ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


     ปัจจุบันหนึ่งในปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญก็คือ ปัญหาของผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยส่วนมากมักถูกล่วงละเมิดและไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จำเป็นที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 

     การพูดถึงผู้ลี้ภัยทั้งในฐานะเพื่อนมนุษย์และในฐานะเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์นั้น บางทีก็มองกันตามกระแสบ้าง บางทีก็มองอย่างเข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันบ้าง ทั้งที่ชีวิตคนทุกคนมีรัก มีฝัน มีผูกพันแผ่นดินไม่ผิดแผกแตกต่างกัน

   เมื่อกล่างถึงผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัย [1] หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดย สมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

      ผู้หนีภัยความตายคือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบส่วนภัยความตาย โดยอ้อม โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท  คือ
                1. ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้  จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด 
                2. ภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

      ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัย [2] ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็ คือสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศซีเรีย (Syria)  ซึ่งสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ในซีเรียเพราะเป็นการทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกายมนุษย์ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมาย อีกทั้งเป็นสาเหตุให้คนซีเรียต้องอพยพออกนอกประเทศเนื่องจากเกิดความหวาดกลัวการถูกฆ่าและได้รับการคุกคามต่อชีวิต ทำให้มีคนซีเรียจำนวนหนึ่งอพยพเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็น อิรัก เลบานอน จอร์แดน หรือตุรกี และมีสถานะ “ผู้ลี้ภัย” เมื่อเข้าไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศเพื่อนบ้านไม่อาจปฎิเสธความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยในซีเรียได้เลย เนื่องจากมีกฎหมายระหว่างประเทศ ที่“ห้ามมิให้ชาติใดๆ ก็ตามส่งกลับ หรือปิดกั้นผู้ที่พยายามหนีออกจากประเทศ ซึ่งมีภัยคุกคามต่อชีวิตและเสรีภาพของบุคคลผู้นั้น”

     ส่วนสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบตลอดแนวชายแดนและเป็นจุดหมายของการโยกย้ายถิ่นฐานหลายรูปแบบ  การย้ายถิ่นข้ามชาติรูปแบบหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาโดยตลอด คือ การย้ายถิ่นแบบถูกบังคับ (non-refoulement ) ซึ่งการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย ต้องมีการประกาศให้ทราบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตาม บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้ลี้ภัยได้ไม่ใช่เพราะการรับรอง แต่บุคคลนั้นได้รับการรับรอง เนื่องจากเขา/เธอเป็นผู้ลี้ภัย

สาเหตุการอพยพ

กรณีผู้ลี้ภัยจากคองโก

สงครามและความรุนแรงอย่างต่อเนื่องที่ กระทำโดยกลุ่มกองกำลังติดอาวุธกว่าสองทศวรรษทำให้มีผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคน อพยพจากประเทศคองโก จำนวนหนึ่งลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย

กรณีผู้ลี้ภัยจากเกาหลีเหนือ

ผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือหนีออกนอกประเทศ ของตนเนื่องจากความหิวโหย และการปกครองที่กดขี่ของรัฐบาลสังคมนิยมเข้ามาประเทศไทยโดยใช้เส้นทางบกผ่าน จีนและลาว

กรณีผู้ลี้ภัยจากพม่า 

การสู้รบระหว่างทั้งสองฝ่ายทำให้ชนเผ่า ต่างๆ กะเหรี่ยง กะเรนนี ไทใหญ่หรือฉาน และอื่นๆต้องหลบหนีสงครามจากการประหัตประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันโหด ร้ายทารุณในชนเผ่าของประเทศพม่ามายังประเทศไทยเพื่อหนีตายและรักษาชีวิตของ ตนเอง

 โดยสรุปแล้วปัญหาผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายที่พบมีดังต่อไปนี้

     ปัญหาในด้านความเป็นอยู่ เนื่องจากนผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายนั้น ไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ ในประเทศของตนเอง โดยจะต้องอาศัยอยู่ในค่ายหรือที่พักพิงที่ทำขึ้นชั่วคราว เห็นได้จากประเทศไทย ที่ผู้ลี้ภัยชาวพม่ากว่าแสนคนในประเทศไทยซึ่งรัฐบาลไทยได้บริหารจัดการ พื้นที่พักพิงชั่วคราว โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่พักพิง เนื่องจากรัฐบาลไม่อนุญาตให้ออกรอกศูนย์พักพิง ชั่วคราว เป็นต้น ก็จะเห็นได้ว่าผู้ลี้ภัย ไม่สามารถมีอิสระได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดความอึดอัด และยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่นปัญหาสิ่งแวดล้อม

    ปัญหาด้านความรุนแรง จากที่กล่าวมาข้างต้น การที่ผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายต้องอยู่ในที่พักชั่วคราวนั้น โดยจะต้องกระทำภายในกรอบที่รัฐบาลประเทศนั้นๆ ได้กำหนด อาจสร้างความอึดอัด ทำให้เกิดความตึงเครียด ผู้ลี้ภัยไม่มีอิสระเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงได้ เช่น ปัญหาการข่มขื่น ปัญหายาเสพติด

         จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตาย ก็เป็นมนุษย์ซึ่งมีสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันกับบุคคลคนอื่นๆซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยรัฐในฐานะที่เป็นพลเมือง  ดังนั้นผู้ลี้ภัยก็ควรได้รับปฏิบัติอย่างพลเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดมนุษย์ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปจากมนุษย์ได้

 

 

 

อ้างอิง

[1] ผู้ลี้ภัย

http://www.l3nr.org/posts/466962

[2] ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยจากพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทย

http://policyandethics.com/blog/?p=38

[3] ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยจากพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทย

http://www.l3nr.org/posts/367715

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 565524เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2014 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท