การฟันธงเนื้อพระแท้ "ในความเก่าต้องมีความใหม่ ในความใหม่ต้องมีความเก่า"


มีหลายคนสงสัยว่าการแยกแยะ ความแห้ง/ความฉ่ำ นั้นแยกยังไง

และสงสัยว่าจะเป็นระดับของ "ประสบการณ์" หรือเปล่า

ผมจึงขออธิบายง่ายๆด้วยภาพนี้

ว่า........

จุดที่ว่าฉ่ำ ชัดๆ คือ ที่สูง (บนพระพักตร์) จะเห็นจุดแห้งๆ ปะปนอยู่เล็กน้อย
และจุดที่ว่าแห้ง คือ ที่ต่ำ (ขาวๆ บริเวณเหนือไหล่ทั้งสองข้าง) จะเห็นจุดมันเล็กๆแทรกอยูประปราย

ที่ถือตามหลักว่า ในความเก่า ต้องมีความใหม่ และในความใหม่ ต้องมีความเก่า

เท่านี้เอง

และ ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์มากนักหรอกครับ

แต่.......น่าจะ เกี่ยวกับ "สายตา" และ "สมอง" ที่สามารถมองเห็น แยกแยะ ระหว่าง

1. ความแห้ง (ชื้นฉ่ำน้อย) และ
2. ความ ฉ่ำ (ดูเปียกๆชื้นๆ)

เช่นเดียวกับแยกผ้าแห้ง กับผ้าเปียก (หรือมองคนหน้าแห้งผิวแตก ออกจากคนหน้ามัน)

ที่ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ใดๆ

แต่ถ้ามองแล้ว.....ยังแยกไม่ออกว่าผ้าแห้ง (คนผิวแห้งแตก) กับผ้าเปียก (หรือคนหน้ามันเยิ้ม) ว่าต่างกันอย่างไร

ผมคิดว่า ผมยังไม่มีเรื่องจะคุยกับท่านครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 566008เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2014 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2014 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากไปหาก็กลัวโดนด่าว่าจำหน้าแม่ตัวเองไม่ได้รึไง เอาไว้มีวิทยายุทธิ์มากว่านี้สักหน่อยจะไปกราบอาจารย์ครับ

สวัสดีปีใหม่ทุกท่าน ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจที่มาในประโยคคำพูด"ในความใหม่มีความเก่า"ก่อน ตอนที่ผมเรียนกับอาจารย์คนแรก ท่านก็กรุณาขายพระให้ผมองค์หนึ่ง สำหรับผมตอนนั้นมีความรู้สึกว่าพระองค์นี้น่าจะเก๊ครับ เพราะใหม่เหลือเกิน เพียงแต่ว่าผมเป็นคนเก็บอาการไม่แสดงออกว่าไม่ค่อยพอใจในพระองค์นั้น จนวันหนึ่งอาจารย์คนแรกให้ผมไปหาอาจารย์คนที่ 2 ผมจึงนำพระองค์นั้นให้ท่านอาจารย์คนที่ 2 ดู แล้วถามว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่ คำตอบก็คือพระแท้ ตอนนั้นผมแย้งว่าทำไมดูใหม่มากเลยไม่สมกับอายุการสร้าง นี่เองเป็นต้นกำเนิดวาทะว่า"ในความใหม่มีความเก่า ถ้าดูไม่ออกก็เลิกเล่นไปได้เลย" สิ่งที่ท่านอาจารย์สอนผมคือคำว่าสภาพของพระ ซึ่งเป็นการพัฒนาการทางด้านกระบวนการเรียนรู้อีกขั้นหนึ่ง เพราะฉนั้นนักเรียนทุกท่านก็ควรหาโอกาสดูพระที่อยู่ในหลายๆสภาพครับ เช่น พระเก็บรักษาดี สภาพใช้ สภาพที่ผ่านการล้าง พระเสียสภาพ เมื่อหลายเดือนก่อนตอนผมเข้ามาให้ความเห็นเรื่องฉ่ำนวลในเนื้อพระ ผมเคยให้ความเห็นว่าส่องดูต้องแห้ง ดูตาเปล่าต้องฉ่ำ ซึ่งท่านอาจารย์แสวงก็แก้ไขว่าที่ถูกคือส่องไปต้องฉ่ำดูตาเปล่าต้องแห้ง ตอนนั้นผมเห็นแย้งนะครับเพราะท่านอาจารย์ทั้งสองที่สอนมาก็ตรงข้ามกับท่านอาจารย์แสวง เพียงแต่ว่าผมถอดและถอยออกมาดูว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เมื่อสังเคราะห์ความรู้นั้นก็เห็นว่านักนิยมพระส่วนใหญ่ใช้กล้องขนาด 10 x เป็นหลัก เมื่อส่องใกล้กับองค์พระสภาพแสงก็จะลดลง ทำให้เห็นว่าเนื้อพระนั้นแห้ง แต่ถ้าใช้กล้องกำลังขยายที่สูงขึ้นและเพิ่มแสงให้ตกกระทบกับวัตถุมากขึ้นก็จะเห็นแบบเดียวกับของอาจารย์แสวงครับ ตอนแรกก็จะแย้ง แต่เห็นว่าแนวทางการเรียนของอาจารย์แสวงง่ายกว่าเยอะเลย ก็เลยไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติมในส่วนนี้ การเรียนแบบเซียนพระนั้นต้องใช้ประสบการณ์ลงสนามบ่อยๆ ดูพระเป็นหมื่นๆองค์และมีคนคอยชี้ให้ดูตลอดจนวิจารณ์ในองค์พระนั้นๆ ทำให้ยากในการเรียนรู้ครับ แต่หากใช้แนวทางของท่านอาจารย์แสวง ก็น่าจะใช้เวลาที่สั้นกว่ากันมากเลย เมื่อ 2-3 ปีก่อนมีพระของเพื่อนเป็นพระเนื้อโลหะที่ผ่านการล้างมาจนเข้าขั้นเสียสภาพ ผมเป็นคนเดียวที่รับรองว่าแท้ เซียนหลายๆท่านตีเก๊กันถ้วนหน้า ตอนนั้นผมเองก็สูญเสียความนับถือจากเพื่อนว่าน่าจะมีอาการตากลับแล้ว ผมเองต้องอดทนรอจนเวลาผ่านไป 7-8 เดือน เพื่อนเจ้าของพระก็โทรมานำพระองค์ดังกล่าวไปเลี่ยมทอง ผมก็ว่าพระเก๊จะเลี่ยมทำไม เพื่อนตอบว่าแท้ครับ อ้าวใครตีแท้อีกเล่า ก็เซียนที่เคยนำไปให้ดู เพราะเนื้อพระกลับเร็วมาก พระเก่าต่อให้ล้างและขัดมาขนาดไหน ก็จะเนื้อกลับเร็วกว่าพระใหม่ครับ ผมเลยพูดกับเพื่อนคนนี้ว่า ความรู้เรื่องการดูพระอาจเรียนทันกันได้ง่ายๆ แต่การที่จะเก่งกว่ากันหรือไม่ให้ดูจากการสามารถในการแยกสภาพพระที่เห็นครับ(เป็นความรู้แบบเซียนพระ) อาจารย์ที่พร่ำสอนผม สอนทุกอย่างแม้กระทั่งวิธีล้างพระที่ถูกต้องตามหลักการ แล้วบอกให้ผมลงมือทำเองทุกขั้นตอน พระแท้ต่อให้ล้างจนเสียสภาพ ผิวก็จะกลับนะครับ เพียงแต่ใช้เวลามากขึ้นเท่านั้น ก็ขอให้นักเรียนทุกท่านเรียนตามหลักสูตรของท่านอาจารย์แสวงให้จบเสียก่อน แล้วค่อยลงสนามไปหาประสบการณ์ ซึ่งโอกาสที่จะได้พระแท้ย่อมสูงมาก ดีกว่าสะเปะสะปะปล่อยไปตามยถากกรมครับ .....โชคดีมีอาจารย์สอนฟรีดีกว่าเสียเวลาเรียนรู้เอง....สวัสดี

ขอเรียนเก็บความรู้อย่างเดียวครับ ถ้าวิทยายุทธกล้าแข็งจะออกท่องยุทธจักร ขอบคุณครับ

เห็นนิดเดียวยังสวยซึ้ง ถ้าได้เห็นเต็มองค์คงเป็นบุญตาคีับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท