ความมั่นใจในตนเองมากไป ทำให้เคารพผู้อื่นน้อยลงจริงหรือ ไปด้วยกันได้ไหม..


เป็นคำถามที่น่าคิด น่าสังเกตตัวเองนะคะ

อ่านบันทึกอ.วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อยากนำมาคิดดังๆเผื่อจะได้ฟังคนอื่นคิดบ้างค่ะ

คิดว่าตัวเองเป็นคนมั่นใจในตัวเองมานานแล้ว และดูเหมือนจะยิ่งมากขึ้นเมื่อมี"เปลือก"หุ้มห่อ แต่ก็พบว่าตัวเองมีข้อดีที่ไม่กลัวที่จะบอกว่าไม่รู้ และยินดีเรียนรู้จากผู้อื่นที่เราเห็นว่าเป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ และรักที่จะเรียนรู้ไปเสียทุกเรื่อง มีหลายๆครั้งที่คิดว่าตัวเองแสดงความมั่นใจในตัวเอง ในทำนองที่ทำให้คนอื่นรู้สึกไม่กล้าโต้แย้ง แต่ก็สายเกินแก้ ทำให้หมดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากผู้อื่น พยายามแก้ไขตัวเองในจุดนี้อยู่เสมอ

จุดนี้เองเป็นสิ่งที่คิดว่า เราแตกต่างจากผู้อื่นคือ จะไม่กลัวที่จะโต้แย้งถ้าคิดว่าเรารู้เรื่องนั้นๆ (เป็นมาตั้งแต่ไม่มี"เปลือก") จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ คิดว่าสิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรมที่ต้องสร้างให้เกิดแก่พวกเรา เพราะเท่าที่พบเห็น พวกเราจะเชื่อถือผู้อื่นที่ "เปลือก"และไม่เชื่อมั่นตัวเองเพียงพอจึงไม่ชอบเสนอความคิดเห็นที่ขัดแย้ง

แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เรียนรู้ได้ไม่จบสิ้นสำหรับตัวเองคือ ต้องสร้างความเคารพผู้อื่นให้เกิดกับตัวเอง ต้องเรียนรู้วิธีที่จะไม่แสดงความมั่นใจในความคิดของตนเองจนทำให้ผู้อื่นลดความเชื่อมั่นของเขาลง ต้องเรียนรู้วิธีที่จะบอกเล่าความคิดเห็นโดยทำให้ผู้อื่นกล้าที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับเรา ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้เราเคารพผู้อื่นมากขึ้นไปด้วย ยากค่ะ และมักจะรู้ตัวเมื่อพลาดไปแล้วเสมอ

เป็นหัวข้อที่น่าคิด และอยากฟังผู้อื่นคิดดังๆบ้างค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 56477เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ได้อ่านบันทึกของ คุณหมอวิจารณ์ ผนวกกับ บันทึกของคุณโอ๋ แล้ว ช่างเป็นเรื่องใกล้ตัวคุณรัตติยา เสียเหลือเกิน  หลายครั้งในการเสนอความเห็นของตัวเอง มักจะถูกผู้ใหญ่มองว่า เราทำเกินหน้าที่ หลายครั้งที่คิดโครงการ หรือวางแผนงาน ไว้ แต่ถูกผู้ใหญ่มองว่า คิดอะไรไกลตัว เป็นไปไม่ได้ ไม่มีทางเกิด และหลายครั้งสิ่งเหล่านี้ทำให้ความมั่นใจของตัวเองลดน้อยลง แต่สิ่งหนึ่งที่พึงกระทำอยู่เสมอ คือ การเคารพในสิทธิของผู้อื่น แต่คงเป็นเหมือนเหตุผลที่คุณโอ๋ ได้กล่าวไว้ข้างต้น ว่า บางครั้งการแสดงความมั่นใจของเรา ย่อมส่งผลให้คนอื่นไม่กล้าโต้แย้ง ไม่กล้าให้ความเห็น ซึ่งสิ่งนี้ เห็นด้วยค่ะ ที่เป็นตัวอันตราย ในการที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว เราควรปรับตัวอย่างไรค่ะ ได้คำตอบแล้ว ช่วยชี้แนะช่องทางด้วยนะคะ

คุณรัตติยาคะ เป็นเรื่องยากที่จะหาจุดที่เหมาะสมจริงๆนะคะ เพราะแม้เราจะกล้าออกความเห็น เรามั่นใจ แต่บางครั้งกับผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นอวดดี เก่งเกินตัว หรือกับผู้ที่อ่อนกว่าก็จะทำให้เกิดความกลัวไม่กล้าออกความเห็นแย้งกับเรา อย่างที่บอกในบันทึกแหละค่ะว่า มักจะทำผิดเสมอแล้วจึงรู้สึกทีหลัง อยากทราบเหมือนกันค่ะว่าใครมีเทคนิคดีๆมาแลกเปลี่ยนกัน เราจะแสดงออกให้สมดุลกันได้อย่างไร ใครมีประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกันบ้าง

ก็เคยได้รับประสบการณ์มาเหมือนกัน แบบว่ารู้แต่ไม่ได้เชื่อมั่นว่าถูก 80% ขึ้นไป ประกอบกับเป็นคนไม่ค่อยชอบเถียงใครเท่าไหร่ ชอบฟังความคิดคนอื่นมากกว่า (หลายครั้งไม่ได้ออกความเห็น ก็อาจเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งเหมือนกัน) ทำให้ไม่ได้มีโอกาสให้ข้อเท็จจริงหรือข้อเสนอแนะบางอย่าง หรือบางครั้งคู่สนทนามีความเชื่อมั่นในตนเองสูงทั้งๆที่รู้ผิดและไม่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเกิดอาการลังเลว่าที่เรารู้ถูกรึเปล่า เพราะลักษณะการการพูดนั้นแบบเชื่อมั่นเต็มร้อย เลยทำให้ไม่ได้เถียงออกไปเพราะเห็นว่าจะยาว แต่ก็เอามาตรวจสอบอีกครั้งภายหลัง ถ้าเรื่องนั้นอยากรู้มาก ซึ่งก็พบว่าเราเข้าใจถูกแล้วก็มีมาก
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของบุคคลด้วย เป็นสิ่งที่ค่อนข้างแก้ยากซักหน่อย เพราะบุคคลนั้นต้องรู้ด้วยตนเองและแก้ไขด้วยตนเอง หาได้ยากที่ผู้อื่นจะกล้าเตือน

อ่านแล้วโดนใจนะ  ต้องขอร่วม ลปรร. ด้วยคนค่ะ...
  • พี่เม่ยว่าการมีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองในเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บนฐานความคิด ความรู้ที่เรามี และคิดว่าถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ...แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะหลงลืมเผลอไปก้าวล่วงสิทธิในการคิดของผู้อื่น ด้วยการพยายามแสดงออกว่าความคิดเห็นของเรานั้นถูกต้องแล้ว ดีกว่า หรือดีที่สุดแล้ว และพยายามโน้มน้าว ชักจูง ให้ผู้อื่นเข้าใจตามที่เราคิด ตรงนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความเคารพผู้อื่นน้อยลง....
  • เสน่ห์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงอยู่ที่มีการได้แสดงความคิดเห็นของเราเองพร้อมๆกับการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพในสิทธิที่จะคิดเช่นนั้นได้ของทุกๆคน โดยไม่มีการตัดสินว่าของใครถูก ของใครผิด ของใครดีกว่า ของใครไม่ดี....ทุกคนเลือกทางคิดได้บนฐานความคิดของตนเอง...
  • สมดุลของพี่เม่ยก็คือ พูดจบแล้วก็จบ ฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้ ทุกอย่าง..."มันเป็นเช่นนั้นเอง" (แต่ก็ทำไม่ได้อย่างที่พูดหรอกนะคะ พยายามฝึกอยู่ค่ะ)

ผู้เขียนเป็นคนไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองเท่าไรนักค่ะ ขี้กลัว ขี้อาย โอ๊ย ! สารพัด แต่....ไม่กลัวที่จะโต้แย้งในบางเรื่อง กับบางคนเท่านั้นเองค่ะ คือ คล้าย  ๆ กลัวจะปล่อยโง่ออกไป เพราะบ่อยครั้งที่เขาแปลคำพูดที่โต้แย้งไปจากอย่างที่เราต้องการสื่อ เดี๋ยวนี้ก็เลยพยายามสงบปากสงบคำมากขึ้น --อิ อิ

กล้าพูด กล้าทำ กล้าฟัง และ กล้าที่ยอมรับความเห็นของผู้อื่นค่ะ
บันทึกนี้ค้างคาใจคุณเมตตา มาก ตอนนี้หัวฟู จะมาต่อยอดตอนเย็นค่ะ คุณโอ๋...

ชอบคำว่า วัฒนธรรมที่ต้องสร้างให้เกิดแก่พวกเรา    บางคน ยังติดกับวัฒนธรรมเดิม ๆ การทำงานที่เป็นเดิม ๆ ไม่ยอมเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานที่ทันสมัยกว่าทำมาระบบใดก็ติดกับระบบนั้นตลอด จนบางครั้งเกิดความเชื่อมั่นในตนเองน้อยลงจนนึกลังเลว่าถ้าเราแสดงความคิดเห็นให้เปลี่ยนระบบการทำงานที่ดีกว่าเขาไม่ค่อยยอมรับ แสดงความคิดไปหลายครั้งแต่ก็ไม่ยอมรับพี่โอ๋มีวิธีพูดชักจูงในอย่างไรบ้างอย่างรู้วิธีเด็ด ๆ

ขอบคุณกับทุกความเห็นนะคะ อยากให้เกิดการคิดให้ลึกในเรื่องนี้ เพราะมีอะไรหลายๆอย่างที่เราจะแลกเปลี่ยนกันได้มาก แล้วก็เป็นจริงๆเพราะมิตรรักแฟนบล็อกทั้งหลายนี่เอง

สิ่งที่คุณ"ผ่านมา"ให้ความเห็นมีประโยชน์มากค่ะ เป็นข้อคิดเตือนใจที่ดี ใช่เลยว่าไม่มีใครมาสอนเราได้ เราต้องระวังเรียนรู้เอาเอง แต่การได้พูดคุยถึงวิธีการก็มีประโยชน์เหมือนที่เราทำกันอยู่นี้ไงคะ

ขอบคุณพี่เม่ยมากค่ะ เห็นด้วย 1000% เลย และขอบคุณแง่คิดดีๆที่นำมาเตือน

คุณศิริ เป็นคนนึงที่พี่มีความคิดริเริ่มดีๆเสมอ ต้องหัดไม่กลัวโง่ให้มากๆค่ะ เพราะโง่ต้องมาก่อนฉลาดอยู่แล้ว

อ.จันทวรรณเป็นตัวอย่างที่ดีมากของคนรุ่นใหม่ที่กล้าแสดงความคิดเห็นและเคารพผู้อื่น จะเห็นได้จากการที่พัฒนาโปรแกรมตามใจผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตัวเองทำ แล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ใช้ร้องขอ ไม่เหมือนแบบที่เราเคยๆเจอว่า"ชั้นเป็นโปรแกรมเมอร์ ทำให้ใช้ได้ก็บุญแล้ว จะมาให้ปรับเปลี่ยนอะไรนักหนา"  

คุณเมตตา มาเร็วๆนะคะ ความคิดจากคนหัวรุนแรงรวดเร็วแบบคุณเมตตานี่ยิ่งน่าสนใจใหญ่

คุณพิไลพรคะ คำถามนี้ยากมากเลยนะคะ พี่ก็ทำไม่ได้หรอกค่ะ มีแต่ปรับตัวไปตามระบบและหาช่องทางที่เราทำได้แล้วก็ซอกซอนไปค่ะ แต่โลก Gotoknow นี่แหละที่เป็นที่ให้เราเสนอความคิดเห็นได้ จะมีใครมาสนใจเอาไปใช้หรือเปล่า ก็ขึ้นกับว่าเรายืนยันมั่นคง พยายามทำเป็นตัวอย่างเท่าที่จะทำได้นั่นแหละค่ะ แต่จะไปเปลี่ยนอะไร หรือใครนี่....ยากค่ะ อย่าไปหวังเลย

  • มีความเห็นเหมือนพี่เม่ยทุกประการ ซตพ.
  • บางครั้งเวลาเราพูดเอง เราจะมองเพียงแค่เนื้อหาที่เราพูด สิ่งหนึ่งที่คนพูดมักจะมองข้ามไป คืออารมณ์ ความเชื่อมั่น ความมั่นใจ และอะไรอีกหลายอย่างที่เป็น non-verbal ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละที่บางครั้งก้าวล่วงเข้าไปยังความคิดของอีกคนหนึ่ง ทำให้เขารู้สึกได้ทั้งในด้านบวก และด้านลบต่อผู้พูด
  • ความที่เรามั่นใจ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อไปเจอกับอีกคนหนึ่งซึ่งกล้าพอๆกับเรา แต่คิดในสิ่งที่แตกต่าง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นคือการเถียงกันครับ ผลที่ตามมาคือถูกคนอื่นด่าฝากมาเรื่อย
  • ผมเองก็เป็นครับ พอมาตอนหลังก็จะพยายามพูดให้จบเพียงครั้งเดียว เมื่อมีคนแย้งก็จะไม่ขยายความต่อ ยกเว้นว่าอาจเกี่ยวโยงต่อความเข้าใจผิด ที่เหลือเป็นเรื่องที่คนฟังต้องคิดเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท