GotoKnow

วิชาการแนว KM

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2548 04:34 น. ()
แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2555 08:45 น. ()

วิชาการแนว KM 

<p>
          ผมได้รับเชิญจาก มศว.ประสานมิตร   ให้ไปร่วมในการเสวนา “ทิศทางโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมการกีฬาและออกกำลังกาย”   ในวันพรุ่งนี้ (30 มิ.ย.48) โดยที่ผู้จัดการเสวนาตระหนักในความจำเป็นที่ถ้าจะจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมด้านการกีฬาและออกกำลังกาย   ก็จะต้องฉีกแนวไปจากนวัตกรรมที่เมืองไทยมีอยู่แล้ว   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการข้ามศาสตร์</p>
<p>
          อ่านจากเอกสารของการเสวนา   เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงในอุดมศึกษาด้านการกีฬาชัดเจนมาก
·       จุฬาฯ   : พัฒนาจากภาควิชาพลศึกษา   ไปเป็นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
·       มหิดล : พัฒนาจาก รร.กีฬาเวชศาสตร์   ไปเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา
·       ม.บูรพา : พัฒนาจากภาควิชาพลศึกษา   ไปเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา
·       ม.เกษตรศาสตร์ : พัฒนาจากภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา   ไปเป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา</p><p>
          ผมแจ้งว่า มศว.จะไม่แค่เปลี่ยนแปลงตามแฟชั่น   แต่กำลังแสวงหาวิธีดำเนินการให้กิจกรรมด้าน
อุดมศึกษาแขนงการกีฬาและออกกำลังกายเกิดคุณประโยชน์แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง
          ผมเกิดมาโชคไม่ดี   เล่นกีฬาไม่เป็นสักอย่าง   แต่โชคดีที่ได้ออกกำลังกายตั้งแต่เด็ก   ตอนอายุ 10 – 15 ปีขี่จักรยานไปโรงเรียนวันละ 12 กม.   อายุ 40 – ปัจจุบัน 63   วิ่งเหยาะออกกำลังกาย 20 – 30 นาทีแทบทุกเช้า   ร่างกายจึงแข็งแรง</p><p>
          เมื่อจะให้ออกความเห็นให้แหวกแนวสุด ๆ ในเรื่องกีฬาและออกกำลังกาย   ผมก็จนปัญญา</p><p>
          สมัยนี้เหงา ๆ หรือคิดอะไรไม่ออก   ต้องลองเข้าอินเตอร์เนต   ผมจึงลองเข้าไปค้นเอ็นไซโคลปีเดียแนวใหม่คือ วิกิปีเดีย   ที่ www.wikipedia.org  ด้วย keyword : exercise ก็ได้แนวคิดเรื่องการออกกำลังกาย   ว่ามี 3 ชนิด   คือบริหารกายแบบยืดหยุ่น,   ออกกำลังกายแบบแอโรบิก   กับแบบแอนแอโรบิก   และอื่น ๆ อีกมาก</p><p>
          ลองค้นอีกแหล่งที่ www.google.co.th ก็ได้คำตอบมาถึง 70.5 ล้านชิ้น (อย่าลืมว่าส่วนใหญ่เป็นขยะ) เห็นภาพชัดเจนว่าสังคมมนุษย์ได้ตั้งองค์กรหรือกลไกเชิงองค์กรด้านการออกกำลังกายและกีฬาขึ้นมามากมาย</p><p>
          ค่อยหูตาสว่างขึ้นมาหน่อย (หน่อยเดียวนะครับ)   ผมฟันธงเลยว่า   ขณะนี้วงการวิชาการไทยด้านการกีฬาและออกกำลังกายยังเข้าไปเชื่อมต่อกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่ว ๆ ไปในสังคมน้อยไป</p><p>
          เวลานี้สังคมไทยตื่นตัวด้านการออกกำลังกายมากกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วอย่างมากมาย   ตื่นตัวกว่าประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย   แต่ผมคิด (ไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่า) ว่าวงการวิชาการเข้าไปเชื่อมต่อกับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำน้อยเกินไป
         
          ผมจึงคิดว่านวัตกรรมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องวิชาการด้านการกีฬาและออกกำลังกาย   คือการเข้าไปเห็นคุณค่าของความรู้ปฏิบัติ   เอาความรู้เกี่ยวกับการกีฬาและออกกำลังกายของผู้ปฏิบัติ   ที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกมาต่อยอดด้วยความรู้เชิงวิทยาศาสตร์   แล้วหมุนกลับให้ชาวบ้านเอาไปทดลองปฏิบัติ   หมุนเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไปไม่รู้จบ   จะเกิดการสร้างและสั่งสมความรู้ด้านการออกกำลังกายและการกีฬามากมายมหาศาล</p><p>
          กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า   การจัดการความรู้ด้านการออกกำลังกายและการกีฬา   เป็นการต่อยอดกันไปต่อยอดกันมาระหว่างความรู้ปฏิบัติ  กับความรู้ทฤษฎี   โดยที่จะต้องเอา IT มาเป็นเครื่องมือของการสื่อสารต่อยอดความรู้   และสร้างความคึกคัก</p><p>
          IT ที่ผมจะ demo ให้ดู (ถ้าห้องประชุมเข้าอินเตอร์เนตได้) คือบล็อก หรือเว็บล็อก (Blog/Weblog) เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ปฏิบัติ</p><p>
          ถ้าจะดำเนินการตามแนวนี้จริง   ก็จะต้องคิดลูกเล่นด้านการบริหารจัดการอีกมาก   และจะต้องคำนึงว่า “ความรู้ปฏิบัติ” มีอยู่ในผู้ปฏิบัติและในผู้มีพรสวรรค์</p><p align="right">
                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   29 มิ.ย.48
</p>


ความเห็น

morning_glory
เขียนเมื่อ

ผมลองตั้งคำถามว่า การเปลี่ยนชื่อจาก ภาควิชาพลศึกษา ไปเป็น
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา  สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงภาพรวมอย่างไร?

ตามความเข้าใจของผม(ซึ่งจะถูกหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ) ภาควิชาพลศึกษามีหน้าที่
ผลิต "ครูพละ" เพื่อเป็น บุคลากรป้อนให้กับโรงเรียนต่างๆ ที่จะต้องมีครูสอนวิชา
พละศึกษา อันนี้เป็นบริบทเดิม ที่มีมาในอดีต  คือ เด็กนักเรียน ได้เรียนรู้เรื่อง
กีฬาและการออกกำลังกาย จากวิชาพลศึกษาเป็นหลัก  การจะให้คนเล่นกีฬา
และออกกำลังเป็น ก็ต้องสร้าง "ครูพละ" ออกมาเยอะๆ  มาสอนให้ทั่วถึง

แล้วบริบทปัจจุบันเป็นอย่างไร? ปัจจุบันนี้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น
ทั้งเรื่องอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  พฤติกรรมรักษาสุขภาพ และการออกกำลัง
ในเชิงโครงสร้างเองเราก็มี สสส. คอยสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกๆ ด้าน
ปัจจุบัน คนไม่ได้รับรู้เรื่องกีฬา และการออกกำลังกาย แต่เฉพาะจากครูพละ
เหมือนแต่ก่อน  มีช่องทางผ่านสื่อ ผ่านพื้นที่ใหม่ๆ มากมายในการให้ความรู้
ด้านการออกกำลังกาย

คำว่า "วิทยาศาสตร์" การกีฬา และ "นวัตกรรม" ก็สื่อถึงหน้าที่ที่ มหาวิทยาลัย
จะสร้างองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการวิจัย (และจัดการความรู้) อีกทั้งให้บริการ
วิชาการโดยการเผยแพร่ความรู้นั้นไปในสังคม ผ่านช่องทางอันหลากหลาย
ไม่ใช่เพียงผ่านครูพละผู้จบการศึกษาเหมือนแต่เดิม  จึงนำมาสู่คำถามว่า
องค์ความรู้แบบไหน ที่จะเป็นประโยชน์ที่แท้จริง ในบริบทปัจจุบัน

ผมทำงานอยู่ สสส. จึงอยากเสนอมุมมองจากการสร้างเสริมสุขภาพเป็นหลัก
ปัญหาปัจจุบันคือ คนไม่ค่อยออกกำลังกาย  ซึ่งเป็นเรื่องเชิงพฤติกรรมและ
วัฒนธรรม ผมไม่แน่ใจว่าจะอยู่ในขอบเขตการวิจัยวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือไม่
แต่ที่แน่ๆ เราต้องการความรู้ว่า ทำไมคนไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือทำไมคน
บางคนจึงออกกำลังกาย  การออกกำลังกายแบบไหนมีประโยชน์ที่สุดสำหรับ
คนกลุ่มใด  และถ้าได้ตัวเลขออกมาชัดๆ ว่าการออกกำลังกายแบบนี้ๆ จะทำให้
อายุยืนขึ้นกี่ชั่วโมง กี่นาที  ลดอัตราการเกิดโรคนี้ๆ ได้กี่ %  ก็จะเป็นประโยชน์
อย่างยิ่ง ต่องานโฆษณารณรงค์ด้านการออกกำลังกาย ของกระทรวง
สาธารณสุข และ สสส.

ในแง่จัดการความรู้ ให้มุมมองใหม่กับองค์ความรู้ว่า ความรู้มีอยู่ในผู้ปฏิบัติ
อยู่แล้ว  เราไม่จำเป็นต้องตั้งโจทย์วิจัยแบบลอยๆ  เราสามารถเข้าไปศึกษาดู
ว่าใครบ้างที่ออกกำลัง เขาทำอย่างไร ประสบความสำเร็จอย่างไร เมื่อศึกษา
ได้ตัวอย่างที่ดี (best practise) แล้วก็นำไปขยายผลต่อได้ในทันที
ขณะเดียวกันก็มาวิเคราะห์ประเด็นย่อยๆ ของเรื่องนั้น ทำเป็นงานวิัจัยเต็มรูป
แม้ยังทำวิจัยไม่เสร็จ แต่ตัวอย่างที่ดีก็นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  ผมถือว่า
นี้เป็นคุณูปการจากมุมมองของการจัดการความรู้


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย