ชื่นชม มพ. จัดหลักสูตรผลิตครูแบบใหม่


 

          ในงานพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๓   ตอนงานเลี้ยงรับรองตอนค่ำ ผมนั่งรับประทานและชมการแสดงร่วมกับ ท่านอธิการบดี ม. พะเยา  ศ. (พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี ที่ลานหน้าอาคารหอประชุมพญางำเมือง

          ผมถามท่านว่า ทำไมหน่วยงานด้านศึกษาศาสตร์จึงเป็นวิทยาลัย ไม่เป็นคณะ    เพราะผมสังเกตว่า เขาเรียก วิทยาลัยการศึกษา    ไม่ใช้ชื่อ คณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ อย่างที่ใช้กันทั่วไป

          ท่านบอกว่า เพราะในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา มพ. ใช้หลักสูตรควบ ๒ ปริญญา (dual degree)    คือเรียน ๕ ปี ได้ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต ควบกับ วท.บ.  หรือ อบ.

          นิสิตในหลักสูตรนี้หากเรียน ๒ สาขาไม่ไหว ต้องเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ หรือสายภาษา    ไม่มีปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิตเดี่ยวๆ

          ผมคิดว่า นี่คือคุณูปการอย่างยิ่งต่อสังคมไทย    โดยผมขอเสนอว่า ต้องเปลี่ยนวิธีเรียนของนิสิต ในหลักสูตรนี้ด้วย    ให้นิสิตคุ้นกับการเรียนแบบ active learning   เพื่อออกไปเป็นครูที่มีทักษะและฉันทะ ในการจัดการเรียนแบบ active learning ให้แก่ศิษย์    โดยผมขอเสนอให้ มพ. จัดการเรียนรู้แบบ flipped classroom ในหลักสูตรนี้ทั้งหมด

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ม.ค. ๕๗

โรงแรม แคนทารี ฮิลล์, เชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 562514เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท