๔๒๖. การเรียนรู้ด้วยตนเอง...


การเรียนรู้ด้วยตนเอง...

      เรื่องราวบางเรื่อง...ฉันในฐานะเป็นผู้ใหญ่กว่า...

จะมอง จะพูด จะคิด จะบอกให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ทราบ

ได้นึก ได้คิดว่ามันจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้

เพราะที่บอกกล่าว นั่นเป็นเพราะฉันทำอะไรจะตั้งอยู่

บนหลักการ เหตุผลในการดำเนินชีวิต หรือไม่ก็...

เคยเจอ เคยโดนมาก่อน...แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว

จะทำอย่างไร เรียกว่า จะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร?...

      แต่กลับได้รับคำตอบกลับมาว่า...(จากคนรุ่นใหม่)

เพียงแค่ความคิดของเขา ๆ คิดว่า...ฉันสะกัด...คริ ๆ ๆ (น่าขำ)...

บอกแค่เพียงว่า...มันไม่น่าเกิด...มันเป็นไม่ได้หรอก...

และมันก็คงจะไม่เกิด...ที่พูดมาเป็นคำตอบว่า...คุณฟันธงแล้วว่า

มันไม่น่าเกิด...ฉันจะพูดอย่างไร? ก็คงไม่ฟังกันสินะ!!!

เพราะคุณมัวเมาในผลประโยชน์ของคุณอยู่แล้วนี่...

ไม่เป็นไร...ในเมื่อไม่เชื่อกันก็ไม่เป็นไร?...

      บางครั้ง...ฉันต้องปล่อยให้เรื่องบางเรื่องผ่านไป

ไม่พูด ไม่บอก ไม่แนะนำแล้ว เพราะถ้าทำเช่นนั้น...

ก็รังแต่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามขุ่นข้องหมองใจกันไปเปล่า?

ให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวของพวกเขาเอง...คนเราถ้าเหตุการณ์

ไม่เกิดขึ้นกับตนเองก็คงไม่สำนึก...แต่ถ้าเกิดขึ้น...

คราวนี้แหล่ะ...คงจะจดจำไปชั่วชีวิตเชียว...

และอาจกลับไปคิดว่า...เออ!!! รู้แบบนี้ เชื่อเสียก็ดี...

       ก็แล้วแต่..."ความคิด" ของคน แล้วแต่จะมอง

คนเรามองกันคนละด้าน ไม่มีทางที่จะคิดหรือมองให้เหมือนกัน

เองได้หรอก...ทางที่ดี จึงต้องให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

นั่นแหล่ะ "ดีที่สุด"...เขาเรียกว่า "เรียนรู้ด้วยตนเอง"

เรื่องดี ๆ ก็ต้องเจอเอง และเรื่องร้าย ๆ ก็เช่นเดียวกัน

ต้องเจอด้วยตนเอง...จึงจะนึกถึงคำพูดที่ "ผู้ใหญ่" คนนี้

ที่ได้เตือนคุณแล้ว...

 

เขียนบันทึก...ยามนึกถึงสุภาษิตโบราณที่เคยพูดว่า...

"ผู้ใหญ่...อาบน้ำร้อนมาก่อน" ซึ่งมันก็น่าจะยังใช้ได้อยู่บ้างนะ!!!

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 564209เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2014 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2014 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนในเรื่องการพูดไว้ในอภัยราชกุมารสูตร โดยให้พิจารณาถึง ความจริง ประโยชน์ กาลเทศะ ดังนี้

๑. วาจาใดไม่จริง ไม่ประกอบประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ไม่พึงกล่าววาจานั้น

๒. วาจาใดจริง ไม่ประกอบประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ไม่พึงกล่าววาจานั้น

๓. วาจาใดจริง ประกอบประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ควรรู้

กาลอันควรหรือไม่ควรที่พึงกล่าววาจานั้น

๔. วาจาใดไม่จริง ไม่ประกอบประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ไม่พึงกล่าววาจานั้น

๕. วาจาใดจริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ไม่พึงกล่าววาจานั้น

๖. วาจาใดจริง ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ควรรู้

กาลอันควรหรือไม่ควรที่พึงกล่าววาจานั้น

ผอ.ท่านทำดีแล้วครับ เราก็เตือนด้วยความเมตตา ถ้ารั้นก็คงปล่อยไปก่อน..เมื่อเขารู้ตัวที่ช้าไป เมื่อจะเห็นคุณค่าคงตอนที่ผ่านไปแล้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท