสริมให้มีทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนางาวิจัยสู่ชุมชน

ทั้ง 2 ประการนี้ได้รับการยืนยันแล้ว จาก รองศาสตรจารย์ ศจี สัตยุตม์ ผู้ช่วยอธิการและศาตราจารย์ นพ.วีรชัย โค้วสุวรรณ รองอธิการ ฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ประสานงาน คุณธนายุทธ สังข์อินทร์ โทร: 083-1282708 และ Email: [email protected]

                                 นี้คือ ยางนาต้นไม้พลังงานสร้างพลังคนและองค์กร

พนอ เตชะอธิก ; พยาบาลขั้นสูง สาขาอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 567321เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มารับความรู้และเรียนรู้การถอดบทเรียน ขอบคุณมากค่ะพี่แขก

มีภาพสวนยางพาราที่บ้านเรา(สกลนคร)มาฝากค่ะ

Wow !!!!   เพิ่งไปดูงานที่อุบลรัตน์มาค่ะ    ได้กล้ายางนามา  ๕  ต้น  ลองปลูกก่อนค่ะ   ขอบคุณบันทึกมากด้วยสาระนะคะ

ฝากสวัสดี  อ.ศจี  ด้วยนะคะ  หากมีโอกาส

ยางนาที่ปลูกไว้ให้ดอกผล..ปลิวไปทั่วแล้ว..เจ้าค่าเอ๋ย...

ที่ไร่พี่แก้ว ปลูกยางนาไว้หลายสิบต้น ตั้งแต่ปี 2541 เริ่มเติบโต ชอบตั้งแต่ไปเห็นที่เขื่อนอุบลรัตน์ ต้นใหญ่มากๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท