ยาลดกรดกระเพาะ เพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน?


องค์การอาหารและยาของสหรัฐออกคำเตือน การใช้ยาลดกรด PPI ระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน..แม้หลักฐานยังเป็นที่ถกเถียง แต่ข้อเตือนใจหนึ่ง คือ ผู้สูงอายุ ควรทราบเหตุผลการทานยาแต่ละชนิด เพราะมากยาก็มากความคะ

 หลายท่านอาจคุ้นเคยดีกับ ยาลดกรดที่เม็ดแคปซูล เป็นแผง

ยี่ห้อที่มีการจ่ายบ่อยที่สุดในบ้านเรา น่าจะเป็น "Miracid®" (ชื่อสามัญ Omeprazole)
เนื่องจากอยู่ในบัญชียาหลัก
ยา Omeprazole ออกฤทธิ์ผ่านกลไก Proton Pump Inhibitor (PPI)
ยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไก PPI นี้ ยังมีอีกหลายตัว ซึ่งจะลงท้ายด้วย -prazole คะ
ยาที่ใช้บ่อยพอควร อีกกลุ่มที่ผ่านกลไก Histamine-2 inhibitor คือ Ranitidine®
ซึ่งมีฤทธิื์ลดกรดน้อยกว่า

ยา PPI จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยดี
นอกจากการให้ เมื่อมีอาการกระเพาะอาหารแล้ว
ยังนิยมให้ควบคู่กับยาที่ 'เสี่ยง' ต่อการกัดกระเพาะ
อย่าง ยา NSAIDs (เช่น Diclofenac) และ Aspirin

ปัจจุบัน การใช้ยา PPI ต่อเนื่องยาวนาน แบบเดียวกับยาความดัน เบาหวาน พบมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งเจตนา คือ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือด ที่ทานยา Aspirin
(ผู้ป่วยมักเรียก Aspirin ว่ายาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจริงๆ มันไม่มีฤทธิ์ 'ละลาย' แต่มีฤทธิ์ 'ป้องกัน' ลิ่มเลือดคะ)

และไม่เจตนา
เช่น ผู้เขียน เคยพบผู้สูงอายุทานยา PPI โดยตัวผู้ป่วยเองไม่ทราบว่าทานเพื่ออะไร
เมื่อแพทย์สั่งให้ทาน ก็ทานตามนั้น และซื้อยาทานเองต่อไปเรื่อยๆ
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยรายหนึ่งปวดเข่า แพทย์สั่ง Diclofenac พร้อมกับ Miracid (เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร)
หลังจากหายปวดเข่า ผู้ป่วยหยุด Diclofenac เพราะจำแม่นว่าเป็นยาแก้ปวด
แต่ยังคงทาน Miracid ต่อเรื่อยๆ เพราะคิดว่าเป็นยาป้องกันปวดเข่า

 

 

 

ภาพ: ยา Omeprazole ที่เราคุ้นเคยกันดี

คำถามที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้คือ การทานยา Omeprazole ติดต่อกันนานๆ มีผลเสียหรือไม่?

เร็วๆ นี้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐออกคำเตือน การใช้ยาลดกรด PPI ระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน

 ภาพ: ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ งานประชุมวิชาการสมาคมประสาทวิทยา 4-7 มีนาคม 2557

โดยหลักฐานสำคัญมาจากการติดตาม ผู้ป่วยชาวแคนาดาจำนวนมาก (1)
พบว่าผู้ที่ทานยา Omeprazole มีอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ทาน ประมาณ 1.4 เท่า 
หรือแปลอีกอย่างว่า ถ้า โอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนที่ข้อมือ ในหญิงอายุ 75 ปีทั่วๆ ไป คือ 1 ใน 100
ถ้าหญิงคนนี้ ทานยา Omeprazole ต่อเนื่องยาวนาน โอกาสเกิดกระดูกพรุนที่ข้อมือก็เพิ่มเป็น 1.4 ใน 100
สำหรับ กลไกที่ PPI ทำให้เกิดกระดูกพรุนยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่า เกิดจากลดการดูดซึม Calcium จากอาหาร

อย่างไรก็ตามมีหลักฐานขัดแย้ง ว่า PPI ไม่มีผลต่อมวลกระดูก (2)
แต่หลักฐานนี้ เป็นการดูแลข้อมูลย้อนหลัง ความน่าเชื่อถือจึงเป็นรอง 

จาก http://www.iofbonehealth.org/epidemiology

ภาพโอกาสเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุนในประชากรทั่วไป จาก http://www.iofbonehealth.org/epidemiology

 

ความเห็นข้าพเจ้าต่อข้อมูลนี้..
เมื่อดูตัวเลขความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อาจไม่มากมายนัก
นอกจากนี้ เหตุที่ PPI เพิ่มกระดูกพรุน ก็อาจป้องกันได้ด้วยการทาน Calcium เพิ่ม
(อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่า การทาน Calcium เสริม 'อาจ' เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจอีก..มีนๆๆ)
โดยสรุป
แม้หลักฐานยังเป็นที่ถกเถียง แต่ข้อเตือนใจหนึ่ง คือ
ผู้สูงอายุ ควรทราบเหตุผลการทานยาแต่ละชนิด เพราะมากยาก็มากความคะ 

 

แหล่งอ้างอิง

1) The effect of proton pump inhibitors on fracture risk: report from the Canadian Multicenter Osteoporosis Study.Osteoporosis International.2013; 1161-1168

2) The relationship between proton pump inhibitor use and longitudinal change in bone mineral density: a population-based study [corrected] from the Canadian Multicentre Osteoporosis Study (CaMos) Am J Gastroenterol:1361-9

หมายเลขบันทึก: 563525เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2014 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2014 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

คุณหมอ ป. ... สบายดีไหมครับ?

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูล "ยาลดกรดกระเพาะ เพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน" และหลักคิดที่อาจารย์หมอ ป. แนะนำว่า "ผู้สูงอายุ ควรทราบเหตุผลการทานยาแต่ละชนิด เพราะมากยาก็มากความ"

ปกติแล้ว ไอดินฯ จะเป็นคนสุขภาพดี ที่ผ่านมาหลักๆ ที่ไป รพ. ก็คือไปคลอด 2 ครั้ง ไปครั้งที่ 3 อาการเครียดทางใจออกทางร่างกาย ทำให้มีอาการชาที่ลำตัว (หมอวินิจฉัย) หลังแม่และสามีเสียห่างกันไม่ถึง 3 เดือนและต้องรับผิดชอบครอบครัวของน้องชายซึ่งมีภรรยาและลูกอีก 3 คนที่มีแต่ตัว ครั้งที่ 4 ร่างกายน็อคเพราทำงานหนัก ครั้งที่ 5 งูกัด ครั้งที่ 6 แตนทั้งรังต่อยจนบวมไปทั้งตัว ปากเขียว นอกนั้นก็คือ ไปตรวจสุขภาพ, ค่ะ

แต่จากเดือนธันวาคม 2555 ต้องรักษาอาการโรคกระเพาะอยู่ 3 เดือน เพราะภาคเรียนสุดท้ายก่อนเกษียณ ทำงานหนักมากนอนคืนละ 3-4 ชม.เพื่อติดตามลูกศิษย์ทางออนไลน์รายบุคคล 114 คน และทุกวันจันทร์ทานข้าวเที่ยงควบเย็นตอนห้าโมงเย็น ยา Omeprazole เป็น 1 ใน 4 ชนิดที่หมอสั่งให้ค่ะ หลัง 3 เดือนก็หายและไม่ต้องพบหมออีก จนเมื่อคืน มีอาการปวดท้องจุกเสียดมากแบบที่เคยเป็น เลยต้องทานขมิ้นชันแค็บซูลที่เหลืออยู่ ไป 2 แค็ปซูล อาการก็หายไปค่ะ (ไม่ทราบยาหมดอายุหรือเปล่านะคะ เพราะไม่มีข้อมูลบอกไว้)

ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์หมอ ป. ใน GotoKnow นานมากเหมือนกันนะคะ หวังว่าอาจารย์หมอหมอและครอบครัวคงสบายดี ...ยังชอบทานข้าวเหนียวกับปิ้งปลาดุกเหมือนเดิมหรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้เรื่องยา

ขอบคุณมากครับคุณหมอ

เรื่องยา เป็นเรื่องที่ต้องระวังนะคะ คนสูงอายุส่วนมากติดยา...หายแล้วก็ยังมีความเชื่อว่าต้องกิน ...ซ้ำบางคนติดหมอที่รักษาอีกด้วยนะคะ

" การทาน Calcium เสริม 'อาจ' เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจอีก "

จะจริงหรือไม่ค่ะ แล้วที่ทานกันอยู่จะมีความเสี่ยงหรือเปล่าค่ะ

หรือแแล้วแต่บางผู้ผลิตแล้วเราจะทราบได้อย่างไร ?

ขอบคุณมากนะคะ จะระวังมากๆค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์เงา เตรียมไม่สบายกาย แต่รู้สึกสบายใจที่จะได้ใช้ชีวิตคะ ;)

ขอบคุณที่ถามทุกข์สุขกันนะคะ หวังว่าอาจารย์คงสบาายดีนะคะ

ต้องลองวิเคราะห์แล้วครับอาจารย์หมอ จ่ายให้คนไข้อย่างเดียว...ขอบคุณมากครับ

สวัสดีคะอาจารย์ไอดิน ขออภัยที่ขาดปฎิสัมพันธ์กับ gotoknow เป็นช่วงๆ คะ

ขมิ้นชันก็ใช้ได้ผลดีมาก เป็นอีกทางเลือกแทนยา หากอาการไม่มาก และปรับพฤติกรรมได้ดีแบบอาจารย์คะ

(ปลาดุก ปลาทู ยังเป็นของโปรดเหมือนเดิม รวมถึงมื้อเย็นวันนี้ด้วยคะ :)

ดีใจมากๆเลยที่ได้พบกำลังใจจากคุณหมอ ป. สบายดีไหมครับ เห็นหายเงียบไป ขอบคุณมากครับผม

ตอนกินยาลดกรดไม่ค่อยได้คิดครับ

แต่ตอนนี้จะระวัง

กำลังปลูกคะน้า

ผักกวางตุ้ง

ให้นักเรียนกินป้องกันโรคกระดูกพรุนครับ

คุณหมอ ป. ค่ะ ทางชมรมรักษ์กระดูกติดต่อขอที่อยู่ไปแล้วยังคะ จะส่งของรางวัลไปให้ค่ะ

ขอบคุณคะ อาจารย์ได้เมล์แจ้งอาจารย์วันนี้แล้วคะ

ต้นไม้ดอกไม้รากไม้เป็นยาดีมีผลข้างเคียงน้อยกว่า..ยาวิทยาศาตร์...และมีมาแต่โบราณ..เสียดายที่เรามานิยม..เคมี..จนสิ่งๆเดิมๆถูกลบเลือนให้หายไปจาก..สภาวะปัจจุบัน...นะเจ้าคะ..ขอบพระคุณที่แผยแพร่..สิ่งที่มีประโยชน์เจ้าค่ะ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท