เรียนรู้จากตำราญี่ปุ่น : ความลับของสมอง (หนังสือที่ครูควรอ่าน)


อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ต้องบอกต่อครับ สำหรับครูนักเรียนรู้ทุกคนครับ  ผมจับเอาประเด็นที่เป็น "แก่น" มาตีความนิดหน่อยครับ

หนังสือ “ความลับของสมอง ทำงานอย่างไรให้สมองมีความสุข” โดย ศาสตราจารย์ด้านสมอง โมงิ เคนอิชิโร แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว แปลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นหนังสือขายดีกว่าล้านเล่มในประเทศญี่ปุ่น บอกเล่าผลการค้นพบความลับการทำงานของสมองมนุษย์ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรจะรู้ ดังนี้

ผู้แต่ง : Kenichiro MOGI
แปลโดย : ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์
จำนวนหน้า : 232 หน้า
ISBN : 9789744434005

 

... “สมองเป็นอวัยวะที่ใช้คิด” การคิดเป็นหน้าที่หลักของสมอง แต่การเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ก็มีสมองทำหน้าที่เป็นหลักอยู่เช่นกัน...

...ทำไมเราเห็นและรู้ว่าสิ่งนี้เป็น “ของดี” แต่พอมาทำเองกลับทำไม่ได้...เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ในสมองของคนเรา “วงจรการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส” (ส่วนอินพุต) ทั้งหลาย เป็นคนละส่วนกับ “วงจรการเรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว (ส่วนเอาต์พุต)...

...หัวใจสำคัญของ “เทคนิคการทำงานโดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติพิเศษของสมอง” ก็คือ “การทำให้อินพุตและเอาต์พุตในสมองหมุนเป็นวงรอบ” อย่างมีความสุขนั่นเอง....

... สมองของแต่ละคนมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ไม่ใช่ให้ทำตามวิธีของคนอื่นเสียทั้งหมด แต่ต้องใช้วิธีที่เราค้นพบด้วยตนเอง...

...สิ่งสำคัญในการฝึกสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัสคือ ต้องทำให้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นๆ ...จะมีโอกาสพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพียงได้สัมผัสกับประสบการณ์ดีๆ บางอย่าง...ส่วนสมองที่เรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวจะพัฒนาได้ด้วยวิธีเดียวคือ การฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง...

ในช่วงเวลานอนหลับสมองจะทำการจัดระเบียบเหตุการณ์หรือประสบการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันก่อนหน้าโดยที่เราไม่รู้ตัว แล้วพอตื่นเช้ามาความหมายของประสบการณ์เหล่านั้นก็สุกงอมมากขึ้น...

การฟังความเห็นของตนเอง (กระจกเงาตนเอง) อย่างตรงไปตรงมา ตรวจดูผลงานของตนเองเหมือนกับดูผลงานของคนอื่น โดยมองหาจุดดีและจุดด้อยเป็นเรื่องสำคัญต่อการเรียนรู้มาก...

...ข่าวสารข้อมูลที่สมองรับรู้หรือสัมผัสได้ ไม่เพียงแต่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส เช่น การดูหรือการฟังเท่านั้น นอกจากประสาทสัมผัสทั้งห้าแล้ว ในร่างการของคนเรายังมีสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้สึกในส่วนลึก”อยู่ด้วย

ความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับอายุ เพศ หรือสภาพแวดล้อม เพราะไม่ว่าใครก็สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้...

...สมองมีความสามารถในการค้นพบสิ่งดีๆ โดยบังเอิญ...ภายใต้การทำงานของสมอง ๓ ประการ ได้แก่ ต้องมีการทำก่อน ต้องมีความสามารถในการสังเกตหรือตรวจจับ และสมองมีการ “รับเข้ามา” โดยไม่ปฏิเสธทันทีแต่มีความยืดหยุ่น...

...การทำงานแบบรู้ตัวเป็นการจัดการแบบอนุกรม ส่วนการทำงานแบบไม่รู้ตัวเป็นการจัดการแบบขนาน...ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นในสภาพที่มีการทำงานแบบขนานขณะที่ไม่รู้ตัวเท่านั้น...

คนเราเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารภายนอกเข้ามา ก็จะบันทึกไว้เป็นความทรงจำในสมองส่วนเทมพอรับโลบ (temperal lobe) ส่วนอินพุตนี้จะถูกสร้างเป็น “ความหมาย” โดยการส่งออกไปเป็นเอาต์พุตด้วยสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวก่อน แล้วจึงเปลี่ยนให้เป็น “ประสบการณ์” ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่นต่อไปได้... เมื่อ “ประสบการณ์” นี้ถูกฟรอนทัลโลบ (frontal lobe: สมองส่วนหน้า: ผู้เขียน) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสติและความรู้ตัว นำไปจัดรูปแบบใหม่ตามที่เราคิดหรือวางแผนไว้ ณ จุดนี้เองสมองจะสร้างสิ่งใหม่ออกมา นั่นคือ ถ้าไม่มีส่วนประกอบที่เป็น “ประสบการณ์” อยู่ด้วย สมองก็จะไม่สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้

… การแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมานั้น การทำงานของสมองจะเหมือนกับมีการปะชุมหารือเพื่อสร้างไอเดียใหม่ระหว่างฟรอนทัลโลบและเทมพอรับโลบ...เริ่มที่ฟรอนทัลโลบจะส่งสัญญาณถามว่า “อยากได้ไอเดียทำนองนี้นะ มีประสบการณ์อะไรที่จะใช้ประโยชน์ได้บ้าง”...เทมพอรัลโลบจะจัดหาสิ่งที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด โดยอาจต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ...แล้วเสนอว่า “อันนี้เป็นอย่างไร” “แล้วอันนี้ใช่ไหม” ฟรอนทัลโลบจะประเมินและตัดสินใจว่า “อันนี้ไม่ใช่” “อันนี้ใกล้เคียง” โดยติดต่อกับเทมพอรับโลบเช่นนี้ซ้ำไปซ้ำมา จนถึงจุดหนึ่งเมื่อพบว่า “อันนี้ใช่เลย”...ก็คือตอนที่เราแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาพร้อมกับไอเดียใหม่ๆ ที่ต้องการนั่นเอง

...กระบวนการสร้างความมุ่งมั่นหรือความรู้สึกอยากทำ (แรงบันดาลใจ: ผู้เขียน) อาจเปรียบได้กับ “การไหลของกระแสน้ำ” ...สิ่งที่เราเห็นที่ปลายน้ำนั้นคือความมุ่งมาดปรารถนา...ซึ่งจะไหลแรงหรือมีปริมาณมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและพลังงานของน้ำ ณ แหล่งกำเนิดที่ต้นน้ำ... แหล่งพลังงานของต้นน้ำนี้มีหลายอย่าง แต่ที่มีผลมากที่สุดเห็นจะเป็นประสบการณ์ที่เป็น “ความประทับใจ”...จากการที่ได้เปิดหูเปิดตาพบเห็นสิ่งดีๆ...โดยเฉพาะความรู้สึกประทับใจที่เกิดจากการสัมผัสดีๆ จะเป็นพลังงานในเชิงบวกที่ยิ่งมีมาก ก็ยิ่งเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างล้นเหลือ แล้วถ้ายิ่งสิ่งที่ทำนั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อตนเอง แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้อื่น พลังงานที่ต้นน้ำนี้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล...

...สมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) และ rACC (Rostral Anterior Cingulate) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการจัดการเรื่องความรู้สึก เช่น ความรัก ความเกลียด หรือความกลัว รวมถึงการตัดสินคุณค่า ถ้าอะมิกดาลาตัดสินว่า “ชอบ” ก็จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารโดพามีนที่ทำให้เกิดความพอใจออกมา...

...เวลาคนเราคิดถึงเรื่องที่ไม่แน่นอนในอนาคต มักจะมองเห็นภาพอนาคตในแง่ดี...เวลาที่คนเราคิดถึงเรื่องที่เป็นบวก...เลือดจะไหลเวียนในสมองส่วนอะมิกดาลามากกว่าตอนที่คิดเป็นลบ แสดงว่ามีการทำงานอย่างตื่นตัว ณ จุดนั้น..ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีเลือดไหลเวียนในสมองส่วนนี้น้อยลง...

...เมื่อรู้สึกชื่นชมใครสักคน จะทำให้ความอยากเรียนรู้มีมากขึ้น...สมองคนเราจะซึมซับส่วนที่ดีของคนอื่นได้ ...

...เซลล์ประสาทที่เรียกว่า “นิวรอนกระจกเงา” จะทำงานเมื่อเห็นคนอื่นทำอะไรอยู่ ในสมองจะรู้สึกเหมือนกับว่าตนเองได้ทำในสิ่งเดียวกันนั้นด้วย การเคลื่อนไหวของคนอื่นสามารถถ่ายโอนหรือติดต่อมาที่ตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ...ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใกล้คนมีมารยาทดี เราจะมีมารยาทดีตามไปด้วย หรือสามีภรรรยา พ่อแม่ลูกที่อยู่ด้วยกันนานๆ จะมีอากัปกิริยาที่คล้ายกัน...ฉะนั้นควรสนใจเฉพาะจุดดีของคนที่อยู่ใกล้ๆ เท่านั้น

...การทำให้สมองฮึกเหิมเอาจริงได้นั้น จะต้องให้ได้สัมผัสกับของจริงมากที่สุด เพราะสมองของคนเรามีคุณสมบัติที่ “ถ้าได้สัมผัสขผงจริงแล้วจะมีความเอาจริงเอาจังขึ้นมา”... เพราะฉะนั้นต้องทำให้สมองของตัวเองอยู่ในสภาพเอาจริง และเพื่อเป็นการปลดข้อจำกัด ก็ต้องพยายามสัมผัสกับของแท้ให้ได้มากที่สุด...

...การเรียนรู้หลายภาษาเท่ากับได้เรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษานั้นด้วย ซึ่งความสามารถในลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตคนเรา...

...ความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ออกมา (การทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว) และความสามารถในการรับรู้คุณค่าของสิ่งดีๆ (การทำงานของสมองส่วนที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส) ความสามารถทั้งสองด้านนี้จะต้องมีอย่างทัดเทียมและสมดุลกัน จึงจะมีดคุณสมบัติเป็นนักประดิษฐ์ได้

หมายเลขบันทึก: 560225เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2014 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2014 12:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท