การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง


ปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วง ได้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้อย่างจริงจัง

           การผลิตไม้ผลในฤดูการผลิตปี๒๕๕๖/๒๕๕๗นี้ มีอากาศที่หนาวเย็นติดต่อกันหลายวัน ซึ่งเหมาะสมต่อการแทงช่อดอกของไม้ผลตามฤดูกาล มีไม้ผลหลายชนิดกำลังอยู่ในระยะดอกบาน ซึ่งมีแนวโน้มจะติดผลเป็นอย่างดี สวนไหนหากไม่ได้มีการดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงวันผลไม้ ผลผลิตย่อมจะเสียหายและเกิดการระบาดแมลงวันผลไม้อย่างรุนแรง 

           

 

                แมลงวันผลไม้ เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ทำลายผลไม้ให้เสียคุณภาพและทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง และจากการทำลายของแมลงวันผลไม้นี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่อการส่งออกผลไม้สดของไทย โดยหลายๆประเทศจะมีการตั้งเงื่อนไขในการกีดกันผลไม้สดของไทย เช่นประเทศญี่ปุ่น จะยอมให้มีการนำเข้าผลไม้สดบางชนิดเท่านั้น โดยเฉพาะมะม่วงสดจากไทยจะต้องผ่านการอบไอน้ำ เพื่อทำลายไข่แมลงวันผลไม้ที่อยู่ในผลมะม่วง

 

              ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วง ได้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นการรักษาผลผลิตให้ได้คุณภาพ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตผลไม้สดที่มีคุณภาพไปยังต่างประเทศอีกด้วย

            

                      เราลองมาทำความเข้าใจกับแมลงวันผลไม้ กันดูนะครับ แมลงวันผลไม้ หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งคือ แมลงวันทอง จัดอยู่ใน Order Diptera ซึ่งแมลงอยู่ใน Order นี้มีอยู่ประมาณ ๔,ooo ชนิด แต่พบว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสถานที่และชนิดของแมลงวันผลไม้นั้นๆ

 

              ลักษณะการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ ส่วนใหญ่จะพบการทำลายที่ผล แต่บางชนิดก็ทำลายที่ดอก ต้นและรากด้วย ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพืชบางชนิด ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดแล้ว จะเกิดความเสียหายถึง ๑00 เปอร์เซ็นต์ และจากผลการทำลายของแมลงวันผลไม้นี้ จะทำให้บางประเทศมีการกีดกันการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทย

 

              แมลงวันผลไม้ที่พบในประเทศไทย  ก็มีหลายชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญและพบทุกภาคของประเทศไทยคือ แมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera dorsalis มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งมีพืชอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะเป็นไม้ผลทางเศรษฐกิจเช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ น้อยหน่า ละมุด พุทรา กระท้อน ฯลฯ ลักษณะการเข้าทำลาย หนอนแมลงวันผลไม้จะเป็นปัญหากับมะม่วงที่ใช้รับประทานสุก ตัวหนอนจะชอนไชเจาะอยู่ภายในเนื้อผลทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนเก็บ แมลงวันผลไม้จะระบาดมากในช่วงที่ผลไม้สุก เพราะนอกจากมะม่วงแล้วยังมีพืชอาหารอีกหลายชนิด จึงเป็นโอกาสที่ทำให้แมลงแพร่ขยายพันธุ์ได้มาก

 

              วิธีการในการป้องกันและกำจัดแมลงวันผลไม้นั้น จะสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยเกษตรกรเจ้าของสวนอาจจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชนิดพืชและสภาพพื้นที่นั้นๆ ซึ่งวิธีการต่างๆได้แก่ การใช้เหยื่อพิษ การห่อผล การตัดแต่งกิ่งและเก็บผลที่ถูกทำลาย การใช้สารล่อ การใช้วิธีทำให้แมลงเป็นหมัน การใช้ศัตรูธรรมชาติเป็นตัวควบคุม และการใช้สารเคมี แต่มีวิธีที่เกษตรกรนิยมทำกันมากได้แก่ การห่อผล เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันผลไม้ไปวางไข่ อีกวิธีหนึ่งควรจะเก็บผลที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลายฝังหรือเผา จะช่วยลดปริมาณแมลงลงได้ มีอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้กับดักเพื่อล่อแมลงวันเพศผู้ เพื่อลดอัตราการขยายพันธุ์โดยใช้สารล่อเมทธิลยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลง อัตรา ๒:๑ โดยปริมาตร

            

           

              จากการที่ผมได้ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร  จะพบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรชาวสวนจะมีการห่อผลและการใช้สารล่อ ในมะม่วง กระท้อนและชมพู่ และที่พบล่าสุดด้วยตนเอง การใช้ต้นเดลหลีใบกล้วย ซึ่งเป็นไม้ประดับช่วงออกดอก ก็จะมีแมลงวันผลไม้ มาดูดเกสร จากนั้นเราก็หาวิธีกำจัดด้วยวิธีกลเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ได้นะครับ

 

 

เขียวมรกต

๒๗ มค.๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 560283เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2014 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ปีนี้มะม่วงออกดอกเยอะมาก แึต่ไม่รู้ว่าจะติดผลเยอะหรือเปล่านะ

การห่อมะม่วง เป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดี...เคยเห็นตั้งแต่สมัยเด็กๆ ...ปัจจุบันน่าจะมีการคิดเครื่องมือช่วยในการห่อนะคะ...

-สวัสดีครับ..

-ตามมาอ่านและรับความรู้ผ่านบันทึกนี้ครับ

-สบายดีนะครับท่าน..

-ขอบคุณครับ

ได้ความรู้ ขอบคุณมากค่ะ ที่บ้านเพิ่งเริ่มออกดอก ๑ ต้น ลุ้น ๆ ให้ติดผล จะได้ใช้ความรู้จากบันทึกนี้

อยากห่อลูกมะม่วงแล้วค่ะ อิ อิ

(๒ ต้น สูงเลยหัว ๑ ต้น ประมาณไหล่ อีกต้นใบเหลือง มหาชนก ไม่รู้จะรอดไหม)

ขอบคุณ ทพญ.ธิรัมภา ที่แวะมาแลกเปลี่ยนครับ สำหรับต้นมะม่วงที่ดอกดอกแล้ว ควรให้น้ำ หากฉีดพ่นน้ำท่่ช่อดอกก็จะดี หากเริ่มติดผลคอยตรวจดูว่ามีเพลี้ยไฟ หรือเพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วง มีบ้านไหม ควรจะป้องกันไว้นะครับ

ขอบคุณ อ.เพชรน้ำหนึ่งที่แวะมาเยี่ยมและทักทายกันครับ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ ดร.พจนา ที่กรุแวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณครูมะเดื่อครับ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยม การที่ต้นมะม่วงออกช่อมาก จะติดผลหรือไม่ก็มีอยู่หลายปัจจัยเช่นกันได้แก่ ช่วงดอกมีโรค แมลงศัตรูหรือไม่ อุณหภูมิ และน้ำก็เป็นปัจจัยหนึ่งนะครับ

ขอบคุณ คุณบุษยมาศ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจเสมอมาครับ

ขอบคุณคุณเขียวมรกตมากนะคะ ที่ได้เขียนบันทึก เกี่ยวกับการทำมะม่วงนอกฤดู และเรื่อง "การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง" ซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากสำหรับฟาร์มไอดินฯ ค่ะ เพราะ "มะม่วง" เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเรา ซึ่งได้ปลูกมะม่วงนับ 10 ชนิด ได้แก่ 1) มะม่วงงามเมืองย่า 2) มะม่วงโชคอนันต์ 3) มะม่วงน้ำดอกไม้ 4) มะม่วงแก้ว (ดังภาพเปรียบเทียบขนาดของมะม่วงทั้ง 4 ชนิด) 5) มะม่วงเขียวเสวย เป็นต้น

สำหรับการทำมะม่วงนอกฤดู และวิธีป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ดอกเดหลี นับเป็นเรื่องใหม่ของเรา อยากจะขอคำแนะนำวิธีการทำมะม่วงโชคอนันต์นอกฤดูค่ะ เพราะในบันทึกเรื่องที่แล้ว คุณเขียวมรกตได้พูดถึงการทำมะม่วงนอกฤดูของเกษตรกร แต่ไม่ได้บอกวิธีทำ และขอเรียนถามว่า การใช้ดอกเดหลีล่อแมลง ทำโดยนำกระถางไปตั้งไว้ใต้ต้นมะม่วง หรืออย่างไรคะ...จะรอคำตอบนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณ พี่ใหญ่ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ไอดินฯ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ สำหรับการปลูกเดลหลี ที่พบเกษตรกรจะปลูกรอบๆที่อยู่อาศัย แต่ก็จะเป็นเพียงตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่บ่งบอกปริมาณประชากรของแมลงฯ หากพบในปริมาณที่สูงก็จะต้องหาวิธีลดประชากรของแมลงฯให้ลดลงเช่นกันนะครับ แต่มักจะพบพ่อค้าคนกลางจะเลือกซื้อผลผลิตมะม่วงจากสวนที่มีการห่อผล นอกจากจะเป็นการป้องกันแมลงได้ดีแล้ว ยังได้คุณภาพของผลจะดีขึ้น ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท