9 หลุมพรางของระบบสมรรถนะ (Competency)


9 หลุมพรางของ Competency
รู้จัก Competency หรือ สมรรถนะ กันมั้ยครับ?
ระยะเวลาประมาณ 10 กว่าปีมานี้ องค์กรหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำมาใ้ช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานบุคคล ซึ่งส่งผลให้ระบบ HRM มีความเป็นระบบและมีทิศทางมากขึ้น 
จริงๆ แล้ว 'Competency' คืออะไรกันแน่? ระหว่าง สมรรถนะ ขีดความสามารถ ความเก่งกาจ สมรรถภาพ หรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ฯลฯ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันนี้ เชื่อว่ายังมีคน HR ที่ยังสับสน มึนงง ต่อความหมายของ 'Competency' รวมถึงการนำไปใช้
"9 หลุมพรางของ Competency" จึงเป็นการถอดกลไกแนวคิดที่คลาดเคลื่อนของ Competency เพื่อให้คน HR รอดพ้นจากการติด 'บ่วงกับดัก'
ที่ผ่านมา งาน HR เปลี่ยนไปอย่างมากจากการนำเอาเครื่องมือการจัดการ 'Competency' มาใช้ เช่น การเขียน Job Description ไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป การกำหนด Job Qualification ที่เป็นเรื่องของการศึกษาและประสบการณ์ในการรับสมัครงาน อาจไม่ได้ผลมากพอในการสรรหาคน
การพัฒนาคนโดยหาความต้องการฝึกอบรม ก็ไม่ใช่วิธีการพัฒนาคนที่เหมาะสม รวมถึงการจ่ายผลตอบแทนโดยอิงกับประสบการณ์และผลงาน ก็ไม่เพียงพอกับการรักษาบุคลากรอีกต่อไป
ยังมีปมปัญหาหลายประเด็นจากการนำ Competency ไปใช้ในองค์การ เนื่องจากแนวคิดที่หลากหลายของเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งมุมมองว่าใครถูกหรือผิด ไม่ใช่สาระที่สำคัญเท่ากับการเสริมสร้างความเข้าใจของ Competency และการนำไปใช้เพื่อการเพิ่มคุณค่าให้กับบุคลากรในฐานะที่เป็น Human Capital
แนวคิด "9 หลุมพรางของ Competency" เป็นการโฟกัสตัวตนที่แท้จริงของเครื่องมือชิ้นนี้ในแต่ละมิติ เพื่อสร้างความแม่นยำให้กับบรรดาคน HR ก่อนที่จะออก "ภาคสนาม" จริง
ตอนหน้าเรามาเริ่มที่หลุมพรางที่ 1 กันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 562149เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลุมพรางของสมรรถนะมันมองเห็นยาก แต่พอมองเห็นหลุมพรางรัฐบาลที่จะกลับมาใหม่แล้วชาวนาจะยากลงอีกพอ

มองเห็นชัด

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท