ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

ครอบครัวข้ามชาติหรือครอบครัวระหว่างประเทศ คือ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความเกีายวข้องหรือจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศใดเพียงประเทศเดียวแต่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศอื่นด้วยซึ่งอาจจะมากกว่า2ประเทศก็ได้ กล่าวคือ สมาชิกในครอบครัวมีคนที่เป็นมนุษย์ข้ามชาตินั่นเอง

กรณีตัวอย่างของครอบครัวข้ามชาติ เช่น กรณีของครอบครัวเจดีย์ทอง ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่านายอาทิตย์ไปทำงานที่ไต้หวันและได้พบรักกับนางสาวแพทริเซีย ต่อมานายอาทิตย์เดินทางกลับประเทศไทยเพราะหมดสัญญาจ้าง ส่วนนางสาวแพทริเซียยังคงทำงานที่ไต้หวันต่อไป จนกระทั่งหมดสัญญานางสาวแพทริเซียก็เดินทางกลับประเทศมาเลเซียและระหว่างนั้นได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเยี่ยมนายอาทิตย์ในเวลาต่อมา โดยได้รับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเธอจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกินวันที่ 5 มิถุนายน 2556 นางสาวแพทริเซียอาศัยอยู่ในประเทศไทยจนเลยวันที่ 5 มิถุนายน และได้ไปแสดงตัวต่ออำเภอท่าสองยางว่าเป็นคนไร้สัญชาติเพราะต้องการอาศัยอยู่ในประเทศไทยตลอดไป นางสาวแพทริเซียจึงถือเอกสารสองใบ คือ บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลขประจำตัวประชาชน13หลักซึ่งขึ้นต้นด้วยเลข0 ซึ่งหมายถึงเป็นคนไร้สัญชาติและหนังสือเดินทางที่แสดงว่านางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม บุตรของนางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ทั้งสามคนมีสัญชาติไทย[1]

จากกรณีตัวอย่าง จะเห็นว่าครอบครัวเจดีย์ทองมีจุดเกาะเกี่ยวมากกว่า1ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีสมาชิกคือนางสาวแพทริเซียเป็นมนุษย์ข้ามชาติ ครอบครัวเจดีย์ทองจึงเป็นครอบครัวข้ามชาติ นางสาวแพทริเซียเมื่อเดินทางเข้ามาประเทศไทยจึงต้องขอtourist visaเข้ามา ทำให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ไม่นาน อย่างไรก็ตามนายอาทิตย์มีสัญชาติไทย หากนางสาวแพทริเซียขอspouse visaก็จะสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ต่อไป และจะไม่เกิดความยุ่งยากขึ้น

การที่นางสาวแพทริเซียกลายเป็นคนไร้สัญชาติ ทำให้บุตรทั้งสามแม้จะได้สัญชาติไทย แต่ก็ไม่ได้สัญชาติมาเลเซีย ซึ่งเด็กทั้งสามคนควรจะได้ เพราะการได้สัญชาติมาเลเซีย จะทำให้เด็กทั้งสามคนได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นเพราะการมีสัญชาติมาเลเซีย นอกจากนั้น กรณีที่ในอนาคต ถ้าเด็กทั้งสามคนมีความจำเป็นต้องเดินทางไปอาศัยประเทศมาเลเซีย ถ้าไม่มีสัญชาติมาเลเซียก็จะทำให้ไม่ได้รับสิทธิในฐานะพลเมืองมาเลเซีย ซึ่งจะทำให้เด็กทั้งสามดำรงชีวิตในประเทศมาเลเซียได้อย่างยากลำบาก เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพบางประเภทได้ ไม่สามารถซื้อบ้านและที่ดินได้ เป็นต้น

[1]รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. 2557. กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง : บุตรที่เกิดในไทยจากชายสัญชาติไทยและหญิงมาเลเซียมีสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?. แหล่งที่มา :http://www.gotoknow.org/posts/566775...28 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 566953เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท