"คุณมีคุณธรรมอย่างไร (๑)"


                                        

                                                                  pic. from  www.tnews.co.th

            ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา เราได้ยินคำว่า "ธรรมาภิบาล" (Good govermance) กันทั่วโลก ที่เกิดวิกฤติการพัฒนาในแถบแอฟริกาในปี 1989 (๒๕๓๒) ส่วนในไทยฮือฮาหรือบ้ากันในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เห็นผลลัพธ์จากการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด ที่ไร้จริยธรรมในองค์กรของประเทศ (รัฐ) จึงทำให้ระบบโครงสร้างบริหาร ขาดความสุจริตและจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ในองค์กรเอกชนตามมา 

           จึงทำให้สภาพัฒน์ต้องวางแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (ปัจจุบัน) ด้วยหลักธรรมาภิบาลเอาไว้เป็นคาถากันโกง นั่นคือ นำเอา "หลักเศรษฐกิจพอเพียง" ของในหลวงเป็นป้ายคัดเอ้าท์ เพื่อให้องค์กรหรือผู้นำประเทศได้มองเห็น แต่ผู้นำและองค์กรใหญ่ๆ กลับตาบอดสีครับ

           ผลลัพธ์คือ ประเทศกลายเป็นกระบือเน่าใน ที่ถูกหนอนชอนไช กัดแทะเครื่องใน จนหมดสิ้น เหลือแต่กระดูกและหนัง ที่ทำให้คนอื่นมองเห็นว่า เป็นเค้าโครงกระบืออยู่ อีกอย่างบรรดาหนอนต่างๆ กลับมีอิสระเสรีจนเกินไป กัดกันเองก็มี เพราะเนื้อหมด เลยต้องหาทางกัดแย่งกัน โดยไม่สนในกติกาเผ่าหนอน ว่าจะเสียภาพพจน์

            แผนที่วางไว้กลับไม่ได้ใช้ในชุมชนคนเมือง เพราะไม่สอดคล้องกับกิเลสนโยบาย มีแต่การหาทางแย่งชิง เอาผลประโยชน์ตน ขาดมรดกน้ำใจต่อกัน จึงนำไปสู่การขัดแย้งเชิงนโยบายทั้งรัฐและเอกชน ประกอบกับการปกครองบ้านเมืองถูกกลุ่มกฎุมพี บริหารบ้านเมืองแบบธุรกิจ จนสรา้งความแตกแยกในประเทศในที่สุด

            ผลที่วางไว้และหลักการที่ในหลวงเสนอ กลับถูกพัฒนาโดยชาวบ้านรากหญ้า ที่ทำมาหากินในที่ของตนแบบผสมผสาน จนกลายเป็นผลผลิตที่เลี้ยงตนเองรอดและปลอดสารพิษ ต่อมารัฐมาชุบมือเปิบนัยว่า สร้างทุนให้เกิดมูลค่า สินค้าชาวบ้านกลายเป็นสินค้าส่งออกนอกเรียกว่า "โอถอบ" (Otop) จนหมู่บ้านลืมตาอ้าปากได้ แต่นั้นก็ยังไม่สิ้นในวังวนผลการแสวงหาเงิน มิใช่หมุดหมายปลายทางชีวิตจริงๆ

           ทุกวันนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจไปแบบไร้ทิศทางเอกภาพ และผู้คนก็แตกแยกกัน เด็กและเยาวชนถูกหล่อหลอมด้วยเทคโนโลยี เครื่องมือสื่อสาร (พิษ) ขาดการสำนึกของคนในประเทศ เห็นแก่ตัวเอง ตัวใครตัวมัน เกิดกระแสนวยุค ที่ส่งเสริมให้ปัจเจกบุคคลมีอิสระ มีเสรีภาพต่อตนเอง ยิ่งก่อให้เกิดการดื้อต่อรัฐ เกิดการขัดขืนต่อกันมากขึ้น ประท้วง เดินกระบวน ฯ จนกฏหมาย ศีลธรรม จริยธรรม กลายเป็นอุปสรรคต่อคำว่า "เสรีภาพ" ไป

            ผลที่ประเทศจะได้รับต่อไปนี้คือ

            ๑) ผู้นำจะถูกท้าทาย ด้วยคำว่า เสรีภาพ การเข้าถึงข้อมูล การบริหาร การทำงาน มากขึ้น เช่น จากฝ่านแค้นเอ๊ยค้าน ประชาชน องค์กรต่างๆ ฯ

            ๒) ผู้คนจะไม่เกรงกลัวกฏหมาย บ้านเมือง รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ด้วย เกิดการท้าทายอย่างแรง เช่น ภาคใต้ เด็ก เยาวชน คนทั่วไป ต่างแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแรงขึ้น

            ๓) จะเกิดการทุจริต การคดโกง การหลอกลวง การแย่งกัน ไม่ว่าญาติพี่น้องหรือคนทั่วไป เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน คนทำงาน เด็ก เยาวชน ฯ

            ๔) หลักคุณธรรม จริยธรรม สีลธรรม จรรยาบรรณ จะกลายเป็นแค่อุดมคติที่สวยหรูดูน่าเชื่อถือเท่านั้น เพราะไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปจัดการเรื่องนามธรรมนี้จริงๆ แม้แต่องค์กรศาสนาเองก็จะถูกท้าทายด้วยคำว่า ช้าไปหรือแก่งอมไปแล้ว

            ๕) หลักขั้นพื้นฐานด้านสังคมที่ดีงาม จะถูกล้มล้างจากสมองของเด็กยุคใหม่ วัฒนธรรมจะค่อยๆสูญหายไป จะมีวัฒนธรรมต่างชาติมาสิงสถิตย์จิตใจเด็ก ที่เหลือไว้เป็นที่รกตาเด็กๆคือ คนแก่ คนเก่า ที่อนุรักษ์นิยมอยู่

            ๖) น้ำใจ ไมตรี และคำว่า ไทยแลนด์ แดนแห่งรอยยิ้ม จะกลายเป็นเมืองแห่งรอยยักษ์ ที่ขุ่นขลักไปด้วยน้ำพิษ ที่พ่นใส่กันทุกวันๆ รวมไปถึงรอยยิ้ม ที่จะทิ่มแทงต่างชาติ เมื่อเงินเขาหมดเกลี้ยง

            ๗) คนไทยจะกลายเป็นเครื่องมือของต่างชาติ (บรรษัท) ที่มาลงทุน ล้างสมองไทยว่า ลงทุนต่ำ แต่ค่าแรงสูง ประเทศมั่งคั่ง เศรษฐกิจเติบโต ค่าครองชีพสูง คุณภาพชีวิตดีขึ้น (เมรู) ผลคือ รถมาก โรคมาก ปัญหาสุขภาพมากมาย สารพิษจากโรงงาน คนในเมืองถูกบีบคั้นมากขึ้น

            ๘) ทรัพยากรธรรมชาติ จะถูกทำลาย เพื่อประโยชน์ของคนบางส่วน ผลคือ ฝนมาก แล้งมาก ร้อนมาก หนาวมาก น้ำน้อย น้ำเค็ม ปลาไม่มี ป่าไม่มี ที่เที่ยวลดลง สัตว์ลดลง ทุกอย่างจะค่อยๆดรอบลง เพราะทุกอย่าง กระเทือนถึงกันหมด แม้แต่เราคิด จักรวาลยังตอบสนอง

            ๙) ผลที่น่ากลัวไปทุกแห่งคือ อาชญากรรม โจร ผู้ร้าย จะมาในทุกคราบ ชีวิตเราจึงเข้าสู่ภาวะเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตทุกๆที่ ไม่เว้นแม้อยู่ในบ้าน ยิ่งร้ายกว่านั้นคือ พ่อแม่ หรือลูกๆ หรือญาติ นั่นแหละคือ จะเกิดการผ่าเหล่า จะกลายเป็นผู้ร้าย ฆ่า ข่มเหง ทำร้ายกัน อยู่เสมอทั่วประเทศ

            ๑๐) เด็ก และเยาวชน จะกลายเป็นเหยื่อระยะสั้นและระยะยาว กลุ่มนี้น่าเป็นห่วง เพราะว่า นี่คือ พลเมืองที่จะเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งสองทางที่จะมองเห็นคือ เด็กที่สมองสากล แต่ขาดคุณธรรมนำพา และเด็กสมองไม่พัฒนา มัวแต่เสพบริโภค จะขาดศักยภาพในการพัฒนาตนและชาติ

             ดูเหมือนว่า เราจะไม่ปลอดภัยซะแล้ว..คงต้องทำใจยอมรับโชคชะตากรรมร่วมกัน เพราะนี่คือ รัศมีขอบเขตนิสัยคนไทย  เราก็หวังแต่ว่า คนดี คนมีจิตบริสุทธิ์ จิตเมตตาที่มั่นคง จะมีอยู่และดำรงอยู่ในสังคมเรา ให้เป็นแบบอย่างหรือต้นแบบของสังคมที่ดีต่อไป

 

             ว่าจะพูดเรื่อง "ธรรมาภิบาล"  กลับได้เรื่องปัญหาสาเหตุสังคมไทยไปนั่น  เอาเป็นว่า สาวหาเหตุก่อนละกันว่า จะต้องอาศัยหลักธรรมภิบาลกันเพราะอะไร เอาไว้บันทึกที่น่าจารึกครั้งต่อไปครับผม

----------------------<๑๒-๒-๕๗>-----------------------

คำสำคัญ (Tags): #คุณ#ทำ
หมายเลขบันทึก: 563738เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2014 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2014 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่สรุปได้เลยว่า...คนทำความดี "เหนื่อย" + "หนัก" ค่ะ งานนี้...ไหวหรือไม่ไหวก็ไม่รู้...ก็จะพยายามทำแต่มันเป็นอย่างที่คุณ ส. เขียนไว้จริง ๆ ค่ะ ตอนนี้...ขอบคุณที่เขียนให้พี่คิดค่ะ...

...คงเป็นคนแก่คนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ให้เกะกะรกลูกตาพวกเด็กๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ จะรออ่านครั้งต่อไปค่ะ ^_^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท