การพัฒนาสมรรถนะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล


“วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มุ่งปกป้องสุขภาพของประชาชนทั้งในภาวะปกติและผิดปกติ โดยการใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ในการจัดให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และประชาชนเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม รวมถึงการตอบสนองนโยบายสุขภาพแห่งชาติ”

สรุปผลการประชุมวิชาการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย

ในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 

เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ

ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชฎา กรุงเทพมหานคร

โดย ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา

 

 

 

บทนำ

วิสัยทัศน์การพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสภาการพยาบาลกำหนดว่า วิชาชีพการพยาบาล กำหนดว่า “วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มุ่งปกป้องสุขภาพของประชาชนทั้งในภาวะปกติและผิดปกติ โดยการใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ในการจัดให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และประชาชนเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม รวมถึงการตอบสนองนโยบายสุขภาพแห่งชาติ” (สภาการพยาบาล)หนึ่งในสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ คือ ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจ ทฤษฎี หลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ศาสนาและวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้บริโภค สิทธิเด็ก สิทธิผู้ป่วย หลักกฎหมายทั่วไป กฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตการปฏิบัติพยาบาลและข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งข้อบังคับของวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง มีจิตสำนึกทางจริยธรรม ตระหนักในคุณค่าความเชื่อของตนเองและผู้อื่น มีความไวต่อประเด็นจริยธรรม และกฎหมาย มีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และประยุกต์สู่การพยาบาลได้อย่างเหมาะสม

 

การสืบสวน สอบสวน พยาบาลที่กระทำผิดคุณธรรม จริยธรรม และกฎหมายในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

                ประเด็นการร้องเรียนของพยาบาล ระหว่าง พ.ศ. 2553-2556 คือ ผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ร้อยละ 47 ผิดมาตรฐานวิชาชีพ ร้อยละ 22 ผิดในเรื่องพฤติกรรมบริการ ร้อยละ 18 ผิดด้วยการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม ร้อยละ 9 ผิดต่อผู้ร่วมงานและผู้ร่วมวิชาชีพ ร้อยละ 7 การกระทำผิดของพยาบาลพบว่ามีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการร้องเรียนและข้อผิดพลาดของการปฏิบัติการพยาบาล ดังนี้(ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล 2557)

  1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการให้บริการสาธารณสุข
  2. อัตรากำลังและอัตราส่วนของผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ต่อผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ต่อผู้ปฏิบัติยังขาดประสบการณ์หรือมีประสบการณ์น้อย
  3. การเร่งผลิตของสถาบันการศึกษา
  4. ศักยภาพและทัศนคติในการพัฒนาองค์ความรู้ของแต่ละบุคคล
  5. ความคาดหวังต่อการบริการของผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น

 กรณีที่มีการร้องเรียนการประทำความผิดของพยาบาล เป็นไปตามข้อบังคับการพยาบาลว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวน พ.ศ.2530 ดังนี้

 

การสืบสวน

 

 

 

 

เพื่อหารายละเอียดแห่งความผิด

 

 

 

 

การสอบสวน

 

รวบรวมพยานหลักฐาน/ดำเนินการอื่นๆ

 

 

 

 

เพื่อทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด

 

 

 

 

 

 

ขอบเขตของการสืบสวน

 

 

 

สืบสวนหาข้อเท็จจริง รายละเอียดของพฤติการณ์

 

 

 

 

 

 

 

การกล่าวหากล่าวโทษมีมูลความผิด

                มาตรา 27 ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจริยธรรมจากสมาชิกสามัญ  สามารถคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนได้ กรณีดังต่อไปนี้

                1. เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะการทำผิด

                2. เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่สอบสวน

                3.มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษ

                4. เป็นคู่สมรสหรือญาติกับผู้ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษ

                ขอบเขตการสอบสวน

                คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่

                1.แจ้ง/รับทราบข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ เมื่อได้รับแจ้งการกล่าวหากล่าวโทษ พยาบาลมีสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา/กล่าวโทษ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการ

กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ

1.แก้ข้อกล่าวหา

อ้างพยาน หลักฐาน

2.ไม่ยอมรับทราบ

ส่งไปรษณีย์ตอบรับ

(หากไม่ส่งกลับภายใน 15 วัน ถือว่ารับทราบ)

3.สารภาพ

ยุติการสอบสวน

                กรณีที่เรียกให้มาให้การต่อคณะกรรมการแล้วไม่มา ถือว่าขัดขวางเจ้าพนักงาน

                2. สอบสวนพยาน

                                2.1 แจ้งเตือนเองการให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ

                                2.2 แจ้งสิทธิเรื่องการให้ถ้อยคำในฐานะพยาน

                                2.3 ระวังเรื่องการล่อลวง ขู่เข็ญ สัญญาจูงใจ

                3.การแจ้ง /รับทราบ ข้อกล่าวหา /กล่าวโทษ และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ภายใน 15 วัน หากไม่ส่งกลับภายใน 15 วันถือว่ารับทราบแล้ว

                4.การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหากล่าวโทษ หากไม่ยอมให้ถ้อยคำ ถือว่าไม่ประสงค์จะแก้ข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ  กรณีไม่เซ็นรับทราบจะเรียกหัวหน้ามาลงนามเป็นพยาน

                5. การชั่งน้ำหนักพยาน หากมติไม่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรกมารสอบสวนทั้งหมด ถือว่าน้ำหนักพยานไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ จึงต้องยุติการสอบสวน

                6.การทำรายงานสอบสวน เป็นการสรุปข้อเท็จจริงและพยานหลีกฐาน วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานทั้งสองฝ่ายและลงความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน

                การกำหนดโทษ โดย

  1. ดูผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้รับบริการและต่อภาพลักษณ์ของวิชาชีพ
  2. การชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
  3. ความร่วมมือในการสอบสวน
  4. จิตสำนึกในการกระทำ เช่น การกระทำผิดซ้ำ
  5. ปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ

 

สมรรถนะพยาบาลที่ต้องพัฒนา

สมรรถนะพยาบาลที่ต้องพัฒนาเพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายจากการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ดังนี้(วารุณี สุรนิวงศ์ 2557)

  1. ต้องมีคุณภาพและความเหมาะสมกับงาน
  2. ต้องมีมาตรฐานวิชาชีพ
  3. เมื่อมีปัญหาต้องนำไปสู่การแก้ไข
  4. มีระบบบริหารความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
  5. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและมีความรู้อย่างต่อเนื่อง
  6. มีระบบการตรวจสอบ กำกับดูแลและประเมินผล

 

บทสรุป

                ดังนั้นพยาบาลควรประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ปฏิบัติตามบทบาท และมาตรฐานวิชาชีพทั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ หากมีประเด็นกฎหมายและจริยธรรมเกิดขึ้นต้องหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็วเพื่อลดปัญหาไม่ให้ลุกลาม รุนแรงต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล 2557 เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง คุณธรรมและกฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ในการประชุมวิชาการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะด้านจรรยาบรรณ จริยธรรม และกฎหมายของพยาบาลวิชาชีพ วันที่ 10-11 โรงแรมดิเอมมเมอรัลด์ รัชดา กรุงเทพฯ

วารุณี สุรนิวงศ์ 2557 เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล : สมรรถนะที่ต้องพัฒนา ในการประชุมวิชาการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะด้านจรรยาบรรณ จริยธรรม และกฎหมายของพยาบาลวิชาชีพ วันที่ 10-11 โรงแรมดิเอมมเมอรัลด์ รัชดา กรุงเทพฯ

สภาการพยาบาล  แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2559)

สภาการพยาบาล พระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2540

หมายเลขบันทึก: 562275เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท