KM and SME และ HA


การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาวิสาหกิจ จากฐานเดิมในการที่เป็นที่ปรึกษา โครงการพัฒนาโรงพยาบาล ( HA )

 วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ที่ผ่านมา ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เป็นผู้ประสานงานเรียนเชิญ ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ นรภูมิพิภัชน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม มาให้ความกระจ่าง ถึงเป้าหมาย "หัวปลา" ที่ท่านได้ลงนามเป็นเครือข่ายในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี ๒๕๔๙ ทางศูนย์บริการวิชาการได้เรียนเชิญ คณบดี ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ อุตสาหกรรมจังหวัด มาร่วม ปรึกษาหารือ และ พิจารณาเป้าหมายร่วมกัน เป็นที่น่าเสียดายที่ทีมงานของ ม.ข ท่านติดราชการเกือบทุกท่านยกเว้นทีมของศูนย์บริการวิชาการ และท่านอาจารย์ ดร.ช่อ วายุภักต์ ซึ่งศูนย์บริการวิชาการเคยได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี๒๕๔๒ ให้รับผิดชอบมาตลอด

 ก่อนที่จะเริ่มตั้ง "หัวปลา" ผมฐานะกรรมการท่านหนึ่งได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงผลงานดำเนินการตั้งแต่มีความร่วมมือ จาก ปี ๒๕๔๒ ถึง ๒๕๔๗ มีทั้งสิ้น ๗๔ โครงการ และผู้ประกอบการเข้ามาร่วม ๕,๒๔๒ ท่าน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๔,๕๘๐ ท่าน ที่ประชุมได้สอบถามถึง KPI ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์

 ท่าน ศ.ดร.ธเนศ ท่านได้แจ้งที่ประชุมว่าเดิมเรื่อง KPI ไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่สิ่งที่ต้องการให้เกิดคือ มีผู้ประกอบการใหม่เกิดขึ้น ร้อยละ ๑๐

 จากนั้นทีมงานได้ "ลปรร" เพื่อตั้งหัวปลาโดย ที่ตั้งใจที่จะฝาก SME ไว้กับสถาบันอุดมศึกษา และ ต้องการให้มีหน่วยงานกลางคอยประสาน เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนา SME และ ต้องสร้าง "เครือข่าย"ให้ได้

 ท่านอาจารย์ ธเนศ ท่านได้เสนอให้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ให้ง่ายๆ คือ " การวินิจฉัย SME ในพื้นที่" และ นำไปสู่การเพิ่มเติมศักยภาพ โดยมีทีมงานเข้าไป เล่าถึง "Success Story" รวมทั้ง " How To or Tips" ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ SME ท่านอาจารย์ ธเนศ มีความเชื่อมั่นจากการที่ท่านติดตามระบบการให้คำปรึกษา ตามแนวทางที่ "พรพ"มอบหมายให้ HACC_KKU ดำเนินการเรื่อง HA น่าจะคล้ายคลึงกัน คือการเข้าไปวินิจฉัย ดดยกระบวนการ "เพื่อน ช่วย เพื่อน" การพัฒนาที่เติมเต็ม โดยการ "ลปรร" ด้วยความจริงใจ

 ศูนย์บริการวิชาการ จึงได้เรียนเสนอกรรมการ ให้พัฒนา "A Team" ซึ่งจะองค์ประกอบจาก ภาคธุรกิจในพื้นที่ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย และ ทีมงานจากสถาบันเครือข่าย มาร่วมกันเพื่อ สร้างเครือข่ายในการพัฒนา SME โดยร่วมกัน "ลปรร" เพื่อ "สร้างเครือข่าย"ในการพัฒนา และสุดท้ายจะได้ "หางปลา" มาเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนา SME ต่อไป

 ผมเองมองเห็นว่าการพัฒนา SME โดย A Team น่าจะนำเครื่องมือที่เราคุ้นเคย คือ "การจัดการความรู้"มาช่วย ซึ่งดูท่าทีว่าน่าจะเป็นไปได้ และ การเตรียมการที่จะ "ลปรร" เพื่อพัฒนา SME น่าจะประสบผลสำเร็จ

 ช่วยกันให้ความเห็นด้วยครับ

JJ

หมายเลขบันทึก: 5584เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2005 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท