โรควูบ (Fainting) และหมดสติ (Syncope) ภัยใกล้ตัวเรา


 

   ด้วยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 : ผู้เขียนได้ประสบด้วยตัวเองเกี่ยวโรควูบ โดยมิได้รู้ตัวมาก่อน ยังถือเป็นความโรคดีที่ยังไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพียงแค่เสียโฉมบนใบหน้าเล็กน้อย คือหางคิ้วขวาแตก เย็บ 5 เข็ม และข้อเท้าซ้ายกระดูกร้าว จึงได้ศึกษารายละเอียดของสาเหตุว่าเป็นอะไร จึงขอนำเสนอ เรื่องราว โรควูบ (Fainting) และหมดสติ (Syncope) ภัยใกล้ตัวเรา ตามละเอียดสำคัญ ดังนี้
   โรควูบ คือ อาการลมเกือบหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป (Syncope) เป็น ภาวะที่พบได้บ่อย สาเหตุของการเป็นลมเกือบหมดสติหรือหมดสติ มีได้หลายสาเหต ุมากมาย หนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น อาจเกิดจากความผิดปกติทางหัวใจได้ ผู้ป่วยที่มี ประสบการณ์กับตนเอง รวมถึงคนใกล้ชิดผู้ป่วยจะเกิดความวิตกกังวล สูญเสียความมั่น ใจ เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นลมหมดสติอีกเมื่อไหร่ ถ้าเกิดขณะ ขับรถ ข้ามถนน หรือขณะเล่นกีฬา จะทำอย่างไร จะฟื้นหรือไม่ จะดูแลในเบื้องต้นอย่าง ไร เรามาทำความรู้จักอาการวูบ หรือหมดสติกันดีกว่าการเป็นลมหมดสติ เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงในระดับรุนแรง ทำให้ศูนย์ควบคุมความรู้สึกตัวเสียการทำงาน ไป

สาเหตุที่สำคัญ คือ

1. ภาวะตกใจหรือเสียใจรุนแรง

2. ไอหรือจามแรงมากเกินไป

3. ขณะยืนถ่ายปัสสาวะ หรือหลังถ่ายปัสสาวะ หลังจากที่กลั้นมานาน

4. ออกกำลังกายมากเกินไป

5. หลังอาหารมื้อหนัก

6. เส้นประสาทสมองที่ 5,9 อักเสบ

7. เป็นโรคสมองเสื่อมหรือสมองฝ่อ

8. โรคพาร์คินสันบางราย ที่มีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติร่วมอยู่ด้วย

9. โรคเบาหวาน ในรายที่เส้นประสาทโดนทำลายจากเบาหวาน

10. จากยาบางชนิดเช่น รับประทานยาลดความดันมากเกินไป

11. ดื่มสุรามากเกินไป

12. จุดกำเนิดไฟฟ้าของหัวใจเสื่อมสภาพ

13. เสียเลือดมาก หรือเสียน้ำออกจากร่ายกายมากเกินไป เช่น ท้องร่วงรุนแรง อาเจียนรุนแรง

14. มีการกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่น ล้วงคอ อาเจียน เบ่งถ่ายอุจจาระ ปวดท้องรุนแรง

15. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง

16. ระบบทางเดินไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพหรือผิดปกติ

17. สาเหตุจากการเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจและหลอดเลือด

18. ภาวะเสียเลือดจากหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง

19. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

20. เนื้องอกในห้องหัวใจ

21. ลิ้นหัวใจตีบรุนแรง

22. ภาวะที่มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมากและมีการกดการทำงานของหัวใจ

23. ภาวะเสียเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจแตก หรือมีการฉีกขาดรุนแรง

24. มีลิ่มเลือดใหญ่ไปอุดตันเส้นเลือดในปอด

25. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมากเกินไป

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ
บางคนก่อนจะเป็นลมหมดสติ จะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น ถ้าเป็นจากโรคหัวใจ อาจมีใจสั่นนำมาก่อน หรืออาจไม่มีอาการเตือนเลยก็ได้ ขณะหมดสติอาจมีอาการเกร็ง กระตุกได้ ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น และลดการเกิดการบาดเจ็บ ถ้าขับรถอยู่ ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังจะเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถ เพราะอาจหมดสติตรงทางลงทำให้เกิดอันตรายได้

 ขอขอบคุณเว้บไซด์ : http://www.phuketbulletin.co.th/Lifestyle/view.php?id=176

   จึงขอนำเสนอมายังเพื่อน ๆ ต้องการบอกว่าให้หมั่นดูแลสุขภาพ หารู้ตัวว่าไม่ไว้ขอจงหยุดพัก หมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย ให้เวลากับสุขภาพตัวเองบ้างน่ะครับ...

คำสำคัญ (Tags): #โรควูบ
หมายเลขบันทึก: 567307เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจังค่ะ ที่ได้นำประสบการณ์ตรงของตนเองไปศึกษาเพิ่มเติมแล้วนำมาบอกต่อให้ประโยชน์กับผู้อ่าน ขอให้สุขภาพดีนะคะ

ขอให้เพื่อน ผอ หายไวๆนะครับ

ดูแลสุขภาพตัวเองดีๆนะครับ

ขอบคุณครับ อ.วิเชียร ทองน้อย

ดูประวัติท่านยังอายุไม่มากนัก

 ไม่ทราบว่าปกติมีความดันโลหิตเท่าไหร่ครับ

มาถามเรื่องความดันโลหิตด้วยคนค่ะ

มีกลุ่มโรคหรือภาวะที่ต้องคิดถึงอีกค่ะ 

กลุ่มหนึ่งที่อยากให้ลองค้นคว้าหรือปรึกษาแพทย์คือ TIA ที่นี่ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท