การกู้เงินจำนวน 2 ล้าน ล้าน : กรณีรถไฟความเร็วสูง ตอนที่ 5


3. ความเป็นไปได้ในเรื่องรถไฟความเร็วสูง

     เพื่อเป็นการทบทวน ขอเสนอเรื่องที่กล่าวมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง 

จากภาพ Infographic สามารถอธิบายได้ ดังนี้

     1. งบประมาณ 83.3 % เป็นการขนส่งทางราง เช่น รถไฟทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟที่ใช้ขนส่งระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดใกล้เคียง

     2. งบประมาณ 73.4 % จาก 2 ล้าน ล้าน เป็นงบประมาณที่ยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ และขาดการศึกษาในเรื่องสภาวะแวดล้อม ซึ่งอาจทำให้ไม่คุ้มค่าในการลงทุน

     3. มีเพียง 26.6 % เท่านั้น ที่พร้อมดำเนินการ

     4. จากงบประมาณ 73.4 % มีรถไฟความเร็วสูงรวมอยู่ในนั้นด้วย รถไฟความเร็วสูงมีค่าใช้จ่ายประมาณ 7 แสน 5 หมื่นล้านบาท สายที่ลงทุนเยอะที่สุดก็คือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้งบทั้งสิ้นประมาณ 3 แสน 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้เลย

     5. การจัดแบ่งกลุ่มโครงการตามลักษณะการเป็นบริการสาธารณะและกิจการเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดคำจำกัดความของบริการสาธารณะอย่างชัดเจน เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อย ไม่ควรถือเป็นบริการสาธารณะที่ยอมปล่อยให้ขาดทุนในระยะยาวจนไปเบียดบังรายจ่ายภาครัฐในเรื่องสำคัญอื่นๆ และควรแยกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุดหนุนบริการสำหรับผู้มีรายได้น้อยออกจากกันอย่างชัดเจน

     โดยสรุปรถไฟความเร็วสูง ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้น้อย จึงไม่ใช่บริการทางสังคม เหมือนนั่งรถไฟชั้น 3 โดยทั่วไป ดังนั้นรถไฟความเร็วสูงนั้น ควรจะต้องคุ้มค่าและเลี้ยงตนเองได้

หมายเลขบันทึก: 566704เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท