ครอบครัวข้ามชาติ


        มนุษย์ที่ข้ามชาติหมายถึงบุคคล ที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น 

       ดังนั้น ครอบครัวข้ามชาติ คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัวที่มี ปัญหาเรื่องสถานะของตน เช่น สัญชาติที่ไม่ตรงกับดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานได้แก่ บิดาหรือมารดา เป็นคนข้ามชาติ จากการเข้ามาในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม อนึ่งคนข้ามชาติ คือ ผู้ดำรงชีวิตในถิ่นฐานที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนเอง[1]

    ในปัจจุบันการเดินทางข้ามจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งนั้น ง่ายกว่าอดีต จริงทำให้ครอบครัวข้ามชาติ จึงเป็นปรากฎการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยนั้น จะขอยกตัวอย่างกรณีของครอบครัวข้ามชาติ เช่น กรณีของครอบครัวเจดีย์ทอง ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่านายอาทิตย์ไปทำงานที่ไต้หวันและได้พบรักกับนางสาวแพทริ เซีย ต่อมานายอาทิตย์เดินทางกลับประเทศไทยเพราะหมดสัญญาจ้าง ส่วนนางสาวแพทริเซียยังคงทำงานที่ไต้หวันต่อไป จนกระทั่งหมดสัญญานางสาวแพทริเซียก็เดินทางกลับประเทศมาเลเซียและระหว่าง นั้นได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเยี่ยมนายอาทิตย์ในเวลาต่อมา โดยได้รับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเธอจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกินวันที่ 5 มิถุนายน 2556 นางสาวแพทริเซียอาศัยอยู่ในประเทศไทยจนเลยวันที่ 5 มิถุนายน และได้ไปแสดงตัวต่ออำเภอท่าสองยางว่าเป็นคนไร้สัญชาติเพราะต้องการอาศัยอยู่ ในประเทศไทยตลอดไป นางสาวแพทริเซียจึงถือเอกสารสองใบ คือ บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลขประจำตัวประชาชน13หลักซึ่งขึ้นต้นด้วยเลข0 ซึ่งหมายถึงเป็นคนไร้สัญชาติและหนังสือเดินทางที่แสดงว่านางสาวแพทริเซียมี สัญชาติมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม บุตรของนางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ทั้งสามคนมีเพียงสัญชาติไทย ซึ่งทั้งที่จริงแล้วเด็กทั้งสามคนนั้นสามารถที่จะถือสัญชาติมาเลเซียได้ด้วย [2]

      จากปัญหาดังกล่าวนายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียควรทำการสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะจะ ได้รับการคุ้มครองถึงสิทธิต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น นางสาวแพทริเซียสามารถขอวีซ่าประเภทครอบครัว ที่จะทำให้สามารถอยู่ในประเทศไทยในฐานะผู้ติดตามของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยได้ อีกทั้งนางสาวแพทริเซียยังคงมีสัญชาติมาเลเซียและจะได้รับสิทธิต่างๆมากกว่าการเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนดังที่เป็นอยู่ รวมถึงบุตรทั้ง 3 ก็จะได้รับรองสัญชาติมาเลเซียเป็นคนสองสัญชาติ ทำให้มีสิทธิได้ทั้งสองประเทศเพื่อเป็นผลดีต่อตัวบุตรเอง สามารถรับสิทธิได้ทั้งสองประเทศ ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีที่ขาดความรู้ด้านกฎหมายจึงทำให้ครอบครัวต้องเสียสิทธิบางประการที่ควรจะได้รับ

เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2557

อ้างอิง

[1] ปัญหาครอบครัวข้ามชาติชายแดนไทย- ลาว

http://www.l3nr.org/posts/535906

[2] มนุษย์ที่ข้ามชาติ : แรงงานข้ามชาติ

http://www.l3nr.org/posts/535602

หมายเลขบันทึก: 567303เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท