แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิชาสัมมนา 2 กิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคม (KNOWLEDGE TRANSLATION: OCCUPATIONAL THERAPY IN PSYCHOSOCIAL DISFUNCTION )


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆ ที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเรียนวิชาสัมมนา 2 มาแบ่งปันให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับ ซึ่งในวันนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ดอกเตอร์ศุภลักษณ์ เข็มทอง นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมคนแรกของประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคมกันครับ

อาจารย์ดอกเตอร์ศุภลักษณ์ เข็มทอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้พวกเราฟังว่า “การดูแลผู้ป่วยฝ่ายจิตเวชนั้นจุดสำคัญคือการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการฟื้นตัวจากอาการป่วยทางจิตเวช เน้นให้ผู้ป่วยมีทักษะพื้นฐานในการมีส่วนร่วมในสังคมให้มากที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตได้ และส่งเสริมไปสู่การประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อีกครั้ง แต่การทำงานในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคมนั้นยังมีจุดอ่อนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจำนวนของนักกิจกรรมบำบัดที่เข้ามาทำงานในฝ่ายจิตสังคมยังมีค่อน ข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับฝ่ายเด็กและฝ่ายกายมากกว่า รวมถึงการให้การบำบัดยังเน้นการฟื้นฟูทักษะในโรงพยาบาลมากกว่าการให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วนร่วมในการทำงานในชีวิตจริง

ในประเทศไทยยังมีนักกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคมน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ป่วยทางจิตสังคม ในประเทศไทยมีผู้ป่วยทางจิตสังคมประมาณ 10 ล้านคน แต่ที่ได้รับการรักษาจริงเพียงประมาณ 1 ล้านคนเท่านั้น และในอนาคตยังมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยทางจิตสังคมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงไม่ควรให้เฉพาะการบำบัดรักษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตสังคมเท่านั้น แต่ควรให้การส่งเสริมและป้องกันในกลุ่มบุคคลทั่วไปด้วย และต้องมีความรู้เกี่ยวกับกรอบอ้างอิงต่างๆเพื่อที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมในการให้กิจกรรมการรักษาผู้ป่วย”

สุดท้ายนี้ ผมต้องขอขอบคุณ อาจารย์ดอกเตอร์ศุภลักษณ์ เข็มทอง เป็นอย่างมากครับ ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตสังคม ให้พวกเราได้มองเห็นมุมมองในการทำงานทางด้านกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตสังคมกันมากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านครับที่เข้ามาอ่านบทความของผม ติดตามอ่านได้ต่อกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานในกิจกรรมบำบัดฝ่ายกาย โดย อาจารย์ดอกเตอร์อนุชาติ เขื่อนนิล ในลิงค์ต่อไปครับ Click>>   http://www.gotoknow.org/posts/560297 

 

 

Hello my dear readers. Today I have some good stories I have experienced and learnt from Seminar 2 to share. I was given the opportunity to learn with Dr. Supalak Khemtong, an occupational therapist, and the first Thai psychological specialist in this area actually. 

In our exchange of experiences, he said “When it comes to taking care of psychiatric patients, the ultimate goal is the patients’ well-being and improvement and recovery from their symptoms. It is essential that we emphasize and reinforce their cohabitation with others to ensure their peaceful coexistence in society as well as to eventually make them able to take up work to sustain themselves. Despite this ideal goal, psychological treatment in occupational therapy still has considerably a lot of room for improvement, especially the lack of therapists as most have gone for the pediatric sector and physical sector. Many also stress only hospitalization rather than reinforcing the patients’ practical involvement in real society.

In Thailand, the number of occupational-psychological therapists is simply overshadowed by the number of patients. While the number of patients accounts for around 10 million people, only a million are being given proper therapy. Moreover, the number of patients is still on the rise, so we should not be looking at treatment for the patients, but for protection and proper ways to reduce this increasing number at the same time.”

Before ending this, I would like to gratefully thank Dr. Supalak for his insight in this area. He has raised up a very important issue and we have gained a better perspective from it. Next we will continue with the section of physical dysfunction by Dr. Anuchart Kuennin.

Click>>           http://www.gotoknow.org/posts/560297 

หมายเลขบันทึก: 560194เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2014 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2014 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นักกิจกรรมบำบัด ก็ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมากซิเนอะ ถึงจะบำบัดผู้อื่นได้ ดีจังเลย เป็นกำลังใจให้ผู้ทำงานด้านนี้ค่ะ อยากทำมั่งจัง ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท