ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


             

           ผู้ลี้ภัย หมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย  [1]

            แต่ประเทศไทยไม่ได้ลงนามรับรองเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ดังนั้นไทยจึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้หนีภัยความตายจากการสู้รบ แม้ไม่ได้เป็นภาคีแต่ไทยก็ไม่อาจเพิกเฉยต่อบุคคลเหล่านี้ได้ เนื่องจากการคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวคือจะเคารพสิทธิของมนุษย์ขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นมากกว่าการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมของผู้หนีภัยความตายนี้   จึงขออทิบายควาหมายของผู้หนีความตายดังต่อไปนี้

             ผู้หนีภัยความตาย” คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบส่วนภัยความตาย โดยอ้อม โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท  คือ [2]
                1. ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้  จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด 
                2. ภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

            เช่นนี้เมื่อเราพิจารณาถึงต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยหรือหนีคามตายนั้น ส่วนมากเกิดจากปัญหาความขัดแย้งและสงคราม  และบ่อยครั้งที่ต้องคนจำพวกเช่นว่านี้ต้องทนทุกข์เพราะได้รับความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิด  ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ  เช่น   เหตุการณ์ในประเทศซีเรียเกิดการจลาจลขึ้นในเมืองดาราทางตอนใต้ของประเทศ หลังมีกลุ่มเด็กและวัยรุ่นถูกจับเพราะวาดภาพล้อเลียนการเมือง มีประชาชนเสียชีวิตหลายสิบรายหลังจับกลุ่มประท้วงและเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารประเทศภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างยาวนานของตระกูลอัล-อัสซาด ฝ่ายรัฐบาลจึงตอบโต้ประชาชนที่ลุกฮือด้วยวิธีรุนแรงต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ การยิงระเบิดก๊าซพิษซารินในเดือนสิงหาคม 2013 เพื่อจัดการกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลในเมืองกัวตาห์ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 ราย ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนชรา แม้กระทั่งเด็ก [3]

                        โดยสรุปปัญหาที่เห็นได้ชัดของผู้ลี้ภัยนั้นมี  2  ประการ  คือ สิทธิในการได้รับการศึกษา และสิทธิในการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 

                ประการแรก   คือ   สิทธิในการที่จะได้รับการศึกษา เด็กที่อยู่ในค่ายลี้ภัยส่วนใหญ่นั้นไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโรงเรียนที่มารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนที่ดีเช่นเด็กคนอื่นที่มิได้อยู่ในค่ายลี้ภัย ซึ่งขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 26(1) ที่มีหลักอยู่ว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม ทำให้เด็กเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้พัฒนาตนเองและโตขึ้นอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเด็กคนอื่นได้ซึ่งเมื่อพิจารณาหากผู้ที่ลี้ภัยจากประเทศซีเรียนั้นเป็นเด็กย่อมต้องต้องได้รับผลกระทบดังที่กล่าวมาแน่นอน

                   ประการที่สอง   คือ   สิทธิในการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอยู่การเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายนั้น ไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เพราะต้องอาศัยอยู่ในค่ายหรือที่พักพิงที่ทำขึ้นชั่วคราว รอผู้คนบริจาคปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต จากสงครามกลางเมืองของซีเรีย ผู้อพยพชาวซีเรียนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก ซึ่งขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25(1) คือ ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น

                   และเนื่องจากรัฐบาลไทยไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัยพ.ศ. 2494 และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย หรือกระบวนการที่ใช้งานได้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ขอลี้ภัยประเทศไทยถือว่า ผู้ลี้ภัยทุกสัญชาติที่อาศัยอยู่ของค่ายผู้ลี้ภัยที่กำหนดไว้นั้นเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศโดยผิดกฏหมาย    จึงทำให้เกิดปัญหามากมายและส่งผลเสียต่อผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเป็นอย่างมาก  เพราะยังไม่มีนโยบายรองรับผู้ลี้ภัยแต่อย่างใด        ประเทศไทยจึงควรสัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัย2494 หรือพิธีสารเกี่ยวกับสถานะภาพผู้ลี้ภัย2510และออกกฏหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเพื่อปฏิบัติตามพันธะภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว รวมทั้งจัดตั้งระบบการพิจารณารับลี้ภัยอย่างเป็นธรรม ประเทศไทยควรเกณฑ์การพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยที่เหมือนกันแก่คนทุกสัญชาติ และมีความสอดคล้องกันกับคำนิยามระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ซึ่งรวมถึงผู้ที่รบหนีภัยจากการสู้รบ ประเทศไทยควรปล่อยตัวผู้ลี้ภัยที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติรับรองออกจากที่คุมขังโดยทันที และยุติวิธีการการควบคุมตัวอย่างไม่มีการกำหนดเพื่อจะกดดันให้ครอบครัวของผู้ต้องขังชำระค่าใช้จ่ายในการเนรเทศ เพื่อรองรับและขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ลี้ภัยในปัจจุบันให้หมดสิ้นไป [3]

แหล่งที่มาของข้อมูล                 

[1]ความหมายของผู้ลี้ภัย(ออนไลน์)

  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2

[2]ความหมายของผู้หนีความตาย(ออนไลน์) http://salweennews.org/home/?p=986  

 [3] เหตุการณ์จราจลในประเทศซีเรีย(ออนไลน์)  http://www.hrw.org/node/110102

หมายเลขบันทึก: 565525เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2014 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท