จากการที่ผมได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบทของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ประจำปี 2547 ทำให้ได้รับรางวัลไปดูงานระบบบริการสุขภาพที่เมืองฮิเมจิ
ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงวันที่ 7-13เมษายน 2548
ซึ่งเป็นโครงการที่จัดโดยสมาคมแพทย์แห่งเมืองฮิเมจิและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมบ้านเซเวียร์
ริเริ่มโดยคุณหมอโยชิกิ
นิชิกาว่า(อดีตประธานสมาคมแพทย์ฮิเมจิ)และคุณพ่ออัลฟอนโซ แด
ยวง,เอส. เจ. ดำเนินการมาเป็นปีที่ 10
และรุ่นที่ผมไปจะเป็นรุ่นสุดท้ายเพราะคุณหมอนิชิกาวาได้เสียชีวิตเมื่อเดือนพฤษภาคม
2547ทำให้ขาดผู้ประสานงานหลักและในการเดินทางครั้งนี้ทางคุณหมออะกิระ
อิซุมิ
รองประธานสมาคมแพทย์ฮิเมจิเป็นผู้รับผิดชอบโดยมีผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด
7
คนคือคุณพ่ออัลฟอนโซ,อาจารย์วัฒนา(จากสระแก้ว),พี่กบ,พี่ตาล,ผม,คุณหมอจบใหม่อีก
2 คนคือหมอปราง(ปัจชิมา)กับหมอชนจันทร์
คณะเราเดินทางโดยเครื่องบินสายการบินJALจากดอนเมืองไปลงที่สนามบินคันไซ
เมืองโอซาก้าวันที่ 7 เมษายนตั้งแต่09.10-16.35
น.และเดินทางกลับเมืองไทยวันที่ 13
เมษายนโดยการบินไทยจากสนามบินโอซาก้าถึงดอนเมืองเวลา 22.30 น.
เมื่อถึงสนามบินโอซาก้าเราได้รับการต้อนรับอันอบอุ่นจากคุณหมออิซูมิและคณะ
แล้วเดินทางจากสนามบินโอซาก้าสู่เมืองฮิเมจิโดยรถบัสเล็ก
แวะทานอาหารเย็นระหว่างทางและเป็นมื้อแรกที่ต้องทานอาหารญี่ปุ่นและพบว่าอาหารญี่ปุ่นไม่ได้ทานยากอย่างที่คิด
ขณะเดินทางก็มีการสนทนากันโดยใช้ภาษาอังกฤษซึ่งก็พอสื่อกันรู้เรื่องเพราะพูดช้าด้วยกันทั้งสองฝ่าย
เมื่อถึงเมืองฮิเมจิได้เข้าพักที่โรงแรมฮิเมจิ คาสเทิล โฮเทล
ซึ่งเป็นโรงแรมมาตรฐานระดับห้าดาว
ห้องพักแม้จะดูแคบแต่ก็จัดได้อย่างลงตัวไปด้วยบริการในห้องพักที่มีเครื่องใช้ระบบอัตโนมัติ
คืนนั้นเราส่วนหนึ่งได้ออกไปเดินเล่นเพื่อชมตัวเมืองในช่วงกลางคืนโดยการนำของพี่ตาลสภาพที่เราเห็นนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่งสภาพบ้านเมืองที่สะอาดมาก
จัดอย่างเป็นระเบียบ ทางเท้า ทางรถ ระบบสัญญาณไฟจราจร ผังเมือง ถนน
อาคารต่างๆเป็นระเบียบ
รวมทั้งความมีวินัยของคนญี่ปุ่นในเรื่องต่างๆเช่นการข้ามถนน
การทิ้งขยะ เป็นต้นคืนนั้นกลับมานอนที่โรงแรมประมาณ 5
ทุ่ม(4ทุ่มในเมืองไทย)และเตรียมตัวสำหรับการศึกษาดูงานตามตารางที่กำหนดไว้ในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆไป
ตารางเดินทางใน 7 วันสำหรับ 7
ชีวิตจากเมืองไทยเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 เมษายน คณะจะต้องแยกเป็น 2
ทีมคือหมอ3คน(ผม,หมอปราง,หมอชน)จะอยู่ที่ฮิเมจิเพื่อแยกกันไปดูงานคลินิกของหมอ
3
ท่านในช่วงเช้าคือหมออูชิดะ,หมอฮามาชิม่าและหมอนากามูระและช่วงบ่ายไปดูโรงพยาบาลทากาโอกะซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวช
ส่วนคุณพ่อโซ่ พี่กบ
พี่ตาลและอาจารย์วัฒนาไปที่ฮากาตะและไปพักที่นางาซากิที่โรงแรมโอเทล
เจ.เอ.แอล.ซิตี้ นั่นหมายความว่าเรา 3 คนจะต้องอยู่กันตามลำพัง 2
วันเพื่อศึกษาดูงานสถานบริการสุขภาพที่ทางทีมคุณหมออิซูมิได้จัดเตรียมไว้โดยไม่มีพี่เลี้ยง
ในวันที่ 9 เมษายน หมอ 3 คนได้ไปดูงานที่ศูนย์โรคหัวใจที่มีคุณหมอชิดะ
เป็นผู้อำนวยการและเป็นผู้นำชมด้วยตัวเองและในช่วงบ่ายเราก็ได้ไปชมความงามของดอกซากูระที่กำลังบานสะพรั่ง(ซึ่งจะมีแค่ประมาณ
3-7 วันเท่านั้นใน 1 ปี นับว่าเราโชคดีมาก)ที่ปราสาทฮิเมจิ และในช่วง
6
โมงครึ่งทางทีมคุณพ่อโซ่ก็เดินทางกลับมาสมทบกับพวกเราในงานเลี้ยงต้อนรับและทุกคนพักค้างคืนที่โรงแรมฮิเมจิ
วันที่ 10
เมษายนซึ่งเป็นวันอาทิตย์คุณหมออิซูมิและคณะได้พาพวกเราไปเที่ยวที่เมืองเกียวโตซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าโดยการนั่งรถไฟหัวกระสุนหรือชิงกันเซ็น
ที่นั่งสบายเหมือนนั่งเครื่องบินชมทิวทัศน์ที่ผ่านเมืองต่างๆโดยคณะที่พาไปนอกจากคุณหมออิซูมิแล้วก็มีคุณหมอโยชิซาว่าซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของหมอนิชิกาว่า
คุณมิกะและคุณมานะซึ่งเป็นลูกสาวของคุณหมอนิชิกาว่า ได้เที่ยวชมปราสาท
วัดและสถานที่หลายแห่งและเดินทางกลับมาพักที่โรงแรมเดิม
วันจันทร์ที่ 11
เมษายนคุณหมออิซูมิได้พาไปพบกับนายกเทศมนตรีหรือผู้ว่าราชการของเมืองฮิเมจิที่ศาลากลาง(Mayor
of Himeji
City)ในช่วงเช้าหลังจากนั้นได้ไปพบกับคณะผู้บริหารของสมาคมแพทย์แห่งเมืองฮิเมจิ(Himeji
Medical Association)
ได้ศึกษาดูงานบริการของสมาคมแพทย์ที่เป็นศูนย์รวมบริการสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการและเอ๊กซ์เรย์พิเศษต่างๆที่แพทย์ที่เป็นสมาชิกสามารถส่งเข้ามาตรวจได้
หลังจากนั้นคุณมิกะและคุณมานะได้พาไปที่บ้านซึ่งเป็นบ้านของคุณหมอนิชิกาว่าซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ
ทำให้เราได้ดูรูปคุณหมอนอชิกาว่าและรูปกิจกรรมต่างๆของคุณหมอ
หลังจากนั้นได้ไปเยี่ยมชมสวนและดื่มชาแบบญี่ปุ่น
หลังรับประทานอาหารเย็นที่เป็นร้านอาหารไทยในฮิเมจิโดยมีคุณหมออูชิดะเป็นเจ้าภาพ
หลังจากนั้นลูกสาวสองคนของคุณหมอนิชิกาว่าได้พาไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าต่อและกลับมาพักที่โรงแรมเดิม
เช้าวันที่ 12 พวกเราทุกคนต้องเดินทางต่อไปที่เมืองอะโก
โดยรถตู้ของคุณมัตซูอิ เข้าที่พักที่โรงแรมอะโก รอยัลโฮเทล
แล้วมีทีมพาไปเที่ยวชมที่สปริงเอท
ซึ่งเป็นที่ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมและโปรตอนเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานและใช้ทางการแพทย์
ได้ไปเที่ยวชมวัดของซามูไร
และช่วงเย้นมีงานเลี้ยงรับที่ร้านอาหารภายใต้บรรยากาศแบบเป็นกันเองสไตล์ญี่ปุ่น
วันรุ่งขึ้น 13
เมษายนเดินทางจากเมืองอะโกกลับมาที่เมืองฮิเมจิรับประทานอาหารกลางวันและช็อปปิ้งที่ร้าน
100
เยนและเดินทางต่อด้วยรสบัสเล็กไปที่สนามบินคันไซเพื่อเดินทางกลับเมืองไทย
เมืองฮิเมจิถือเป็นเมืองเล็กๆมีประชากรประมาณ 5 แสนคน
มีผู้บริหารเมืองมาจากการเลือกตั้ง เป็นเมืองที่สงบ สวยงาม
สะอาดและปลอดภัย มีสถานพยาบาลทั้งประเภทคลินิกและโรงพยาบาลหลายแห่ง
มีแพทย์ประมาณ 1 พันคน
Dr. Nakamura Clinic ของคุณหมอนากามูระ
เป็นหมออายุรกรรมโรคทางเดินอาหาร มีขนาด 18 เตียง
ผู้ป่วยนอกเฉลี่ยประมาณ 120 คนต่อวัน เป็นคลินิกเอกชนขนาดใหญ่
ตอนนี้ไม่ได้รับผู้ป่วยนอนเนื่องจากมีแพทย์เพียงคนเดียวดูแลไม่ไหว
ในญี่ปุ่นถ้าเตียงมากกว่า 20 เตียงขึ้นไปจะถือเป็นโรงพยาบาล
คุณหมอนากามูระเป็นคุณหมอที่เก่ง ใจดี
ดูแลพูดคุยกับคนไข้อย่างเป็นกันเองและใกล้ชิด
มีภรรยาคือคุณเคียวโกะ(Kyoko)เป็นเภสัชกร มีบุตรชายอายุ 28
ปีเป็นแพทย์และบุตรสาวอายุ 26
ปีเป็นทันตแพทย์แต่ทำงานอยู่อีกเมืองหนึ่ง หมอนากามูระอายุ 56
ปี ส่วนภรรยาอายุ 54 ปี คุณเคียวโกะเป็นคนน่ารัก มีน้ำใจ
ดูสดชื่น ในคลินิกมีเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 24 คน โดยมีแพทย์ 1 คน
เภสัชกร 1 คน ผู้ช่วยเภสัช 4 คน ที่เหลือเป็นพยาบาล 6
คนและเจ้าหน้าที่อื่นๆ คลินิกเปิดทำการวันจันทร์ถึงเสาร์
หยุดวันอาทิตย์ เวลาเปิดคือ 9.00-12.00 น.และ 16.00-18.00 น.
ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แผนกกายภาพบำบัด ห้องตรวจ ห้องฉีดยา ทำแผล
นอนสังเกตอาการและหอผู้ป่วย มีการตรวจพิเศษเช่นเอ็กซ์เรย์ ฟลูฮอโรสโคป
อัลตร้าซาวด์ CT scan Gastroscope Colonoscope
มีโปรแกรมปรับภาพเอ๊กซ์เรย์โดยคอมพิวเตอร์
สำหรับค่ารักษาพยาบาลจะเป็นลักษณะประกันสุขภาพแบบร่วมจ่าย
โดยผู้ป่วยทั่วไปจ่าย 30 % ส่วนผู้สูงอายุที่ 65 ปีขึ้นไป จ่าย 10%
ส่วนเด็กน้อยกว่า 5 ปี ไม่ต้องจ่าย และที่เหลือ 70-90%
จ่ายโดยระบบประกันสุขภาพ
Nakaoka Hospital
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับคนไข้โรคจิต
เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่หวังกำไร(Non profit Private
Hospital)มีผู้อำนวยการคือหมอนากาโอะ(Nagao)
และประธานองค์กรแพทย์(Chief of Medical Staff)คือหมอดอย(Doi)
เป็นโรงพยาบาลขนาด 535 เตียง แบ่งเป็นเตียงสำหรับผู้ป่วยโรคทางจิต 485
เตียง ผู้สูงอายุ 50 เตียง และกลุ่มอื่นๆเช่นสมองเสื่อม 94 เตียง
ซึ่งแบ่งกลุ่มภารกิจออกเป็น 3 กลุ่มคือ 20
เตียงสำหรับฝึกทักษะการเข้าสังคม(Social skill Rehabilitation)
อีกส่วนสำหรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชและมี 4
เตียงสำหรับGroup Therapy มีคลินิกผู้ป่วยนอกที่เป็น 2
ลักษณะคือผู้ป่วยนอกทั่วไปกับผู้ป่วยที่นัดมาเข้าDay care
clinicประมาณ 60 คนต่อวัน มีแพทย์เต็มเวลา 15 คน และบางเวลา 10 คน
ผู้ป่วยประมาณ 60 % จำหน่ายภายใน 3 เดือน อัตราครองเตียง 98%
,ระยะเวลานอน 400 วันต่อราย(LOS)
โดยในญี่ปุ่นมีอัตราส่วนเตียงต่อประชากรของโรงพยาบาลจิตเวชเป็น
28:10,000 ซึ่งสูงมากและทางรัฐบาลพยายามลด
โรงพยาบาลนี้แบ่งออกเป็น 10 แผนกมีทั้งเภสัชกรรม เวชกรรมฟื้นฟู
โภชนาการ จิตเวช รังสีวิทยา สังคมสงเคราะห์ พยาบาล แพทย์
ประสาทวิทยา ค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยใช้ระบบNational Insurance
โดยผู้ป่วยจะจ่ายประมาณ 30 %
ขึ้นอยู่กับรายได้และเศรษฐานะของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายรวมในการรักษาต่อราย
โดยประมาณถ้ารายได้น้อย จ่ายประมาณ 20,000 เยนต่อเดือน
ถ้ารายได้สูงจ่ายประมาณ 100,000 เยนต่อเดือน
คนไข้ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภทถึง 70% ที่เหลือเป็นพวกสมองเสื่อม
โรคทางสมอง และโรคจากอัลกอฮอล์ ในเมืองฮิเมจิมีโรงพยาบาลจิตเวช 3 แห่ง
และมีโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่อีก 4 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลอื่นๆเช่นHimeji
Red Cross Hospital,National Himeji Hospital,Saint Maarie
Hospital