ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/ผู้หนีภัยความตาย


ผู้ลี้ภัยตาม อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ซึ่งผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต โดยผู้ลี้ภัยนั้น แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ไม่ได้ลงนามรับรองเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ดังนั้นไทยจึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้หนีภัยความตายจากการสู้รบ แม้จะไม่ได้เป็นภาคี แต่ไทยก็ไม่อาจเพิกเฉยต่อบุคคลเหล่านี้ได้ เนื่องจากการคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวคือจะเคารพสิทธิของมนุษย์ขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นมากกว่าการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมของผู้หนีภัยความตาย

จากกรณีศึกษาเหตุการณ์ในประเทศซีเรีย การกระทำของรัฐบาลซีเรียเป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 20 หลักว่า (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ เนื่องจากประชาชนซีเรียไม่พอใจกับการปกครองประเทศของรัฐบาลทหารซึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ อำนาจในการปกครองประเทศอยู่ในมือของตระกูลเดียวเป็นเวลายาวนาน จากรุ่นพ่อสืบต่อถึงรุ่นลูก เมื่อชาวซีเรียมีความคิดที่แตกต่างจากรัฐบาลซึ่งพวกเขาก็มีอิสระในการสมาคมตาม(2) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้ ดังนั้นชาวซีเรียจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการปกครองในรูปแบบนี้ ผ่านการชุมนุมโดยสงบ

ประชาชนในประเทศจึงถูกรัฐบาลซีเรียละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยใช้กำลัง และใช้อาวุธทำร้ายร่างกายประชาชนในประเทศตน ประชนจึงต้องหนีภัยในประเทศเข้าไปในประเทศโดยรอบที่มีชายแดนประเทศติดต่อกัน และประชาชนดังกล่าวจึงถือเป็นผู้ลี้ภัย ตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 

ดังนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายก็ตามต่างก็เป็นมนุษย์มีความเท่าเทียมกันทุกคน จึงควรมีการให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะกับบุคคลที่หลบหนีภัยความตายเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ควรมีการบัญญัติกฎหมายสำหรับผู้หนีภัยความตาย รวมถึงทางแก้ไขปัญหาที่ถาวรสำหรับผู้หนีภัยความตายในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา :

- ผู้ลี้ภัย ที่มา :https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee.

- ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในซีเรีย ที่มา :http://hilight.kapook.com/view/90267

https://www.unhcr.or.th/sites/default/files/Refugee%20Convention%201951%20(Thai).pdf.

หมายเลขบันทึก: 566950เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท