เรื่องราวของความรัก


เรื่องของความรัก

(Love story)

บทนำ

  ใกล้ถึงวันแห่งความรักของคนไทย (วันมาฆบูชา) และคนต่างชาติ (วันวาเลนไทน์) ประกอบกับเรื่องของความรัก เป็นเรื่องที่ผู้เขียนมีความสนใจศึกษาโดยตลอด เนื่องจากเป็นตัวแปรหนึ่งในศาสตร์ที่ผู้เขียนเรียนในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ผู้เขียนจึงมุ่งหวังที่จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความรักตามที่ได้มีการศึกษากันในเชิงวิชาการ แต่ในบันทึกนี้จะเน้นไปที่ความรักแบบมนุษย์โลก

 

ความหมายของความรัก

    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายของคำว่า "ความรัก" ไว้มากมาย ซึ่งพอสรุปได้ว่า ความรัก หมายถึง อารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเสน่หา และความผูกพันทางอารมณ์อย่างแรงกล้า หรือเป็นความรู้สึกพิเศษที่บุคคลมีต่ออีกคนหนึ่ง ทั้งนี้ตามหลักปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมที่แสดงออกถึงความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ส่วนหลักทางจิตวิทยา กล่าวว่า เป็นความรู้สึกของคนเราที่มีอำนาจแรงพอทำให้คนแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นเมื่อคนเราเกิดมีความรักขึ้นแล้วก็แสดงอาการรักออกมา อันยากแก่การปกปิดซ่อนเร้น ซึ่งเราคงทราบกันดี และเคยประสบกับตัวของเราเองกันมาแล้ว เช่น ความรักอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก จะเห็นว่าพ่อแม่แสดงอาการว่ารักลูกมากมาย ในการเลี้ยงดูเอาใจใส่ และเสียสละหรือความรักหนุ่มสาวก็เป็นกรณีที่เราเห็นอยู่เป็นประจำวันในสังคม 

   ทั้งนี้ Lasswell กล่าวว่า ความรักมีหลายแบบในช่วงเวลาที่ต่างกันในช่วงต้นของการจีบกัน ชายหญิงจะมีความรักแบบ โรแมนติก (Romantic Love), เมื่อเวลาผ่านไป ความรักที่มี เหตุผล (Logical - Sensible Love) ก็จะเกิดขึ้น, และเมื่อใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนานวันเข้า ความรัก ฉันท์เพื่อน ( Lifelong Friendship) ก็จะเกิดขึ้นแทนที่ ในช่วงเริ่มจีบกันใหม่ ๆ ชายหญิงจะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า "Idealization" คือ มองอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอุดมคติ เห็นแต่คุณสมบัติอันเลิศเลอเพอร์เฟคของคนรักตัวเอง โดยไม่เห็นข้อบกพร่องใด ๆ (ไม่มีใครหล่อ รวย เก่ง ดี เท่าคนที่เรารักอีกแล้ว) บางครั้งจะมองเฉพาะสิ่งที่เขาอยากเห็น ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเธอ, ต่างฝ่ายพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นมาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งพอใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความตื่นเต้นจะลดลงและความจริงก็จะชัดเจนขึ้น จนอาจทำให้ยอมรับข้อบกพร่องของกันได้ยาก แต่หากความรักได้เติบโตและมีวุฒิภาวะที่มากขึ้น คู่รักก็จะยอมรับข้อบกพร่องของกันได้ เพราะรู้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ ในหลายคู่ ความรักแบบโรแมนติกไม่ได้พัฒนาไปเป็นความรักที่ maturity จึงเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เกิดความผิดหวังเสียใจที่เขาหัวล้าน พุงพลุ้ย รสนิยมไม่ดี ไม่หล่อ ไม่เท่ อย่างที่คิด จนต้องเลิกรากันไปในที่สุด

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความรัก จัดเป็นอารมณ์ประเภทสุข เพราะเมื่อใครเกิดอารมณ์รักแล้ว เขาจะมีใจเบิกบานร่าเริงแจ่มใส เป็นความรู้สึกสุขใจที่ดี ฉะนั้นทุกคนจึงต่างแสวงหาที่จะรักคนอื่น และในขณะเดียวกันก็มีความต้องการให้ตนเองเป็นที่รักของคนอื่น (Maslow Theory) ทั้งนี้ถ้าพิจารณาให้ดีสรุปได้ว่า ความรัก : เป็นความผูกพันทางอารมณ์ (Emotional Attachment) ที่แสดงใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้สึก ความคิด และการกระทำ

                    ความรู้สึก : รู้สึกรัก ชอบ รู้สึกเป็นสุขที่ได้อยู่ใกล้ ทำให้ใจเต้น มองเห็นโลกเป็นสีชมพู... 
                    ความคิด : การมองผู้ที่ตนรักในแง่ดี มองเห็นคุณค่าและความหมายของเขา อยากทำสิ่งที่ดีให้ และอยากให้เขาพบแต่ความสุข 
                    การกระทำ : การปฏิบัติต่อกันอย่างอ่อนโยน การดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส กอดจูบ หรือการะมีเพศสัมพันธ์

 

ทฤษฎีแห่งความรัก

    ในการศึกษาเกี่ยวกับ "ความรัก" มีผู้ศึกษาและคิดทฤษฎีไว้ไม่น้อยกว่า 4 ทฤษฎี แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ และใช้ในการอ้างอิงเพื่อการศึกษาเรื่องความรักอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งรัก (Triangular Theory of Love) ของสเติร์นเบิร์ก

     โรเบิร์ต เจ สเติร์นเบิร์ก (Robert J. Sternberg, 1998) ได้นำเสนอทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก (triangular theory of love) โดยกล่าวว่า ความรักมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ความหลงใหล (passion) ความใกล้ชิดสนิทสนม (intimacy) และความผูกพันหรือพันธะสัญญา (commitment) ดังแสดงในภาพ และตารางประกอบ

 

 

 

 

      จากภาพและตารางอธิบายได้ว่า  องค์ประกอบทั้ง 3 ประการ ทำให้เกิดความรัก 8 ประเภท ดังนี้ 

      1. เฉยๆ (์Non Love) หมายถึง ความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จะไม่มีองค์ประกอบของความรัก

      2. รักใคร่ชอบพอ (Liking) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดสนิทสนม และความผูกพัน โดยปราศจากหลงใหล

      3. รักแรกพบ (Infatuated Love) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบด้วยความหลงใหล และความผูกพัน โดยปราศจากความใกล้ชิดสนิทสนม

      4. หมดรัก (Empty Love) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่เพียงแต่ความผูกพัน โดยปราศจากความใกล้ชิดสนิทสนมและความหลงใหล พบได้ในคู่รักที่คบกันมาสักระยะหนึ่ง หรือนานมาก จนความรู้สึกถูกใจในรูปร่างหน้าตาเริ่มหมดไป หรือคู่รักที่ถูกคลุมถุงชน

      5. รักแบบโรแมนติก (Romantic Love) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดสนิทสนม และความหลงใหล โดยปราศจากความผูกพัน

      6. รักแบบเพื่อน (Companionate Love) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบความใกล้ผุกพันและข้อผูกมัด โดยปราศจากความหลงใหล ความรักเช่นนี้ จะมีความเหนียวแน่นกว่าความรักใคร่ชอบพอ ความรักรูปแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นกับคู่รักที่อยู่ด้วยกันมานานจนมีความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน แม้ว่าความเสน่หาจะจางลงไปตามกาลเวลา แต่ทั้งคู่ก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น และอยู่ร่วมกันด้วยความผูกพันบางอย่าง เช่น บุคคลที่ปราศจากซึ่งความสัมพันธ์กันแล้ว แต่คงอยู่ด้วยกันเพื่อลูก หรือความรักแบบผู้สูงอายุ

      7. ความรักแบบเพ้อเจ้อ หรือความรักแบบไม่รอบคอบ (Fatuous love) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบด้วยความหลงใหลและความผูกพัน  รูปแบบความรักประเภทนี้อยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาทางกายและความผูกพัน หรือพันธะสัญญาบางอย่าง พันธะในที่นี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นพันธะทางสังคม พบได้ในคู่แต่งงานที่คบกันในเวลาไม่นาน ดังนั้น จึงจัดเป็นความรักที่ขาดเหตุผล

      8. ความรักที่สมบูรณ์แบบ (consummate love) ความรู้สึกของบุคคลที่ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ ได้แก่ ความหลงใหล ความใกล้ชิดสนิทสนม และความผูกพันหรือพันธะสัญญา ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สเติร์นเบิร์กได้กล่าวว่าความรักรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากสามารถคงความสัมพันธ์ในระยะยาวได้ก็จะเป็นความรักในอุดมคติตามแนวคิดของเขา

      รูปแบบความรักส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบทั้ง 3 เข้าเกี่ยวข้อง แนวโน้มของความรักจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความเกี่ยวข้องขององค์ประกอบดังกล่าว นอกจากนี้ สเติร์นเบิร์กยังกล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของความรักอีกว่า ความใกล้ชิดสนิทสนมจะเป็นสิ่งที่มีในความสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่แล้ว ส่วนความผูกพันจะช่วยให้คู่อยู่ด้วยกันได้แม้มีข้อขัดแย้งหรือความไม่พอใจ ถ้าไม่มีความผูกพันและความใกล้ชิดสนิทสนมไม่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ก็มีแนวโน้มที่จะล่มตั้งแต่แรก แม้ว่าในตอนต้นยังมีความสัมพันธ์กันได้แต่ก็เป็นเพียงแค่ความหลงใหล ซึ่งจะมีระดับที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านพ้นไป ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนำเสนอรายละเอียดที่สำคัญของความใกล้ชิดสนิทสนม และความผูกพัน ดังนี้

      1.  ความใกล้ชิดสนิทสนม (Intimacy) หมายถึง ความรู้สึก ใกล้ชิด เชื่อมโยงผูกพัน และห่วงใยในสวัสดิภาพของอีกฝ่ายหนึ่ง  ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความสุข มีความเข้าใจกัน แบ่งปันซึ่งกันและกัน พูดคุยกันอย่างใกล้ชิด ให้การประคับประคองทางอารมณ์แก่กัน เห็นแก่คุณค่าของกันและไว้วางใจซึ่งกันและกัน  Intimacy เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในชีวิตสมรส เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งคู่อดทนและฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ โดย  ซึ่ง  Intimacy มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 

                 -  ความผูกพัน 
                 -  ห่วงใยเอาใจใส่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย 
                 -  เอาใจใส่ในสวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ และความรู้สึกซึ่งกันและกัน 
                 -  ดูแลต่อกันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 
                 -  เป็นที่พึ่งพิงของกันได้ในยามลำบาก

 

           2.  ความผูกพัน (Commitment)  มายถึงระดับความรู้สึกห่วงใยที่บุคคลมีต่อกัน รวมทั้งความสนใจและการเห็นคุณค่าของกันและกัน ความผูกพันที่ไม่เหมาะสมในคู่รักอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งดังนี้ (Epstein, Bishop และ Baldwin 1982)
                2.1   ผูกพันจนเหมือนเป็นบุคคลเดียวกัน คือ ความผูกพันที่แน่นแฟ้นจนทั้งคู่เหมือนเป็นบุคคลเดียวกันและไม่มีขอบเขตส่วนตัวเลย
                2.2   ผูกพันมากเกินไป คือ  ความผูกพันเป็นไปอย่างปกป้อง หรือจุ้นจ้านมากเกินไป และอีกฝ่ายหนึ่งมีความเป็นส่วนตัวหรือเป็นตัวของตัวเองน้อยมาก
                2.3  ผูกพันเพื่อตนเอง คือ ความสนใจในอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นไปอย่างจริงใจ แต่เป็นไปเพื่อตนเอง (Egocentric) และเพื่อเสริมสร้างคุณค่าให้ตนเอง
               2.4   ผูกพันโดยปราศจากความรู้สึก คือ คู่สมรสไม่มีความลึกซึ้งทางอารมณ์และความห่วงใยด้วยน้ำใสใจจริง ความสนใจที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นไปเพราะความอยากรู้อยากเห็น อยากควบคุมหรือเป็นไปตามหน้าที่ เช่น สามีที่มีภรรยาน้อย แต่ต้องมาแสดงความห่วงใยภรรยาหลวงยามเจ็บไข้ เป็นต้น
               2.5   ปราศจากความผูกพัน คือ คู่สมรสหรือคู่รักไม่มีความสนใจใยดีกันเลย เป็นแบบต่างคนต่างอยู่ ชีวิตคู่มีความหมายเพียงการมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันเท่านั้น

 

           ความผูกพันที่ไม่เหมาะสม ดังกล่าวนี้ ทำให้คู่สมรสขาดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และความรู้สึกที่จะพึ่งพิงกันได้ในยามจำเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถร่วมมือกันทำภารกิจที่สำคัญให้ลุล่วงไปได้ ตัวอย่างเช่น สามีภรรยาที่ไม่มีความผูกพันใกล้ชิดกันย่อมไม่สามารถปกครองลูกได้ เป็นต้น 
           ความผูกพันที่เหมาะสม  คือ ความผูกพันอย่างมีความเข้าใจ (Empathic Involvement) นั่นคือ มีความสนใจและผูกพันต่ออีกฝ่ายหนึ่งอย่างแท้จริง โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจในความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง  ความผูกพันแบบนี้ทำให้คู่สมรสตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของอีกฝ่ายได้อย่างเหมาะสม
           ความผูกพันจะต่างกันในวงจรชีวิตแต่ละระยะ โดยจะสูงสุดในระยะที่เพิ่งรักกันใหม่ ๆ หรือแต่งงาน และลดลงในระยะที่ลูกเข้าวัยรุ่น หลังจากนั้นจะสูงขึ้นอีกเมื่อลูกโตและแยกจากครอบครัวไป 
           ความสมดุลระหว่างความผูกพันและความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ และจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ สามีภรรยาอาจมีความต้องการแตกต่างกัน เช่น สามีต้องการความเป็นตัวของตัวเองมาก แต่ภรรยาต้องการความผูกพันมาก ดังนั้น คู่สมรสหรือคู่รักต้องตระหนักถึงความแตกต่างนี้และพยายามทำให้ความผูกพันที่มีต่อกันเป็นไปอย่างเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละฝ่าย หากความผูกพันเป็นไปอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ภรรยาเข้ามาผูกพันใกล้ชิดกับสามีมากเกินไป มาคอยดูแลเอาใจใส่มากจนสามีรู้สึกอึดอัด สามีก็อาจต้องพยายามหาทางสร้างระยะห่างด้วยวิธีต่างๆ เช่น กลับบ้านค่ำ ทำงานพิเศษ หรือไปมีผู้หญิงคนใหม่ เป็นต้น 
           ในชีวิตของบุคคลจะมีความผูกพันกับคนหลายคน นอกจากกับคู่ของตนแล้ว ยังมีความผูกพันกับลูก พ่อแม่ ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงอีกด้วย แต่ต้องระวังไม่ให้ความผูกพันกับบุคคลอื่นในระบบภายนอกนั้นมากเกินว่าความผูกพันที่มีต่อครอบครัวปัจจุบัน เพราะจะทำให้ครอบครัวปัจจุบันเกิดปัญหาได้ 
           การที่บุคคลมีความผูกพันกับคู่ของตนเองมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น อาจเกิดการพึ่งพิงอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป มีความคาดหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเข้าใจตน มีคำตอบให้ตนทุกอย่าง หรือแก้ไขปัญหาให้ตนได้เสมอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้ ความคาดหวังนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกผิดหวัง และอีกฝ่ายหนึ่งจะเกิดความรู้สึกว่าตนปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดีพอ 
           การมีความผูกพันที่เหมาะสมโดยมีความเป็นตัวของตัวเองเพียงพอจะทำให้ทั้งคู่ไม่มีปฏิกิริยาต่อกันมากเกินไป ทั้งสองฝ่ายจะสื่อสารกัน เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดต่อกันได้อย่างอิสระ และจะสามารถประคับประคองต่อกันได้ดี

 

บทสรุป

     ถึงแม้หลายคนจะกล่าวว่า ความรัก เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งซับซ้อน และเข้าใจยาก แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนกลับมีมุมมองว่า ความรัก เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ ถ้าท่านได้ทำการศึกษาอย่างลึกซึ้ง สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บันทึกฉบับนี้คงสามารถทำให้ผู้อ่านได้เปิดมุมมองและมีความเข้าใจในความรักมากขึ้น

                                    ด้วยรัก   

                                     อาจารย์ดร.ปัญญฎา ประดิษฐบาทุกา

                                  9 กุมภาพันธ์ 2557

                                  เวลา 11.50 น.

หมายเหตุ บันทึกนี้เขียนภายใต้การค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความทั้งในและต่างประเทศ มีบรรณานุกรมอ้างอิงเรียบร้อย และเคยลงตีพิมพ์วารสาร แต่ที่ไม่ลงบรรณานุกรม เนื่องจากกลัวการลักลอบ...ดังนั้นถ้าท่านใดไม่มีการพิจารณาที่ดี กรุณาอย่าแสดงความคิดเห็นโดยไม่ใช้หลักวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 561277เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2014 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เพราะถ้าจริงคงไม่หวาดกลัวจะพ่ายแพ้

เลยลบทิ้งซะเลย นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วกระนั้นหรือ เสียชื่อมหาบุรุษที่แนะนำสามสิ่งนั้นไว้อย่างน่าเวทนานัก

ถ้่ารู้จักศีล สมาธิ ปัญญา จริง ตามที่อ้าง คงไม่แสดงความคิดเห็นโง่ๆ เยี่ยงนี้ ก่อนจะคิดหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ กรุณาตรวจสอบความจริง และอย่าอ้างว่าตนมีธรรมะ เพราะถ้ามีปัญญา ต้องตรวจสอบก่อน การเขียนนี้ได้อ้างอิงจากเอกสารตำราทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนงานวิจัย ดีกว่าคนที่มาแสดงความคิดเห็นส่วนตัว แล้วเอาธรรมะที่ตนยังเข้าไม่ถึง มาแอบอ้าง ถ้าเก่งจริง เผยรูปจริง แต่ที่ทำอยู่มันก็เหมือนด่าตัวเอง ที่ว่า กลัว จึงไม่กล้าแม้กระทั่งเผยรูป เผยชื่อจริง น่าเวทนา แล้วทำมาเป็นเอาธรรมะ ที่ตนยังไม่ศึกษาแท้จริงมาว่าคนอื่น เพียงเพราะริษยา ที่ไม่สามารถเขียนบทความเชิงวิชาการแบบที่คนอื่นทำ แล้วก็มาเพ่งโทษคนอื่น นี่หรือ คือที่แกบอกว่า แกมี ศีล สมาธิ ปัญญา..สมเพชจริงๆ

ในทางวิชาการ ก่อนจะเป็นทฤษฎีได้ ต้องมีการศึกษา ตลอดจนทำการวิจัยอย่างน้อย 10 ปี และเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทั่วโลกยอมรับ โดยเฉพาะนักวิชาการ ไม่ใช่คนไร้ซึ่งวิชาการอย่างที่สองคนแสดงความคิดเห็น ถ้าถามกลับ แกสองคนมีความรู้ไร ดีพอหรือยัง ถึงได้เพ่งโทษคนอื่น กรรมแท้ๆๆ โง่แล้วอวดฉลาด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท