ทัศนะเชิงการหน้าที่ของการสอนภาษา A functional view of language teaching ตอนที่ 6


4. บทบาทของวิธีการสอนแบบภาระงาน (The role of task-based methodology) ตอนที่ 2

     ขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นจะต้องวนไปจนครบทั้ง 3 แต่อาจอยู่ในรูปแบบอื่นๆได้ นักเรียนจะรู้ว่า

     ขั้นรายงานจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับการแสดงออกในที่สาธารณะ (a public performance) นักพูดในแต่ละกลุ่มจะต้องพูดกับเพื่อนๆทั้งหมด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำในกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ดังนั้นพวกเขาจะต้องมีการปรับคำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ และมีมารยาทต่างๆในการพูด พวกเราได้สรุปขั้นต่างๆเป็น 3 ขั้น ดังนี้

1. สารขั้นพื้นฐาน 2. การนำเสนอให้ผู้อ่าน/ผู้ฟัง 3. การนำเสนอตัวตน

     ในขั้นตอนที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกับการสื่อความหมายขั้นพื้นฐาน โดยที่ไม่ต้องกังวลกับรูปแบบของภาษา (form of message) ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆและต้องอดทนกับภาษาที่คนอื่นพูดด้วย ผู้เรียนกำลังสร้างเรื่องราวทีละเล็กทีละน้อย และอาจเพิ่มบริบทในช่วงที่เขาเขียนขึ้นมาด้วย ในช่วงขั้นเตรียมตัว และการรายงาน ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้ฟังและการนำเสนอตนเอง ชั้นเรียนจะเป็นเหมือนกับสาธารณะ มากกว่าเป็นกลุ่มเล็กๆเหมือนกับที่เคยเจอในขั้นตอนที่ 1  ผู้เรียนจะต้องประเมินตนเองในเรื่องการพูดในที่สาธารณะ นอกจากนี้ผู้เรียนอาจต้องค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องภาษาเพื่อดัดแปลงภาษาให้เข้ากับผู้ฟังคนอื่นๆด้วย เพื่อที่จะทำขั้นตอนที่ 2 ได้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมสาร ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบ (a form) แต่ฉันอยากจะให้คิดว่าเป็นเหมือนกับขั้นพัฒนาทางภาษามากกว่า (language development) หากที่จะคิดว่าเป็นการเน้นเรื่องรูปแบบ เราจะก็เห็นว่าการทำเช่นนี้เป็นครูเป็นศูนย์กลาง แต่ว่าถ้าเป็นการพัฒนาทางภาษาจะเป็นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่า และในขั้นตอนนี้นักเรียนจะมีการปรับตัวภาษาของเขาให้เข้ากับเพื่อนๆ มากกว่าที่จะให้กับรูปแบบที่ถูกต้องของครู กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ พวกเขาไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความถูกต้อง (accuracy) มากนักแต่ให้จำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่ความเร็ว (speed) และความคล่องแคล่วก็เพียงพอแล้ว ตอนนี้เราได้อธิบายถึงขั้นตอนการสอนที่เป็นลำดับที่เหมือนกับกระบวนการพัฒนาที่เป็นธรรมชาตินั่นเอง

      ในขั้นตอนที่ 1 ภาระงานของผู้เรียนต้องการกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์ในการใช้ภาษาที่เขามีให้ดีที่สุด บางทีพวกเขาอาจ “ด้น” ไปบ้างก็ได้ ในการเตรียมตัว พวกนักเรียนอาจอยากทดลอง ซึ่งหมายถึงพวกเด็กๆจะใช้ภาษาที่พวกเขารู้ และหาวิธีการที่ดีที่สุดในการแสดงความคิดเห็นนั้นออกมา ในขั้นสุดท้าย ก็คือการรายงานพวกเขาจะทำความรู้ที่ได้รับมาให้แข็งแรง ซึ่งหมายถึงพวกเขาจะปรับภาษาให้เป็นที่เข้าใจแก่ทุกคน ซึ่งอาจทำโดยการปรับแต่บริบท, ใช้การแสดงออกที่ด้นออกมา, พยายามใช้ทักษะทางภาษาที่ใช้ในตอนขั้นเตรียมก็ได้ ฯลฯ โดยสรุปในขั้นตอนการรายงานนั้นพวกเขาจะพยายามใช้ภาษาที่ได้มาใหม่ๆในช่วงต้น ทำมันให้แข็งแกร่ง และใช้มันได้อย่างคล่องแคล่ว 

 

หนังสืออ้างอิง

Dave Willis. A functional view of language teaching. 

 

หมายเลขบันทึก: 560047เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2014 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2014 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท