ขับเคลื่อน PLC ณ โรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม (๔) : ข้อเสนอต่อโรงเรียน และ AAR


 
ผมไม่ยอมปล่อยโอกาสสำคัญ ที่จะได้ช่วย สะท้อน (Reflection) แบบจริงใจ ตรงไปตรงมา ให้กับโรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง ต่อไปนี้เป็นข้อวิพากษ์และข้อเสนอแนะ ที่ได้มอบไว้ให้โรงเรียน
 
ข้อชื่นชมและวิพากษ์ 
  • นักเรียนที่นี่สุภาพ เรียบร้อย มารยาทดี มีจิตอาสา กล้าพูด กล้าคุย ยิ้มแย้ม แจ่มใส ... ขอให้รักษาลักษณะที่ดีนี้ต่อไปครับ 
  • ดูเหมือนกิจกรรมน่าเสาธง จะยังคงอยู่ในขั้น "พิธีการ" แนะนำให้ทำ "PLC วงใน" เพื่อหาวิธีการให้ถึงขั้น "พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์" เข้าถึง "คุณค่า ความหมาย" ของแต่ละกิจกรรมที่ทำ .... 
  • การทำโครงงานของนักเรียน ควรพัฒนากระบวนการให้ได้เรียนรู้แบบรู้จริงมากขึ้น คือ เน้นโครงงานบนฐานปัญหาจริงที่มีคุณค่า (PBL)  ครูต้องเป็นโค๊ช ตั้งคำถามเพื่อแนะให้เข้าถึง "คุณค่า และความหมาย" สนใจในรายละเอียด เช่น  "ทำไมพระพุทธรูปที่พวกเขามาทำความสะอาด ต้องหันหน้าเข้าหาโรงเรียน" (คำถามที่ไม่ได้รับคำตอบจากเด็กๆ ...ผมเข้าใจว่า เราจัดให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่เผอิญโรงเรียนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก...ผิดถูกอย่างไร ต้องให้ครูผู้ใหญ่เฉลย....)
  • ฯลฯ
 
 
 
ข้อเสนอแนะ
 
ผมนำบัญญัติ ๗ ประการ ที่ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เสนอไว้ในหนังสือ "วิธีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑" มาเสนอให้นำไปพิจารณา โดยเพิ่มอีกหนึ่งข้อเพื่อเน้น  เพื่อให้เห็นผลและเรียนรู้จากการเรียนรู้ของตนเองชัดขึ้น ดังนี้
 
๑) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการ ให้เอื้อต่อการทำงานแบบ PLC โดยเอื้อให้สามารถทำทั้งหมดภายในเวลางานปกติ และ ทำ "วิสัยทัศน์ร่วม" 
 
๒) ระดมสรรพกำลังที่มี สนับสนุน ช่วยเหลือให้ PLC ดำเนินการได้อย่างสะดวก
 
๓) ครูเปลี่ยนบทบาท ๓ ประการ คือ ใช้จิตวิยาเชิงบวก เน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหา และทำงานเป็นทีม (สอนเป็นทีม นักเรียนเรียนเป็นทีม)
 
๔) ใช้ PLC กำหนดเป้าหมายรายทาง และหาวิธีประเมินผลสำเร็จนั้นๆ ตั้งคำถามให้ถูกต้อง  ๔ ประการ คือ 
  • ต้องการให้เกิดความรู้หรือทักษะอะไร 
  • จะรู้ได้อย่างไรว่าความรู้หรือทักษะนั้นเกิดแล้ว
  • เกิดกับนักเรียนเรียนดี จะทำอย่างไร
  • หากไม่เกิดกับนักเรียนเรียนอ่อน จะทำอย่างไร
๕) เฉลิมฉลองความสำเร็จเล็กๆ  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่อเนื่อง
 
๖) จัดให้มีการ สะท้อนบทเรียน (Reflection) ถอดบทเรียน และการสะท้อนผลกลับ (feedback) อย่างเหมาะสม
 


๗) ทำตนเป็นตัวอย่างที่มีคุณค่า

๘) เผชิญหน้ากับครูผู้ต่อต้าน รักษาความเป็นธรรมสำหรับผู้ทำกรรมดี


ผมเล่าเรื่อง ทฤษฎีการสั่งสม ให้ครูฟัง ผมเชื่อแบบนั้นจริงๆ และเชื่อมมั่นด้วยว่า หากนำไปทำจริง จะเกิดผลจริงกับนักเรียนแน่นอนครับ

ผม AAR ว่า ผมบรรลุทุกความคาดหวัง และสิ่งที่เกิดคาดคือ เกิด "พลัง" ที่จะเข้าไปช่วยท่านอาจารย์พิสิฐ นาครำไพ ซึ่งผมยังเคารพท่านด้วยใจตลอดมา ในการพัฒนาโรงเรียนนี้ต่อไป ....

 
หมายเลขบันทึก: 563968เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 04:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท