ขับเคลื่อน ปศพพ. โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ อบจ.มหาสารคาม


วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๗ ผมและทีม ออกไปเยี่ยมโรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ ตามคำเชิญของท่าน ผอ.ชัยยนต์ ผือโย ในโครงการพัฒนาศักยภาพครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายให้ครูรู้แล้วเข้าใจแนวทางการนำหลัก ปศพพ. มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ผมได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งจากท่าน ผอ. และคณะครู มีการแนะนำผมอย่างเป็นทางการ ซึ่งผมแจ้งให้ท่านทราบว่า มาคราวนี้ มาช่วยท่านในฐานะศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) และขอบพระคุณท่านที่ให้โอกาสและเกียรติอย่างสูงยิ่งนี้ 

ผมออกแบบกระบวนการเป็น ๔ ขั้นตอนในการฝึกอบรมครูในครั้งนี้ ในเวลา ๓ ชั่วโมง ได้แก่ ช่วงพาคิด ช่วงชวนคิด ช่วงบรรยาย และช่วงสะท้อนแลกเปลี่ยน  ดังนี้ (บันทึกไว้ที่นี่เผื่อมีประโยชน์)

ช่วงพาคิด

ผมนำเทคนิคของอาจารย์ฉลาด ปาโส (โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม) มาใช้โดย แจกเอกสารดังรูปด้านล่าง

 


แล้วพาครูคิดและเขียนเติมลงไปเป็นขั้นตอน ดังนี้

  • เขียนเติมกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ตนเองทำเพราะชอบ ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วภูมิใจ ทำแล้วอยากบอกต่อ ลงในรูปหัวใจตรงกลาง
  • เขียนขัั้นตอนและวิธีการทำสิ่งนั้น ทำอย่างไร ไว้ในวงกลมด้านบน
  • เขียนความรู้ที่จำเป็นต้องมี ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้างถึงจะทำสิ่งนั้นได้ดีและสำเร็จ ลงในวงกลมด้านซ้ายของรูปหัวใจ
  • เขียนคุณธรรม หรือคุณสมบัติใด ที่จะทำให้การทำกิจกรรมนั้นสำเร็จได้ 

ตอนที่ดำเนินกิจกรรม ขณะที่คุณครูกำลังเขียน ผมเพิ่มบรรยายกาศให้คึกคักและผ่อนคลาย โดยเดินไปแอบอ่านข้อความที่อาจารย์ต่างๆ เขียน เช่น บางคนเขียนว่า ชอบอบรมลูก ฯลฯ ...เสียง ฮา ดังไปทั่วห้องทีเดียวครับ

ช่วงชวนคิด

หลังจากที่ทุกคนเขียนเสร็จแล้ว ขั้นตอนไปคือ ชวนคิดเชื่อมโยงกับ ปศพพ. คำถามคือ "ท่านคิดว่ากิจกรรมที่เราเพิ่งทำร่วมกันนี้ เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อย่างไร"
... สำหรับครูแล้ว เรื่องนี้ไม่ยากเลยครับ ที่จะได้ข้อสรุปว่า

  • สิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วอยากบอกต่อ สิ่งที่ทำแล้วภูมิใจ  ทำแล้วไม่เกิดผลเสียต่อตัวเอง นั่นคือ สิ่งที่เรา "พอใจ" ซึ่งย่อมต้องเกิดมาจาก "ความพอเพียง" พอดี พอมี พอได้ อยู่ในกิจกรรมนั้นๆ แล้ว.....และถ้าถามว่า ทำไมถึงทำกิจกรรมนั้น ทุกคนย่อมมี "เหตุผล" ในการทำสิ่งนั้นเสมอ นี่คือ ห่วงเหตุผลใน ๓ห่วง๒เงื่อนไข
  • สิ่งที่เขียนในวงกลมด้านบนของรูปหัวใจ ที่บอกวิธีและขั้นตอนในการทำกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งทำได้สำเร็จก็เพราะมีความ "พอประมาณ" กับตนเองนั่นเอง วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมนี่เองที่หมายถึงความพอประมาณในการทำสิ่งใดๆ  นี่คือห่วงพอประมาณ
  • วงกลมด้านล่างซ้ายที่เขียนเกี่ยวกับความรู้ ก็คือ เงื่อนไขความรู้
  • วงกลมด้านขวา ที่เขียนเกี่ยวกับคุณธรรมและปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ ซึ่งต้องมีการวางแผนและตรวจสอบประเมินพัฒนา และป้องกันความผิดพลาดไว้ ก็คือ เงื่อนไขคุณธรรม และห่วงภูมิคุ้มกัน นั่นเอง 

ผมท้าทายว่า หากครูทุกคนนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับนักเรียนติดต่อกันอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ทุกอาทิตย์ ติดต่อกัน ๓ เดือน นักเรียนจะเข้าใจ การนำ ปศพพ. ไปใช้ในชีวิตประจำวันแน่นอน

และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เร็วขึ้น และฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ของเด็ก ให้ลอง "ถอดบทเรียน" ในตาราง ๖ ช่อง ด้านล่าง

 

กิจกรรม
วิชาการ
พอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกัน
คุณธรรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


และวิเคราะห์ เหตุ->ผล หรือ ผลลัพธ์/ผลกระทบ หรือ ประโยชน์ต่อตนเอง และประโยชน์ต่อผู้อื่นใน ๔ มิติ ตามตารางด้านล่าง

ประโยชน์/ผลกระทบ
ต่อตนเอง
ต่อสังคม
ต่อเศรษฐกิจ
ต่อวัฒนธรรม
ต่อสิ่งแวดล้อม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


ช่วงบรรยาย 

ผมบรยายแบบเล่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เคยเขียนไว้แล้วที่นี่ครับ และเสนอเครื่องมือของ รศ.ดร.ทิศนา ซึ่งเคยเขียนไว้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ ให้ครูฟังครับ ซึ่งเทคนิคสำคัญคือ ต้องสังเกตบริบทของครูที่นี่และยกตัวอย่างให้ใกล้เคียงที่สุด


ช่วงสุดท้ายคือ AAR

เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนนรู้ ว่าครูได้เรียนรู้อะไรบ้างจากวันนี้ และมีคำถามอะไรในใจที่ยังทำให้ไม่มั่นใจที่จะลงมือทำด้วยตนเอง

ผมแจกกระดาษ แล้วชวนครูทุกท่านพันเป็น ๓ ส่วน แล้วเขียนตอบคำถาม ๓ คำถาม คือ

  • ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้ 
  • รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ 
  • จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร 

ครูสะท้อนหลายอย่างที่บอกว่า ครูเข้าใจและจะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน หลายคนบอกว่าเวลาน้อยไป  ผมคิดว่า กิจกรรมวันนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในระดับสูงทีเดียว

อย่างไรก็แล้วแต่ ผมเน้นย้ำกับท่าน ผอ. ว่า ปัญหาที่ผมเจอส่วนมาก ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่เป็นการไม่นำไปใช้จริงๆ มากกว่า..... ผมเน้นกับท่านว่า ขอเพียงกำชับให้ครูทุกคนนำกิจกรรม "พาคิด" "ชวนคิด" และ "ถอดบทเรียน" ตามตาราง ๖ ช่วง ที่นำมาใช้ในวันนี้ ไปใช้กับนักเรียน อย่างต่อเนื่อง รับรองว่า ทุกคนจะเข้าใจ ปศพพ. และผลการเรียนรู้ดีขึ้นแน่นอน....

จะติดตามผลกับท่านต่อไปครับ

๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒

๒๔ มกราคม ๒๕๕๗
ฤทธิไกร

 


 


ดูภาพทั้งหมดได้ที่นี่ครับ

หมายเลขบันทึก: 560051เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2014 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2014 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท