มนุษย์ที่ข้ามชาติ


       มนุษย์ที่ข้ามชาติหมายถึงบุคคล ที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น [1]

        โลกในปัจจุบันคือยุคสมัยแห่งการเคลื่อนย้ายข้ามชาติขนานใหญ่สถานการณ์นี้ทำให้ประเทศต่างๆแทบทุกแห่งในโลกถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับ คลื่นแห่งการเคลื่อนย้ายของผู้คน โดยประเทศต่างๆมี“ท่าที”หรือนโยบายต่อเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติแตกต่างกัน ถึงแม้จะมีนโยบายต่างๆแต่ก็ยังคงประสบกับปัญหาคนข้ามชาติจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทยที่มีปัญหาค่อนข้างมาก ทั้งปัญหาการละเมิดสิทธิของคนข้ามชาติ ปัญหาบกพร่องของการดำเนินการกับคนข้ามชาติในระบบราชการไทย ส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ

     มนุษย์ที่ข้ามชาติ ในบทบทความนี้จะกล่าวถึงในเรื่องของ "เด็กที่ข้ามชาติ" ซึ่งเด็กข้ามชาติเหล่านี้มีหลากหลายประเภท เพราะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน และเด็กเหล่านี้ก็พบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง

ประเภทของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย

1. เด็กข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นคนข้ามชาติที่หลบหนีเข้ามาในประเทศ อย่างผิดกฎหมาย หรือตัวเด็กเองหลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือถูกลักพาตัวเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย

2. เด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นคนข้ามชาติ ซึ่งเด็กเหล่านี้สมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น โดยอาจเกิดจากความไม่รู้ของพ่อแม่ หรือการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ไม่อาจเข้าถึงสิทธิได้ และถูกถือเป็นเด็กข้ามชาติ

3. เด็กที่ข้ามชาติมาอย่างถูกกฎหมาย

     ซึ่งจากที่กล่าวข้างต้น จะขอกล่าวเกี่ยวกับกรณีของ น้องดนัย ยื่อบ๊อ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายอาบู กับนางหมี่ยื่ม ยื่อบ๊อ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากฝั่งเมียนมาร์ โดยบิดานายอาบูได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 6 ซึ่งเป็นบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง มารดาหมี่ยื่มมีบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 5 และนางหมี่ยื่มได้รับสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ภายหลังน้องดนัยเกิด ทำให้สูติบัตรของน้องดนัยระบุว่าไม่ได้สัญชาติไทย ซึ่งส่งผลให้น้องดนัยเป็นเด็กข้ามชาติ เนื่องจากมิได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ

       กรณีของน้องดนัย จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีเด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นคนข้าม ชาติ ซึ่งน้องดนัยสมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508 [2]

มาตรา ๗ บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม

มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดา ของผู้นั้นเป็น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) [3]

ข้อที่ 7 เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ

      เมื่อพิจารณาแล้ว จึงมีความคิดว่าเด็กชายดนัย ยื่อบ๊อย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยการเกิดโดยผล ของมาตรา๗ (๑) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งบทบัญญัตินี้แสดงถึงข้อกฎหมายที่มีผลในช่วงเวลาที่บุคคลทั้งสองเกิด กล่าวคือ เด็กชายดนัยเกิดใน พ.ศ.๒๕๔๒ โดยข้อกฎหมายดังกล่าวนี้บุคคลที่เกิดจากมารดาสัญชาติไทย ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยผลของบท บัญญัติดังกล่าวและเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เด็กชายดนัยมีมารดาเป็นคนที่ได้รับการรับรองสถานะคนสัญชาติไทย โดยการเกิดในทะเบียนราษฎรไทยแล้วบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการ เกิดดังกล่าว แม้มารดาจะประสบปัญหาความไร้สัญชาติตั้งแต่เกิดจนถึงพ.ศ.๒๕๔๓ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพิสูจน์สัญชาติไทยให้แก่นางหมี่ยึ่มใน พ.ศ.๒๕๔๓โดยสำนักทะเบียนอำเภอฝาง และ นางหมี่ยึ่มก็ได้รับการพัฒนาสิทธิในสถานะคนสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยสำนัก ทะเบียนอำเภอแม่อาย ดังจะเห็นจากการที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียน ราษฎรไทยในสถานะคนสัญชาติไทยโดยการเกิดและได้รับเลขประจำตัวประชาชน๑๓ หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข ๕ อันเป็นชุดเลขประจำตัวประชาชนสำหรับคนสัญชาติไทยที่แจ้งเกิดเกินกำหนด เมื่อเป็นเช่นนี้การที่รัฐปฏิเสธการขึ้นทะเบียน จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง

อ้างอิง

[1] "เด็กข้ามชาติ" มนุษย์ข้ามชาติที่มาจากหลากหลายสาเหตุ

http://www.l3nr.org/posts/535656


<p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 567244เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท