สถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัย ในศตวรรษที่ ๒๑


 

          ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๗    มีการนำเสนอความคืบหน้าของสถาบันวิจัยใหม่ที่เพิ่งตั้งมาได้ ๒ ปี    แล้วผมให้ความเห็นว่า สถาบันนี้ชื่อสถาบันระบบ X     แต่ผลงานที่นำเสนอเป็นการวิจัยเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้าน X      ไม่ใช่งานวิจัยระบบ X    กรรมการอีกท่านหนึ่งบอกว่า ระบบ X ประกอบด้วย ๒ ส่วน    คือส่วนที่เป็นระบบ เชิงกายภาพ (physical) ของ X    กับส่วนที่เป็นระบบเชิงนโยบายและการจัดการ    แต่เนื่องจากหัวหน้าทีม และทีมงานส่วนใหญ่มาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์    จึงทำงานวิจัยเชิงระบบด้านกายภาพเท่านั้น

          กรรมการท่านนี้ชี้ให้เห็นว่า นักวิจัยตกเป็นเหยื่อของการคอรัปชั่นเชิงนโยบายโดยไม่รู้ตัว     ไปทำวิจัยในหัวข้อ ที่ดูเผินๆ ดีมาก    แต่จริงๆ แล้วเป็นหลุมพรางของคอรัปชั่นเชิงนโยบาย

          กรรมการอีกท่านหนึ่งชี้ว่า    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ควรมีโครงสร้างระดับเหนือคณะ    สำหรับ พัฒนาสถาบันวิจัยที่ต้องมีการบูรณาการต่างศาสตร์ ข้ามคณะ    ให้ก้าวข้ามข้อจำกัดของการที่ในเวลานี้ สถาบันวิจัยงอกมาจากคณะ ทำให้มีแนวโน้มยึดติดอยู่ที่ศาสตร์เดียวเป็นหลัก    ไม่สามารถทำงานวิจัย ในลักษณะพหุสาขาได้อย่างแท้จริง

          ผมกลับมาคิดที่บ้านว่า ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย ต้องมีประสบการณ์ และความคิดในด้านการ packaging ศาสตร์    ในรูปแบบใหม่ๆ    เพื่อเปิดช่องในการผสมพันธุ์ระหว่างศาสตร์    เกิดผลงานใหม่ๆ และเกิดศาสตร์ใหม่ๆ ที่เป็นศาสตร์ลูกผสม    เราเห็นสภาพนี้มากในต่างประเทศ    แต่ไม่ค่อยเห็นในประเทศไทย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ มี.ค. ๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 565632เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท