มนุษย์ที่ข้ามชาติ


มนุษย์ที่ข้ามชาติ หมายถึง บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา หรือผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น[1]

แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มคนข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายได้เข้ามาประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวโดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย ปัจจุบันกลุ่มคนข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านได้อพยพ และลี้ภัยมาอยู่ในพื้นที่รัฐไทยเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลหลักๆ 2 ประการ คืออพยพลี้ภัยจากการถูกคุกคามและการประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะต้องได้รับการคุ้มครองดูแลจากรัฐบาลไทยด้วยหลักสากลในเรื่องของสิทธิมนุษยชน แม้ว่ากลุ่มคนดังกล่าวจะเข้าถึงสิทธิเหล่านั้นได้ยากก็ตาม[2]

ปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่สามารถพบเห็นได้ชัดเจนคือ แรงงานพม่าที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเข้ามาหางานทำในประเทศไทย และเมื่อถึงฤดูทำนา คนกลุ่มนี้ก็จะกลับประเทศพม่าไป เมื่อสิ้นฤดูทำนาก็จะกลับเข้ามาในประเทศไทยใหม่ เป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไป ปัญหาก็คือ เมื่อแรงงานพม่าเหล่านี้เข้ามา มีกรณีเกิดขึ้นได้ 2 กรณี

กรณีแรกคือกลุ่มที่เข้ามาแบบถูกกฎหมาย กลุ่มนี้จะค่อนข้างมีปัญหาน้อย แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีปัญหาด้านการถูกกำจัดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน เช่น แรงงานพม่าที่เข้ามารับงานทำความสะอาดตามบ้านเรือนต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ออกจากบ้านเรือนที่ตนไปทำงาน เมื่อตำรวจพบเห็นเข้า ก็จะถูกจับกุมตัวไว้ และพาไปที่สน. เพื่อพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งแรงงานพม่าส่วนใหญ่จะไม่พกพาสปอร์ต(passport)ไว้กับตัว คนเหล่านี้จึงถูกจำกัดสิทธิในเสรีภาพในการจะไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆอยู่บ่อยครั้ง

กรณีต่อมาคือกลุ่มคนที่เข้ามาแบบผิดกฎหมาย กลุ่มนี้แม้จะเข้ามาโดยไม่ถูกกฎหมาย แต่วิธีการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือทหารตามแนวเขตชายแดนนั้นกลับไม่ถูกต้อง เช่น แรงงานพม่าที่อพยพมาหางานทำในประเทศไทยแบบผิดกฎหมายนั้น จะแอบมาตามคันรถ เช่นรถขนฟาง หรือรถขนผลไม้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ตำรวจหรือทหารจะใช้เหล็กแหลมแทงเข้าไปตามช่องระหว่างกองฟางหรือผลไม้ เหล็กดังกล่าวก็จะแทงถูกเนื้อตัวของแรงงานพม่าที่อยู่ใต้กองสัมภาระดังกล่าว เป็นการทำร้ายสิทธิในชีวิต ร่างกายอย่างไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่สามารถเลือกวิธีอื่นได้ เช่น การขอรื้อค้นบางส่วนเพื่อตรวจสอบให้ละเอียด ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และหากพบคนเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ดังนั้น รัฐควรจะเคร่งครัดให้มีการตรวจสอบตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด และควรมีการออกกฎ หรือข้อบังคับให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ และเพื่อไม่ให้ขัดกับอนุสัญญาปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีด้วย 

ที่มา :

[1] - เด็กข้ามชาติ ที่มา :http://www.l3nr.org/posts/535656

[2] - แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย ที่มา :http://www.oknation.net/blog/HotTopic/2011/10/17/e...

- การจำแนกประเภทแรงงานข้ามชาติ จากพม่า กัมพูชา และลาว ที่มา :http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/index.php/2012-11-08-03-49-15/vol33-no2/78-popdev-vol33-no1/71-2012-10-25-04-42-30

หมายเลขบันทึก: 566946เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมจริงๆ เยี่ยมจริงๆ เยี่ยมจริงๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท