คู่ขัดแย้งในบริบทการเมืองไทย


คู่ขัดแย้งในบริบทการเมืองไทย

มุมมองการเมืองและการมองเห็นภาพของการเมืองไทย ทำให้เราเห็นคู่ขัดแย้ง ต่างๆ มากมายเกิดขึ้น คู่ขัดแย้งในแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับมิติของการมอง ในคู่ขัดแย้งแต่ละคู่นั้น บทบาทหนึ่งเป็นคู่ชัดแย้งกัน แต่อาจจะไม่เป็นคู่ขัดแย้งกันในอีกบทบาทหนึ่งก็เป็นได้ ดังนั้น ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขัดแย้งกัน และจะขัดแย้งกันทุกเรื่อง หรือในทางตรงกันข้าม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเห็นพ้องกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า เห็นพ้องกันทุกเรื่องเช่นเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่สมควรสรุปว่า กลุ่มใดหรือใครก็ตามที่ขัดแย้งกับเรา แล้วก็จะขัดแย้งกับเราทุกเรื่อง หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับเรา

เราสามารถแบ่งคู่ขัดแย้งต่างๆ ได้ดังนี้
1. คู่ขัดแย้งระหว่างเสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยแบบของแท้ที่มีอำนาจอธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้ จริงเหมือนนานาอารยประเทศ กับฝ่ายอำมาตยธิปไตย ประชาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นประชาธิปไตย ที่ถูกครอบหรือแทรกแซงเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป้นอำนาจนิติบัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ โดยผ่านรัฐธรรมนูญ ที่ร่างขึ้นเพื่อผูกขาดหรือควบคุมอำนาจทั้งสาม แล้วเลือกตั้งตามปกติ หรือพูดง่ายๆ ว่าประชาธิปไตยที่ถูกล็อค หรือกีดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว ที่มีคู่กับเมืองไทยมาตั้งแต่ 2475 และเราเรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ

2. คู่ขัดแย้งระหว่างม๊อบ กปปส พรรคประชาธิปัตย์และพวก กับ กลุ่ม นปช. หรือ พรรคเพื่อไทย
3. คู่ขัดแย้งระหว่างชนชั้น คือชนชั้นรากหญ้าในชนบท ชนชั้นกรรมกร แรงงาน กับชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงในสังคมเมือง (หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง ความเท่าเทียมกันของคนในสังคม)
4. คู่ขัดแย้งกลุ่มนายทุนใหม่ กับนายทุนเก่า
5. คู่ขัดแย้งของกลุ่มองค์กรที่รัฐโอบอุ้มหรืออิงอยู่กับรัฐ (รัฐวิสาหกิจเดิม) เช่น การไฟฟ้า ประปา การบินไทย ฯลฯ กับ กลุ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือมีการจัดการให้องค์กรเหล่านี้สู่การเป็นเจ้าของร่วมกัน (ตลาดหุ้น) คล้ายๆ กับรูปแบบของบริษัท
6. คู่ขัดแย้งกลุ่มแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์นิยมในเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กับ กลุ่มแนวคิดบริโภคนิยม นิยมความสะดวกสบาย นิยมวัตถุในโลกอนาคต เช่น การใช้ถ่านหินสร้างโรงไฟฟ้า, การสร้างรถไฟความเร็วสูง ฯลฯ
7. คู่ขัดแย้งระหว่างกลุ่มไพร่ (ทุกคนเท่าเทียมกัน) กับฝ่ายอำมาตย์ หรือระบบศักดินา (ระบบชนชั้น ข้าราชการ ขุนนาง และทาส)

8. คู่ขัดแย้งของกลุ่มประชาชนเชิงพื้นที่ที่ถูกหล่อหลอมทางความคิดให้ไปคนละทิศ คนละทาง ประกอบกับรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ หล่อหลอมกันได้ กลืินเป็นชาติเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าอยู่ร่วมกันหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ยังมีความอ่อนไหวที่พร้อมจะเป็นรอยเลื่อนได้เสมอ
9. คู่ขัดแย้ง ของกลุ่มคนที่อ้าง และยึดตัวบท กฏหมาย กติกาสังคม ประเพณี เป็นฐานในการต่อสู้ทางการเมือง กับกลุ่มที่อ้างคุณธรรม จริยธรรมเป็นฐานในการต่อสู้ในเชิงการเมือง (คุณธรรมในที่นี้เป็นเรื่องของความเห็นร่วม ไม่ได้หมายถึงคุณธรรมตามหลักศาสนาหรือคุณธรรมตามหลักสากลแต่อย่างใด)

ซึ่งแน่นอนจะต้องมีทั้งผู้เสียผลประโยชน์ และได้ผลประโยชน์ หรือพูดง่ายๆ ว่า ผลประโยชน์ถูกเปลี่ยนมือ ก็จะต้องเกิดความขัดแย้งเป็นธรรมดา จะเห็นว่า ทั้งหมดมาจากการเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลง จากระบบเดิมที่อยู่คู่เมืองไทยมานาน มา กลายเป็นระบบใหม่ หรือระบบการค้าเสรี ระบบเสรีประชาธิปไตย ที่เปิดกว้างให้ทุกคน ทุกฝ่ายมีการแข่งขันอย่างเต็มที่ พอพูดมาถึงตรงนี้ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็จะบอกว่าก็เข้าทางพวกนายทุนที่เห็นแก่ตัวซิ ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ต้องกลัวหรอกคะ เพราะระบบที่ดี ที่มีความสมดุลโดยธรรมชาติ ก็จะถูกปรับเข้าสู่ความพอดี หรือความสมดุลเอง เช่น ถ้านายทุนพวกนี้เห็นแก่ตัว ประกอบธุรกิจแบบ win-lost หรือตัวเองได้ฝ่ายเดียว ไม่ประกอบธุรกิจที่เรียกว่า win-win (ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย) แน่นอนไม่มีทางอยู่ได้หรอก เพราะใครบ้างล่ะ ที่อยู่ในโลกปัจจุบันที่เชื่อมถึงกันหมด จะยอมให้คนอื่นเอาเปรียบอยู่ได้นานๆ เพราะการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ถ้าสังเกตุดีๆ ส่วนใหญ่จะเน้นลูกค้าเป็นหลัก เน้นให้ลูกค้ามีความพอใจสูงสุด ลูกค้ามีทางเลือก คิดถึงการความพอใจของลูกค้าในระยะยาว อย่าลืมว่าในยุคนี้ โลกทั้งโลกติดต่อสื่อสารถึงกันหมดด้วยเทคโนโลยี

ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา หรือประเทศในยุโรปก็ตาม แน่นอนทุกอย่างไม่ได้แลกมาด้วยความสบาย ง่ายดาย แต่ก็ต้องพยายามภาวนาให้มีการสูญเสียให้น้อยที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 567283เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท