ฮักนะเชียงยืน 29


สะท้อนปัญญาวงใน

สะท้อนปัญญา

 

        ได้ชื่อว่าเป็นเยาวชนนักการละครสะท้อนปัญญาเเล้วนั้น เราเป็นนักละครที่ใช้ปัญญาในการสะท้อนให้ภายนอกได้รับรู้สิ่งที่เป็นไปในสังคม ในคราวนี้เรามาสะท้อนปัญญาในวงทำงาน เพื่อที่จะเกิดประโยชน์อันดีต่อการสะทอ้นออกไปสู่ภายนอกอีกครั้งตามบริบทของเเต่ละที่ วันนี้เป็นวันเเห่งการสะท้อนปัญญาจากภายใน(ในวงทำงาน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยมหาสาราคาม มีกลุ่มการละครเข้ามาร่วมที่เป็นตัวเเทนของเเต่ละกลุ่มาพูดคุยกัน ทั้งนี้มุ่งหวังเพื่อการประเมินตนเองด้วย การมาเรียนรู้วิธีการของเพื่อนด้วย กิจกรรมนี้จัดขึ้นทั้งวัน มีกิจกรรมหนึ่ง ที่บอกว่าได้เรียนรู้อะไร ซึ่งการละครเร่ในครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ ตนเอง ทำให้เราคิด ได้ย้อนมองดูตนเอง ช่วยให้ชุมชนได้เห็นตนเองโดยการบอกอย่างอ้อมๆให้เห็นภาพที่เป็นเครื่องมือราคาถูก  เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี เเล้วยังเป็นกิจกรรมยามว่างที่จะทำให้เด็กสะท้อนในสิ่งที่เขาอยากเป็นออกมาจากภายในสู่ภายนอก

        จากที่ได้เเลกเปลี่ยนกัน ในเรื่องของการละคร หลายกลุ่มสะท้อนปัญญาว่า ละครสามารถเปลี่ยนเเปลงตนเองได้  สามารถเปลี่ยนคนใลก้ชิดได้ อาจเปลี่ยนไปถึงสังคมใหญ่ได้ เพราะเป็นอีกเครื่องมือในการพัฒนาคน เเล้วยังเเลกเปลี่ยนกันในเทคนิคการทำละครของตนเองให้สะท้อนปัญญาออกสู่ภายนอกความความเป็นตัวของเราเอง ตลอดทั้งยังเป็นมุนสำคัญที่จะทำให้ละครเรานั้น อินเข้าไปอยู่ในใจของผู้คนมากยิ่งขึ้น 

นาฬิกาละครเร่(เทคนิคภายนอก) จากการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น ... 

จากที่ได้เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันเเละกัน สังเคราะห์ออกมาเป็นโมเดลนาฬิกาเรือนนี้ ดังนี้

1 นาฬิกา คือ การชักชวนเพื่อนๆให้เข้ามาสู่กระบวนการทางละครเพื่อที่จะเกิดผลในทางดีต่อตัวเขา เเละชุมชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งทำให้เรามีเพื่อนๆมากยิ่งขึ้นที่จะคอยมาทำงานกับเราให้งานนั้นๆง่ายยิ่งด้วยพลังของพันธมิตรที่ดี

2 นาฬิกา คือ การชวนเพื่อนที่เจาะจงเลยว่า จะต้องเป็นตัวหลักที่จะคอยเคลื่อนละคร ไปสู่สังคมกับเรา โดยเลือกตามทุนสำคัญ คือ เลือกคนที่มีใจมา มิใช่เลือกคนที่เเสดงดีเเต่ไม่มีใจ เรพาะเราไม่ได้เอาเพียงกายเเสดง เราเอาใจเเสดงด้วย เเล้วนอกจากที่จะเลือกคนที่มีใจเเล้วนั้น การเลือกคนในชุมชนกลุ่มเป้าหมายของเรามาเเสดงด้วยซึ่งจะเกิดผลหลายอย่าง คือ ผู้ใหญ่อาจมีดูลูกหลานของตนหรือมาดูเพื่อนของตนเองมากยิ่งขึ้น เเละเสียงจากชุมชนจะได้ไม่บอกว่า เธอเป็นใคร เเล้วมาทำอะไรอย่างนี้ ทำทำไม ...

3 นาฬิกา เมื่อได้ชุมชนกลุ่มเป้าหมายเเล้วก็จำต้องเลือกว่าจะเอาประเด็นใดของปัญหาให้ชี้ชัดปัญญาเพื่อที่ละครเราจะได้มีประเด็นที่ชัดเจนเเล้วสื่อสารได้ง่ายเลือกจากบริบทของความจริง เเล้วอาจมาดูหนังดูละครว่าเขามีเทคนิคอย่างไร มีเเง่คิดอย่างไร เพื่อที่เขาจะมาปรับเข้าสู่ละครของเราได้ให้ชุมชนมีความสนุกเเรกเเง่คิดมากยิ่งขึ้น

4 นาฬิกา คือ เมื่อมีการทำบทเเล้วนั้น สิ่งสำคัย คือ การท่องจำบทอย่างเข้าใจ จำให้เข้าใจ มิใช่การจำเพื่อท่อง เด็กมีการอ่านบทละครทั้งหมดเพราะเขาจะได้รู้เรื่อง ในบริบทของตัวละครว่าเขาเป็นอย่างไร ตัวละครอยู่ในสังคมอย่างไร เมื่อคนพูดมาเเบบนี้เเล้วตัวละครจะทำกริยาท่าทางอย่างไร 

5 นาฬิกา คือ การให้เขาตัวคำพูดนี้เป็นของเขาเอง เพื่อที่เขาจะได้จำจำได้ง่าย รวมทั้งเขาจะรู้สึกว่าเข้ามีส่วนร่วม เเละเป็นเจ้าของละครคนหนึ่ง ตัดให้เป็นความเป็นตัวเขา จะสามารถเเสดงออกมาได้ง่ายไม่เกร็ง เพราะเป็นตัวตน

6 นาฬิกา คือ การเล่นเเทนคนอื่นๆได้ ซึ่งจากที่เราได้อ่านบทตัวละครทุกๆตัวเเล้วนั้น มักจะจำได้ เมื่อคนหนึ่งไม่อยู่ในวันซ้อมครั้งใดใด การให้อีกคนหนึ่งมารับเเสดงเเทนนั้นถือเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อยามถึงคราวจริงจะได้พลาดน้อยที่สุด

7 นาฬิกา คือ ทุกๆมีโจทย์ให้คิด ซึ่งนอกจากที่เราจะเเสดงละครเเล้ว ทุกๆคนก็ต้องมีโจทยืกลับไปคิดในบทของตนเองว่า ตอนนี้เราเต็มที่หรือยัง ทำอย่างไรจะเต็มที่ เป็นการทบทวนตนเอง เเละมบทวนการละคร เช่น ละครเราสื่อสารเป็นอย่างไร ควรปรับปรุงอย่างไร ซึ่งเด็กเเต่ละคนนั้นย่อมได้คิดเป็นเเน่เเท้

8 นาฬิกา คือ การซ้อมยามว่าง อันนี้สำคัญ การหาเวลาที่ตรงกัน ย่อมจะเห็นความพอดี เเต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นว่าเวลาไม่ตรงกัน เมื่อเวลาที่ตรงกันจะทำให้การซ้อมลำบากมากยิ่งขึ้น 

9 นาฬิกา คือ ซ้อมไปด้วยสอนไปด้วย อันนี้จะอยู่ในมิติของโคชที่ให้ข้อเเนะนำในการเเสดง ที่จะคำเเนะนำเด็กเเล้วเด็กไปสอนตนเองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสอนตนเองเเล้วก็มารับคำเเนะนำอีก เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด

10 นาฬิกา คือ ระดับของภาษาในการสื่อสาร อันนี้สำคัญ เราทำละครเพื่อการสื่อสารกับสังคม เราต้องดูบริบทของสังคมว่า ภาษาใดที่สังคมนั้นใช้อยู่ ภาษานั้นล่ะที่จะเข้าถึงสังคมนั้น เช่น สังคมอีสาน ภาษาอีสานย่อมเข้าถึงกว่า สังคมใต้ ภาษาใต้ย่อมเข้าถึงกว่า เเล้วภาษานี้นอกจากจะคำนึงถึงเเต่ละท้องถื่นเเล้วจำต้องคำนึงว่า ต้องเข้าได้ทุกเพศทุกวัย เพราะคนที่มาดูเรานั้นมีหลายช่วงอายุ หรือถ้าโฟกัสไปที่ผู้ใหญ่ก็อาจใช้ภาษาลูกหลาน หรือภาษาผู้ใหญ่ (เเล้วเเต่บริบท)

่11 นาฬิกา คือ การซ้อมการเร่เเละการประมเิน อันนี้เป็นหัวใจหลักของละครเร่ ที่ต้องซ้อม ต้องเร่เเสดงสู่สังคม เเละประเมินตนเองอยู่เป็นนิตย์ เราจะขาดการประเมินตนเองมิได้เลย เพราะจะทำให้เราได้พัฒนาเอง นักละครจะเเสวงหาคำวิจารณ์เพื่อพัฒนาตนเอง

12 นาฬิกา คือ การเผยเเพร่ ซึ่งนอกจากที่เราจะเเสดงละครไปยังกลุ่มเป้าหมายของเราเเล้วนั้น ถ้าเราเเสดงเพียงกลุ่มเดียว จะไม่คุ้มค่ากัน การเผยเเพร่ข้อมูลทำให้ให้คุ้มค่าโดยอาจลงสังคมเเห่งวิดิโอ เพื่อที่ผู้คนจะได้ดูได้เห็นกับเราด้วย เเล้วหลายๆครั้งนั้นการเผยเเพร่นี้เองที่เป็นกำลังใจให้เราด้วย 

        ครั้งนี้มีครูท่านหนึ่งสอนว่า เราสอนให้ลูกเราดีในสังคมนี้ไม่ได้เพียงครอบครัวเดัยว เพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน เราสอนลูกเราดีเเล้ว ลูกเราไปเล่นกับคนอื่นๆที่อยู่ในสังคมไม่ดีก็เท่าเดิม เราจึงต้องสอนลูกหลานเราด้วย สอนลูกเราด้วย ทุกสิ่งถึงจะดีไปด้วยกัน การเเลกเปลี่ยนปัญาในคราวนี้เป็นการเเลกเปลี่ยนที่ถือว่าคุ้มค่า ... 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 564122เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2014 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2014 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากติดตามมาให้กำลังใจ

ขอบขอบคุณ ครุ ทั้ง 2 ท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่มาให้กำลังใจครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท