การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Citizenship Education - DCE)

     คือการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพลเมืองให้สามารถใช้ชีวิต ความคิด และพฤติกรรมที่จะอยู่ภายใต้ระบบประชาธิปไตย ซึ่งระบบประชาธิปไตยนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ดังที่มีคำกล่าวที่ว่า "มนุษย์ไม่มียีนประชาธิปไตยในตัวเอง" จำเป็นต้องสร้างขึ้นในตัวมนุษย์ด้วยการให้การศึกษา และโดยเหตุที่ประชาธิปไตยนั้นเป็นทั้งอุดมการณ์ เป็นระบอบการปกครอง และเป็นวิถีชีวิต การที่จะให้คนได้อยู่กับทั้ง 3 สิ่งที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นหน้าที่รัฐจะได้จัดระบบการศึกษาให้แก่คนในรัฐ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความศรัทธา ให้อยู่ในการใช้ชีวิตและการงาน เพื่อสนับสนุนระบอบการปกครองให้เกิดเสถียรภาพและสังคมมีความมั่นคง

ระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจและเป็นที่ยอมรับในความหมาย พอสรุปได้ว่า

* เป็นระบอบที่พลเมืองมีอำนาจในการกำหนดและตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ เพราะเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน การเมืองจึงเป็นเรื่องของกิจสาธารณะ

* เป็นระบอบที่ให้เสรีภาพบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ (Freedom Based on Responsibility) ในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่อประโยชน์ของส่วนรวม

* เป็นระบอบที่ให้ความเท่าเทียมกันของพลเมืองในการตัดสินใจในเรื่องสาธารณะ เช่น การเลือกตั้ง ทั้งนี้ รวมถึงความเสมอภาคในการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ภายใต้กฎหมายที่ชอบธรรม ที่เป็นที่ยอมรับของพลเมือง

* เป็นระบอบที่เชื่อในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่จะสามารถพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

      ดังนั้นการสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงต้องเตรียมตั้งแต่เด็กตลอดไปจนเป็นผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่อง การออกแบบการจัดการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และฝึกความคุ้นชิน และส่งเสริมความคิด พฤติกรรม ที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยจากเรื่องง่ายใกล้ตัวในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน กระทั่งการมีภูมิรู้ในเรื่องการตัดสินใจในทางการเมืองในระดับประเทศ การเตรียมการดังกล่าว อยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญร่วมกัน จนเกิดเป็นทักษะที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันในพหุสังคม ซึ่งการจัดการศึกษาลักษณะนี้ จึงมุ่งให้อิสระในการใช้ความคิด การมีเหตุผล และอดทน อดกลั้นต่อความคิดที่แตกต่าง โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ โดยปราศจากการครอบงำและการชี้นำใด ๆ อันเป็นลักษณะตรงข้ามกับสังคมเผด็จการ

 

Ref.: การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

หมายเลขบันทึก: 563801เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2014 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2014 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท