ข้อคิดที่ได้จากภาพยนต์ Amazing Grace


ภาพยนตร์เรื่อง Amazing grace  เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึง ขุนนางหนุ่ม วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ ที่ต่อสู้กับแนวคิดในการค้าทาสซึ่งปรากฏขึ้นในอังกฤษสมัยนั้น เพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของมนุษย์

     ข้อคิดจากภาพยนตร์ที่ปรากฏในเรื่องนี้

      ข้อคิดประการแรก ความเท่าเทียมกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองความคิดของคนผิวขาวในยุคล่าอาณานิคมที่มีต่อคนผิวดำว่าเป็น สิ่งที่ต่ำต้อยกว่าตนไม่ต่างไปจากสัตว์ ซึ่งตัวเอกของเรื่องก็เริ่มเปิดรับพระเจ้า ศึกษาคริสต์ศาสนา อย่างลึกซึ้งอันเป็นจุดหันเหให้เขาเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติที่มีต่อทาสว่าแท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติใด สีผิวใด ก็ล้วนเป็นคนเหมือนกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ดังที่ ขุนนางคนหนึ่งได้กล่าวตอนท้ายเรื่องว่า “ ผู้ดีตีนแดง ทำให้เขาคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น “
     ข้อคิดประการที่สอง คือหลักความเป็นประชาธิปไตย ในเรื่องสภาสูงยึดแนวความคิดของตนเองเป็นหลักว่าเป็นสิ่งถูกต้อง ท้ายที่สุดตัวเองของเรื่องได้นำรายชื่อประชาชนผู้ลงนามให้มีการเลิกทาส จนท้ายที่สุดสภาก็ต้องยอมทำตามเสียงของประชาชนอันเป็นหลักประชาธิปไตย
     ข้อคิดประการที่สาม คือการที่ต้องพิจาณาถึงผลอย่างรอบด้าน แม้ว่าวิลเลียมจะมีแนวคิดที่ดีว่าการค้าทาสขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันของมนุษย์ แต่ขุนนางคนหนึ่งก็ได้พูดเตือนสติอย่างมีนัยยะว่า “เรือที่ได้ชื่อว่าประเทศ ต้องไม่ล่มจมไปเพราะคลื่นแห่งความปรารถนาดี” กล่าวคือ ทั้งสภาต่างก็รู้ดีว่าการเลิกทาสนั้นย่อมส่งผลกระสบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะทาสเป็นสิ่งสำคัญในเกษตรกรรมของอังกฤษในยุคนั้นหากทำไปทันทีโดยไม่มองถึงผลกระทบอังกฤษอาจจะล้มก็เป็นได้
      ข้อคิดอีกประการที่สี่ คือ ความพยายามไม่ย่อท้อแม้ว่าวิลเลียมได้เสนอแนวคิด ของความเท่าเทียมกันต่อสภาสูงอังกฤษไป แต่ก็ไม่อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ในทันที วิลเลียมต้องใช้เวลาทั้งชีวิตในการพยายามยื่นเรื่องต่อสภา   กินเวลาทั้งชีวิตของวิลเลียม กว่าที่ความตั้งใจของเขาจะบรรลุผล  

      ข้อคิดประการสุดท้าย การพบกันระหว่างวิลเลียม และจอห์น นิวตัน ผู้แต่งบทเพลง Amazing grace เพื่อขอบคุณพระเจ้า ซึ่งในอดีตเขาเคยทำธุรกิจค้าทาส ได้เปิดเผยความผิดในความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชน นิวตันจึงเป็นบุคคลหนึ่งที่ร่วมใจกับวิลเลียมในการต่อสู้กับระบบค้าทาส จนถึงวาระสุดท้ายในการยื่นถวายฎีกา จนประสบความสำเร็จในอีกหลายปีต่อมากล่าวโดยสรุปได้ว่า แนวคิดที่มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ก็เริ่มมาจากการเข้าใจในศาสนา

    แม้ว่าท้ายที่สุดอังกฤษจะเลิกระบบค้าทาสไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ยังคงหลงเหลือความไม่เท่าเทียมอยู่อีกมาก ทั้งการใช้แรงงานเด็ก การค้าประเวณี หรือแม้กระทั่งการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างอยู่เหมือนเดิม

หมายเลขบันทึก: 565183เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2014 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท