นวนิยาย(Novel)


 

 
                                   นวนิยาย(Novel)

ความเป็นมาของนวนิยาย

        คำว่า "นวนิยายเป็นศัพท์ที่ไทยคิดขึ้นมาเองเพื่อใช้เรียกวรรณกรรมประเภทเรื่องสมมุติที่แต่งเป็นร้อยแก้วขนาดยาวตามแบบตะวันตก ซึ่งแต่เดิมคนไทยเรียกว่า เรื่องอ่านเล่น หรือเรื่องประโลมโลก  ตรงกับคำว่า Novel ในภาษาอังกฤษ หรือ Novella ในภาษาอิตาเลียน มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาตินว่า Novellus
     สำหรับเมืองไทยนั้นคำว่านวนิยายนั้นเริ่มขึ้นในสมัย ร.5 ตอนปลาย หลังการปรากฏตัวของเรื่องสั้นเล็กน้อย ในสมัยนั้นนวนิยายออกมาในลักษณะเรื่องแปลพิมพ์เป็นเล่มเรื่องแรก คือ ความพยาบาท ซึ่งแปลโดย แม่วัน (พระยาสุรินทราชา)  พอเรื่องพยาบาทแพร่หลาย คนไทยหันมานิยมอ่านเรื่องแปลมากขึ้นจึงเกิดนักแปลขึ้นมาอีก เช่นเรื่อง  "ขุมทรัพย์" และ"เรื่องสาวสองพันปี" แปลโดย นกโนรี หรือ หลวงวิลาสปริวัตร  เป็นต้น ซึ่งนวนิยายต่างๆเหล่านี้ถือเป็นนวนิยายยุคแรกในไทยและไทยก็นำมาจากตะวันตกทั้งสิ้น
     นวนิยายเรื่องแรกในไทยนั้นยังเกิดการถกเถียงกันว่า เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ของร.6 หรือเรื่อง ความไม่พยาบาท ของนกโนรี  และด้วยกระแสนิยมงานแปล สมัยเริ่มแรกจึงมีการแต่งนิยายที่อ้างชื่อตัวละครเป็นชื่อชาวต่างชาติเพื่อหลอกคนอ่านให้เชื่อว่าเป็นนิยายแปล
     ปัจจุบันนวนิยายไทยนั้น มีทั้งเป็นนวนิยายแปล และนวนิยายที่คนไทยเราแต่งขึ้นมาเอง นอกจากการแต่งนวนิยายไว้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว นวนิยายยังถูกนำไปสร้างเป็น ภาพยนต์ บทละคร และละครโทรทัศน์ อีกด้วย ทำให้นวนิยายแพร่หลายออกไปอีกมาก และเพราะเกิดความหลากหลายทางวรรณกรรมนั่นเองทำให้วรรณกรรมแนวนวนิยายนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายตามไปด้วย ขนาดที่ความเจริญก้าวหน้าของวรรณกรรมยุคปัจจุบันดำเนินไป นวนิยายในยุคเก่าก็ยังถูกสนใจและถูกศึกษาอยู่ตลอด กลายเป็นประวัติศาสตร์ ทางวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า
 
 องค์ประกอบของนวนิยาย
     1.แก่นเรื่อง คือแนวคิดสำคัญของเรื่องที่ผู้แต่งมุ่งจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ แต่เนื่องจากว่านวนิยายเป็นเรื่องยาวจึงมีจุดที่ให้แง่คิด และแนวคิดหลายจุด  แนวคิดในนวนิยายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แนวคิดเอก(Major theme) และแนวคิดรอง(Minor theme)
 
     2.โครงเรื่อง ประกอบด้วยปัญหาข้อขัดแย้งด้านพฤติกรรม ด้านเหตุการณ์ หรือด้านอารมณ์ของตัวละคร เพื่อทำให้ผู้อ่านสนใจอยากรู้คำเฉลยในตอนจบ ซึ่งโครงเรื่องของนวนิยายจะมีความซับซ้อน เพราะนวนิยายมีโครงเรื่องย่อยๆ(Sub Plot) แทรกอยู่ในโครงเรื่องหลัก(Main Plot) ที่นวนิยายต้องมีทั้งโครงเรื่องย่อยๆ และโครงเรื่องหลักนั้นเพราะนวนิยายต้องใช้เหตุการณ์หลายเหตุ และเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ต้องเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
  
     3.ตัวละคร คือผู้ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดงพฤตกิกรรมต่างๆในเรื่อง ตัวละครจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของนวนิยาย ตัวละคระประกอบด้วย 1)ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นศูนย์กลางของเรื่อง อาจมีทั้งหญิงหรือชาย หรือเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   2)ตัวละครประกอบ มีส่วนช่วยให้เหตุการณ์ต่างๆให้เรื่องดำเนินไปด้วยดี สำหรับลักษณะนิสัยของตัวละครนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือตัวละครประเภทตัวแบน(Flat Character)เป็นตัวละครที่แสดงนิสัยเพียงด้านเดียว อาจมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีปนกันไป เช่นหากเป็นคนเลวก็เลวไปเลยไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง เราเรียกอีแบบว่าตัวละครแบบ(type character) และตัวประเภทตัวกลม(round chacacter) เป็นตัวละครที่ผู้แต่งสร้างให้เป็นตัวละครหลายอย่าง อาจมีด้านดี และด้านไม่ดีปนกันไป ซึ่งมีอารมณ์และความรู้สึกที่เปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อม ตัวละครตัวกลมจึงดูเหมือนชีวติจริงมากกว่า 
 
      4.บทสนทนา คือคำพูดที่ตัวละครใช้โต้ตอบกันในเรื่อง บทละครที่ดีต้องเหมาะสมกับบุคลิกของตัวละคร สอดคล้องกับบรรยากาศ และมีลักษณะสมจริง
 
      5.ฉาก หมายถึงเวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านได้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ใหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร
 
      6.บรรยากาศ คือรายละเอียดต่างๆ ที่ผู้แต่งสร้างขึ้นในงานเขียนเพื่อก่อให้เกิดอารมณ์อย่างไดอย่างหนึ่ง และมีส่วนทไห้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละคร เช่น บรรยากาศที่สงบเงียบ บริสุทธิ์ของคนในสังคมชนบท
         
วิธีการอ่านและประเมินค่านวนิยาย
 
         วิธีการอ่านและประเมินค่านั้น ใช้วิธีเดียวกับการประเมินค่าวรรณกรรมแนวบันเทิงคดี
ซึ่งการอ่านและประเมินค่านั้นสามารถทำใด้ดังนี้
     1.วิเคราะห์รูปแบบของนวนิยาย
     2.วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการแต่ง
     3.วิเคราะห์เนื้อเรื่อง 
     4.วิเคราะห์ศิลปะการแต่ง   
     5.วิเคราะห์คุณค่าของนวนิยาย
 
คำสำคัญ (Tags): #นวนิยาย(Novel)
หมายเลขบันทึก: 562529เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจนะคะ...ที่นี่คนมีเวลาอยู่บ้าน ...มีเวลาอ่านหนังสือ...จึงมีนักเขียนจำนวนมาก...คนอ่านก็มีมากเช่นกันค่ะ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท