ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 2


การได้มาซึ่งการใช้คำภาษาอังกฤษโดยเด็กวัยเรียนชาวญี่ปุ่น: การศึกษาระยะยาว

ผู้วิจัย : 1.ยูมิโกะ ยามะกูชิ

2. สะโทมิ คะวะกูชิ

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาโดยใช้เวลานาน (Longitudinal study) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียนในโรงเรียนที่ศึกษาการใช้คำในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ใช้เฟรมเวิร์คของ PT (Processability Theory) ซึ่ง Peinemann กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการการพัฒนากิจวัตรของผู้เรียน ในงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ มีการศึกษาเรื่องการใช้คำภาษาอังกฤษอยู่มาก แต่ยังไม่มีใครสนใจศึกษาโดยทำการวิจัยที่ใช้เวลานาน

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษา 1. บริบทของการบรรยายรายละเอียดของการพัฒนาเป็นลำดับขั้น และ 2. ความถูกต้องของการเปลี่ยนรูปคำกริยาและคำนาม ใช้เวลากว่า 2 ปี

ผู้วิจัยใช้เกมส์และการเล่าเรื่อง ผู้เข้าร่วมวิจัย (ศึกษาจากผู้เข้าร่วมวิจัย 1 คนเท่านั้น) ถูกให้บันทึกเสียง (การพูดโดยทันที) ระยะเวลาการวิจัยคือ ต้องแต่ผู้เข้าร่วมวิจัยอายุ 5 ปี 8 เดือน ถึง 7 ปี 8 เดือน ทั้งสิ้นเป็นเวลา 2 ปี ผลวิจัยเผยว่าผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถได้มาซึ่งการใช้คำภาษาอังกฤษโดยใช้ PT ในช่วงแรกที่ทำการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสามารถอยู่ในระดับต่ำ (ถูก 50 %) จนถึงเวลาใกล้สิ้นสุดงานวิจัยผู้เข้าร่วมถึงมีความสามารถในการใช้คำได้ ถูก 100% ซึ่งขัดแย้งกันกับผู้วิจัยก่อนหน้า Jia and Fuse (2007) ที่ว่าผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถได้มาซึ่งการใช้คำในภาษาอังกฤษถูก 80% ของทุก ๆ หน่วยคำ เว้นแต่การใช้ past tense marker “-ed” ผลการศึกษาความถูกต้องในงานวิจัยชิ้นนี้พัฒนาขึ้นตามลำดับจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา

ผู้วิจัยกล่าวอีกว่าการศึกษาโดยใช้ระยะเวลานานนั้น ผู้วิจัยจะได้ดูการเปลี่ยนแปลง (พัฒนาการ) ของผู้เข้าร่วมวิจัยผ่านตัวแปรของเวลา เพื่อระบุการพัฒนาเป็นระดับขั้น จึงจำเป็นต้องสะสมข้อมูลเป็นระยะเวลานาน

ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้เข้าร่วมมีเวลาเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ นอกจากนี้ยังได้รับภาษาอังกฤษจากการดูโทรทัศน์ที่บ้าน แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยเมื่ออายุ 4 ปี ไม่เคยได้รับการสอนภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ และมี“โอกาส” ที่จะพูดภาษาอังกฤษในประเทศญี่ปุ่น*

เมื่อเวลา 5 ปี 7 เดือน ผู้เข้าร่วมวิจัยได้ย้ายไปที่ประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเธอจึงได้เรียนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ข้างนอกบ้าน ผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่เมื่อกลับบ้านเธอและพ่อแม่ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสาร ในขณะที่เธอสามารถพูดภาษาแม่ของเธอได้เป็นอย่างดี แต่เธอกลับใช้ภาษาอังกฤษได้เพียงแค่ระดับพื้นฐาน อาทิ “Thank you” และ “I don’t know”

ในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์ ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเล่าเรื่อง และเกมส์การสื่อสาร ซึ่งวิธีการเหล่านี้นิยมในการเก็บข้อมูลในเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ/ภาษาที่สอง

การเล่าเรื่อง ผู้วิจัยใช้หนังสือเรื่อง Frog, where are you? ซึ่งเป็นเพียงภาพ (ไม่มีเนื้อเรื่อง) เกมส์การสื่อสารใช้เกมส์ทายปริศนา ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยดูรูปภาพ และให้บรรยายภาพโดยมีคำใบ้ให้ จนกว่าผู้ฟังจะสามารถตอบได้ว่า ที่เธอเล่านั้นคืออะไร

ผู้วิจัยได้โต้แย้งงานวิจัยก่อนหน้าหลายชิ้นด้วยกัน อาทิ ข้อสรุปที่ว่า ผู้เรียนไม่สามารถใช้รูปคำพหูพจน์โดยการเติม –s ได้ ถ้ามีคุณศัพท์บอกจำนวนนำหน้าคำนามนั้น ๆ เช่น three tree, two light แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถเติม –s ในคำนามพหูพจน์ไดหากแต่พบว่าเยิ่นเย้อเกินไป (อาจพบคำนามพหูพจน์บางคำที่ไม่เติม -s)

การเติม –ed ในคำกริยา past tense ผู้เข้าร่วมวิจัยไม่สามารถใช้ได้ถูกต้องเมื่อมีกริยาวิเศษณ์ขยายในประโยคนั้น ๆ

ผู้วิจัยสรุปว่า ความถูกต้องในแต่ละการใช้คำอยู่ในระดับ 50 % แต่ความถูกต้องได้พัฒนาขึ้นตามกระบวนการ PT กล่าวคือ ในระยะเวลา 2 ปีที่ทำการศึกษา ผู้เข้าร่วมพัฒนาความถูกต้องขึ้นได้

ผู้วิจัยได้แนะนำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาที่ใช้ระยะเวลานาน ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน อีกทั้งยังควรพัฒนาชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทางด้านภาษาที่พบว่าในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดศึกษาสำเร็จได้ดีเพียงพอ

แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอาจยังมีช่องโหว่ตรงที่จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย และเกิดข้อสงสัยที่ว่าเหตุใดผู้เข้าร่วมจึงเป็นเพศหญิง ดังนั้นการวิจัยที่ใช้ระยะเวลาการศึกษานานนั้น ถ้าผู้วิจัยได้ออกแบบงานวิจัยแล้ว การแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมตัวแปรต่าง ๆ อาจเป็นไปได้ยาก  

หมายเลขบันทึก: 567251เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท