บทความโซเชียลมีเดีย 1


พฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ THE SOCIAL ONLINE NETWORK BEHAVIOR

               เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networks) อาทิ www.Myspace.com หรือ www.facebook.com หรือwww.bebo.com ที่เป็นสุดยอดนิยมของชาวเครือข่ายทั่วโลก สร้างโอกาสทางการตลาดสำหรับสื่อถึงประชากรผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้ล้านล้านผู้ใช้ซึ่งต่างปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแชร์ข้อมูลส่วนตัวและยินดีใช้เครือข่ายสังคม นอกเหนือจากนี้นักการตลาดเล็งเห็นลักษณะเด่นของสังคมเครือข่ายในการสร้างตราผลิตภัณฑ์ในหมู่เหล่าสังคมออนไลน์ (46% 2008) หลักการใหญ่ๆ ที่องค์กรอธุรกิจต่างสำรวจความเป็นไปได้ในการใช้ช่องทางการสื่อสารกับสังคมออนไลน์

           พฤติกรรมการ “แห่” “Like” เป็นช่องทางสื่อสารสำคัญที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน รวมถึงการแสดงพลังความคิดเห็นดังนั้นการแสดงความเห็น การอ่านความเห็นการไลค์ (Like) (แห่ตามกัน) การชมรูปของเพื่อนย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่พึงจะได้รับจากสปอนเซอร์ค่าโฆษณา วันนี้ผู้บริโภคทั่วโลกสนใจเฟซบุ๊กเพราะมีเกมส์สนุกให้ติดตามต่อเนื่องดังนั้น เฟซบุ๊ก สื่อสารกับเพื่อนที่สื่อสารด้วยความถี่ของการสร้างสายสัมพันธ์ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ย่อมส่งผลถึงพฤติกรรมแห่ตามกัน เลียนแบบไม่ว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องคุณภาพสินค้าประเด็นทางสังคมการเมือง แต่การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กนั้น มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับทุนทางสังคมและมีความสัมพันธ์ในทางลบกับความรู้สึกโดดเดี่ยว

          การบริโภคอินเตอร์เน็ตประมาณ 21% (1,407,724,920 ล้านคน) ขณะที่ประชากรทั่วโลก (6,676,120,228 ล้านคน) ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว อเมริกาตอนเหนือ ออสเตรเลีย (57.0%) และยุโรป (47.7%) สิ่งที่เกิดการแห่ตามกันเช่นนี้เพราะนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านจินตนาการและความเร็วมีอิทธิพลต่อการใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากหลักพื้นฐานการสื่อสารทั้งด้านสื่อกลางและตลาดกลางจากช่องทางการสื่อสารแบบดั้งเดิมสู่การสร้างสรรค์ตลาด เสมือนจริงซึ่งผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอลและสามารถส่งมอบผ่านช่องทางพื้นฐานข้อมูลซึ่งทำให้องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคต่างยอมรับแนวความคิดใหม่นี้ (โลกใหม่แห่งการโต้ตอบ) เพื่อประโยชน์ของแต่ละฝ่ายนั่นเองตลาดใหม่ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสจะประหยัดเวลาและเงินตราโดยการสื่อสาร ค้นหาข้อมูลหรือซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านออนไลน์ ผู้ใช้ถึงผู้ใช้ และผู้ใช้ถึงข้อมูลด้วยรูปแบบสไตล์การสื่อสาร สถานะสังคม ควบคุมการติดต่อและเนื้อหา ซึ่งทั้งปวงได้มีการพัฒนาสู่เครือข่ายสังคมเว็ปต์ 2.0 แล้ว (ลักษณะเกี่ยวกับการร่วมมือและความผูกพันการเปิดเผยตนเอง การสนทนา ชุมชนออนไลน์ และการเชื่อมโยง) ลักษณะเช่นนี้และพฤติกรรมผู้ใช้แตกต่างจากอดีตตรงที่ว่าการเข้าถึงกลุ่มได้ทั่วโลกผู้ใช้สามารถใช้ระบบได้ในราคาที่ประหยัดหรือไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้จ่ายแชร์ข้อมูลส่วนตัว และเกิดการโต้ตอบได้ฉับพลัน

          นักการตลาดตรวจสอบพฤติกรรมผู้บริโภคทุกวันนี้จากไลฟ์สไตล์และบุคลิกภาพส่วนบุคคล ศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้จากการรวมตัวแปรมูลค่า สร้างสรรค์มูลค่า และส่งมอบมูลค่าที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค แนวคิดเหล่านี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนปริญญาเอกนิพนธ์ สาขาการตลาด ของเภสัชกรหญิงวัชราภรณ์ ตั้งประดิษฐ์ ณ มหาวิทยาลัยสยาม... ไม่ช้าก็เร็ว Web 3.0 กำลังวิ่งฉิวเพื่อผู้บริโภคทั่วโลก


ผู้แต่ง : ปริญ ลักษิตามาศ

ที่มา : http://docs.com/U7S8

สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2557 15:42 น

หมายเลขบันทึก: 566868เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2014 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท