Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

ศูนย์ช่วยเหลือ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม


จุดเริ่มต้น ... ส่วนส่งเสริมได้รับมอบหมายรับผิดชอบศูนย์ช่วยเหลือให้ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม

 

การดำเนินงาน........จัดทำแผนปฏิบัติงาน  กำหนดกรอบ การดำเนินงาน และกลุ่มเป้าหมาย

การดำเนินงานในเบื้องต้น  ปี 2557 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นพื้นที่     เป้าหมายโครงการเมืองสวยใส ไร้มลพิษ  จำนวน 53 แห่ง  และสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว

 

สำหรับประเภทสถานประกอบการในเบื้องต้น กรมควบคุมมลพิษได้พิจารณากำหนดแหล่งกำเนิดที่ให้บริการ จำนวน 2 ประเภท ได้แก่ ฟาร์มสุกร  และอาคารประเภท ก และ ข  รายละเอียดแต่ละประเภทมีดังนี้

 

                  ฟาร์มสุกร

1. การเลี้ยงสุกร แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.1 การเลี้ยงสุกรประเภท ก คือ การเลี้ยงสุกรที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ เกินกว่า 600 หน่วย

1.2 การเลี้ยงสุกรประเภท ข คือ การเลี้ยงสุกรที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 60 หน่วย แต่ไม่เกิน 600 หน่วย

1.3 การเลี้ยงสุกรประเภท ค คือ การเลี้ยงสุกรที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 6 หน่วย แต่ไม่ถึง 60 หน่วย (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป)

 

การคิดคำนวณ หน่วยปศุสัตว์

หน่วยปศุสัตว์ = (จำนวนสุกรพันธ์หรือแม่พันธ์....ตัว x 170 กิโลกรัม ÷ 500 ) +

                        (จำนวนสุกรขุน...ตัว x 60 กิโลกรัม÷ 500) (จำนวนสุกรอนุบาล.....ตัว x 12 กิโลกรัม÷ 500)    

 

ตัวอย่าง

ฟาร์มสุกรแห่งหนึ่งมีสุกรพันธ์ จำนวน 70 ตัว สุกรขุน จำนวน 20 ตัว และสุกรอนุบาล จำนวน 10 ตัว ฟาร์มสุกรแห่งนี้จะจัดเป็นประเภทใด

คิดเป็นหน่วยปศุสัตว์       = (70x170 ÷ 500)+(20x60÷ 500)+(10x12÷ 500)

                                = 23.8+2.4+0.24 

                               = 26.44  หน่วยปศุสัตว์

คำตอบ   ฟาร์มสุกรแห่งนี้จัดอยู่ในประเภท ค คือมีการเลี้ยงสุกรที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 6 หน่วย แต่ไม่ถึง 60 หน่วย

 

2. อาคารบางประเภทและบางขนาด ได้แก่

2.1 อาคารประเภท ก ได้แก่

(1) อาคารชุดที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 500 ห้องขึ้นไป

(2) โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 200 ห้องขึ้นไป

(3) โรงพยาบาลของทางราชการ รัฐวิสาหกิจหรือสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป

(4) อาคารโรงเรียนเอกชน โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป

(5) อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือของเอกชนที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 55,000 ตารางเมตรขึ้นไป

(6) อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป

(7) ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป

(8) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ใช้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป

 

                     

 

2.2 อาคารประเภท ข ได้แก่

(1) อาคารชุดที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 100 ห้อง แต่ไม่ถึง 500 ห้อง

(2) โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักอาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 60 ห้อง แต่ไม่ถึง 200 ห้อง

(3) หอพักที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 250 ห้องขึ้นไป

(4) สถานบริการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

(5) โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 10 เตียง แต่ไม่ถึง 30 เตียง

(6) อาคารโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร

(7) อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือของเอกชนที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 55,000 ตารา

เมตร

(8) อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร

(8) อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร

(9) ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 1,500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร

(10) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร

                       

 

     จากการพูดคุยแลกเปลี่ยน พบว่าความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และความรู้ในเชิงวิชาการที่จะช่วยให้การดำเนินงานควบคุมมลพิษ เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งจำเป็น   ทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ คือการสื่อสารให้ข้อมูลและ และสร้างช่องทางต่างๆ  ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้น 

จึงมีข้อสรุป การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารประชาสัมพันธ์  ผ่านเวปไซต์สำนักงาน ดังนี้  

 

  1. สร้างบล็อก ศูนย์ช่วยเหลือให้ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  2. เพิ่มเติมข้อมูลรายละเอียดหน่วยปศุสัตว์
  3. ข้อมูลทางเลือกรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับฟาร์มสุกร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 564844เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2014 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2014 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

..อยากทราบว่า..ศูนย์..ช่วยเหลือ..นี้..เป็นองค์กร..อิสระ..(หรือไร)..การช่วยเหลือ..มีเพียง..ข้อมูลทางการ..เสนอแนะ..ควบคุม..สถานะทางการปฏิบัติ..โดยเคร่งครัด..หรือไม่..อย่างไร...มีการเสนอแนะ..ความเป็นอยู่..และเข้าใจ..สิ่งแวดล้อม..รอบๆตัว..รอบๆ..ความเป็นอยู่..หรือไม่..อย่างไร...(สนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ)...อยากทราบว่า..จะเป็นเพียง.."ตั้งกล้อง..ยิงภาพ"..หรือจะมีการเรียกร้องให้..ช่วยๆกันทำความเข้าใจ..และ..ทำให้มีผลของการปฏิบัติ..ตามกฏเกณฑ์ที่..มีมาโดยตลอด..(หากเหลียกเลี่ยง..และ..ละเว้น..ได้..ดังที่เป็นอยู่กัน..เวลานี้...เจ่าคะ..(ยายธี)....)

เรียน คุณยายธี ก่อนอื่น ขอบคุณคะที่มาเยี่ยมชม ขอตอบคำถาม ดังนี้ คะ

1. ศูนย์ช่วยเหลือให้ปฏิบัติตามกฏหมายเป็นหน่วยงานราชการ คะ

2. ศูนย์ช่วยเหลือฯ นี้เป็นการช่วยเหลือทางด้านข้อมูล ข้อกฏหมาย และแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ บางประเภท สำหรับ ในปี 2557 กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดเบื้องต้น จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ ฟาร์มสุกร , อาคารบางประเภท บางขนาด ,ที่ดินจัดสรร และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท