หลุมพรางระบบสมรรถนะที่ 2


สวัสดีครับ มาถึงหลุมพรางที่สองของระบบสมรรถนะ่แล้วครับ คราวที่แล้ว คุยกันไปว่า Competency เป็นของใคร ที่แน่ ๆ Competency เป็นขององค์กรครับ แต่ออกแบบให้เหมาะสมกับภารกิจของแต่ละตำแหน่ง ไม่ใช่ของบุคคลแน่นอนครับ มาคราวนี้ หลุมพรางที่คนมักจะตกหรือติดกับอยู่เป็นประจำคือ ความหมายของ Competency มักจะเข้าใจกันว่าเป็นแค่ความเก่งที่ต้องพัฒนาเท่านั้น แล้วมันใช่หรือไม่ มาดูกันครับ

หลุมพรางที่ 2
นิยาม Competency 
ความหมายของคำว่า Competency หากจะแบ่งกันอย่างหยาบๆ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ British Approach และ American Approach

จะเห็นได้ว่าการทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก Competency อาจหมายถึง Competency ของบุคลากรที่เป็นมาตรฐาน หรือ Competency ของบุคลากรที่เก่งก็ได้ ทั้งสองแนวคิดมีผลต่อการนำไปปฏิบัติที่แตกต่างกัน

ในประเทศไทยเองมีการรับแนวคิด Competency มาตรฐานหรือ British Approach นี้มาใช้ เช่น การกำหนด Competency ตามวิชาชีพต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสภาอุตสาหกรรม ซึ่งการกำหนด Competency เช่นนี้ มีวัตถุประสงค์หลายประการคือ

1. เพื่อให้เกิดการรับรองความสามารถของบุคลากรในวิชาชีพนั้นๆ ไม่ใช่ว่าจบการศึกษาจากสถานศึกษาใดก็จะสรุปว่ามี Competency ตามตั๋ว หรือใบปริญญานั้นๆ คงไม่ได้ 
2. ใช้กำหนดค่าตอบแทนให้กับบุคลากรตาม Competency ช่วยทำให้องค์การสามารถจูงใจบุคลากรที่ดี มีความสามารถทำงานกับองค์กรได้นานๆ และ 
3. ใช้เพื่อการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพนั้นๆ ตามระดับ Competency

Competency ในแนว American Approach มีการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาบุคลากรมากกว่าสิ่งอื่นใด ซึ่งในที่นี้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปในเชิงกลยุทธ์ คือพัฒนาตามแนวทางที่องค์การต้องการเป็น ดังนั้น Competency ในแนวทางนี้จึงเป็น Competency ที่ไม่สามารถลอกเลียนกันได้ แต่ละองค์การต้องการบุคลากรที่มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากองค์การเองก็มี Competency หรือมี Organization Competency ที่แตกต่างกัน

คงเป็นไปไม่ได้ที่วันนี้เราจะสร้างหรือพัฒนาคนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นแบบคนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งวัฒนธรรม การบริหารจัดการของสองมหาวิทยาลัยนี้แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นองค์การที่ให้บริการด้านการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่คุณลักษณะขององค์กรทั้งสอง มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหมายถึงคนในองค์การที่ต้องการความแตกต่างกันด้วย

เมื่อเข้าใจความหมายของ Competency เช่นนี้แล้ว จะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้ Competency-based HRM หยุดคิดสักนิดก่อนลงมือพัฒนา Competency ขึ้นมาในองค์กร เพราะผู้บริหารต้องตอบคำถามแรกคือ ต้องการหา Competency ไปเพื่ออะไร เพื่อสร้างมาตรฐานคุณลักษณะงาน หรือเพื่อสร้างคุณลักษณะที่คาดหวังที่จะทำให้บุคลากรทำงานได้โดดเด่นในตำแหน่งที่ดำรงอยู่

ครับคราวหน้ามาพบกับหลุมพรางที่ 3 กันครับว่า ที่มาของการกำหนดสมรรถนะนั้น เรากำหนดขึ้นจากอะไรกันแน่

หมายเลขบันทึก: 562152เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลุมพรางที่ชาวนากลัวมีไหม สมรรถนะการบริหารประเทศควรใช้สมรรถนะอย่างไรจึงเดินหน้า

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท