ข้อเสนอในการจัดการปัญหาสิทธิการก่อตั้งครอบครัว


สถานการณ์เด่นด้านกฎหมายนโยบายเกี่ยวกับสถานะและสิทธิในพื้นที่สึนามิ

 

มีหนังสือสั่งการที่ ม.ท.๐๓๑๐.๒/ว.๑๑๗๐ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ และ ที่ม.ท.๐๓๑๐.๒/ว.๙๘๑๕ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ซึ่งขัดกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ เนื่องจากระบุให้เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบบัตรประจำตัวผู้ร้องเสมอเมื่อมาร้องขอจดทะเบียนสมรส ทำให้ผู้ไม่มีบัตรประจำตัวไม่สามารถขอจดทะเบียนสมรสได้

  

ผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว

 

ระยะสั้น : ประชาชนที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการสร้างครอบครัวขึ้นตามกฎหมายได้

 

ระยะกลาง : เด็กและเยาวชนขาดผู้แทนโดยชอบธรรม (บิดา) ตามกฎหมาย ทำให้เมื่อเด็กถูกละเมิดบิดาไม่อาจเข้าสู่กระบวนการเรียนร้องสิทธิแทนบุตรแท้ๆ ของตนได้

 

ระยะยาว : เกิดปัญหาความสัมพันธ์ทางครอบครัวในเชิงกฎหมายบิดาเป็นแต่เพียงบิดาตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ขาดอำนาจการปกครองบุตร ไม่มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันในทางกฎหมาย ระหว่างสามี ภริยาและบุตร อันส่งผลต่อความไม่มั่นคงของครอบครัวและสังคม

  

ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา

 

ต่อฝ่ายราชการ

           กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยกเลิกหนังสือสั่งการที่ ม.ท.๐๓๑๐.๒/ว.๑๑๗๐ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ และ ที่ ม.ท.๐๓๑๐.๒/ว.๙๘๑๕ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ และออกคำสั่งที่มีความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติในการรับจดทะเบียนครอบครัวของบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ทั้งที่มีบัตรประจำตัวและไม่มีบัตรใดๆ เพื่อส่งเสริมการสร้างความมั่นคงในทางครอบครัวของบุคคลต่างๆ

 

ฝ่ายองค์กรเอกชน

           มูลนิธิเด็ก มูลนิธิผู้หญิง และองค์กรเอกชน และองค์กรด้านศาสนาในพื้นที่ ควรส่งเสริมและทำความเข้าใจ รวมทั้งรณรงค์ให้บุคคลที่มีความประสงค์จะก่อตั้งครอบครัว ให้ดำเนินการทางกฎหมายโดยการจดทะเบียนสมรส ซึ่งจะส่งผลดีต่อบุตรโดยตรง

 
หมายเลขบันทึก: 56468เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท