ปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการ A-I-C ประสบความสำเร็จ


เน้นความเป็นกระบวนการ, มีการศึกษาและเตรียมชุมชน, วิทยากรกระบวนการที่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการ A-I-C และมีประสบการณ์

          วันนี้ผมจะขอถ่ายทอด และทำบันทึกไว้ เรื่อง "เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม A-I-C" ซึ่งมีข้อมูลจากเอกสารประกอบการจัดอบรมฯ ที่ได้รับมาด้วย "เรื่องกระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม" เขียนโดย ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บูรณาการเข้ากับบางส่วน  จากประสบการณ์ที่เคยได้รับการอบรม การนำมาใช้ (อาจจะยังน้อยมาก) เป็นตอน ๆ ไปเพื่อทำให้ไม่น่าเบื่อในการติดตาม ประเด็น ปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการ A-I-C ประสบความสำเร็จได้ ดังนี้

ปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการ A-I-C ประสบความสำเร็จได้
          1) การจัดประชุมกระบวนการ A-I-C นี้ "เน้นความเป็นกระบวนการ" จะดำเนินการข้ามขั้นตอนหรือสลับขั้นตอน ไม่ได้ เน้นการระดมความคิด และสร้างการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจ การกำหนดอนาคตร่วมกัน และเน้นการสร้างพลังความคิด วิเคราะห์ และเสนอทางเลือก ในการพัฒนาและพลังความรัก ความเอื้ออาทร การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร อันเป็นพลังเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนา
          2) การศึกษาและเตรียมชุมชน
            2.1 การศึกษาชุมชนเพื่อให้เข้าใจสภาพของหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ การทราบความสามารถ ศักยภาพของกล่ม สภาพการพึ่งตนเอง เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมุลที่เพียงพอ เป็นข้อเท็จจริง ในการกำหนดอนาคตทางเลือก รวมทั้งกลวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา และการประสานความร่วมมือ
            2.2 การเตรียมชุมชนเพื่อทำให้กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ประชาชนเข้าใจ และส่งผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจของ กลุ่ม เข้าร่วมประชุม รวมทั้งมีการพิจารณาเพื่อกระจายโอกาสให้กลุ่มต่างๆ ในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม เช่น กลุ่มสตรี เด็ก คนจน ผู้ประสบปัญหาต่างๆ เป็นต้น
          3) วิทยากรกระบวนการที่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการ A-I-C มีประสบการณ์ ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องในการ ประชุม มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ เฉพาะหน้า สามารถไกล่เกลี่ย หรือมีวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้ง ที่เหมาะสมในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้น โดยสามารถทำหน้าที่
            3.1 เตรียมชุมชน เตรียมการประชุม ดำเนินการประชุม และสรุปผล
            3.2 สร้างบรรยากาศในการประชุม เพื่อคลายความตรึงเครียดของผู้เข้าร่วมประชุม
            3.3 ความคุมขั้นตอนและเวลาในการดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามกระบวนการ
            3.4 สรุปความเห็นที่แท้จริงของผู้เข้าร่วมประชุม โดยไม่สอดแทรกความเห็นหรือทัศนะของตนเองลงไป
            3.5 ในกรณีที่มีข้อถกเถียงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเกิดความต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ผู้ดำเนินการประชุมต้องทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และหาข้อยุติให้ได้
            3.6 วิเคราะห์และสังเกตบรรยากาศในการประชุม สำหรับจำนวนผู้จัดการประชุมอาจมีเพียงคนเดียวก็ได้เป็นผู้นำ การประชุม ซึ่งจะมีข้อดี คือ กระบวนการประชุมเป็นเอกภาพมากกว่า แต่หากไม่มั่นใจในการดูแลบรรยากาศการประชุม น่าจะจัดคณะมาช่วยโดยแบ่งหน้าที่เป็น
                  - ผู้จัดการประชุม ดูแลอำนวยความสะดวกทั่วไป ได้แก่ การลงทะเบียน อาหาร เครื่องดื่ม
                  - ผู้นำการประชุม
                  - ผู้จัดกิจกรรมเกมส์ สร้างบรรยากาศ เพื่อการละลายพฤติกรรม คลายเครียด และการนำเข้าสู่ขั้นตอนแต่ละ ขั้นตอน
                  - ผู้เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ทั้งนี้คณะฯ จะต้องทำความเข้าใจ ในขั้นตอนและวิธีการให้ตรงกัน สอดรับกัน

เรื่องทั้งหมดจะบันทึกไว้เป็นตอน ๆ คือ
[ ความสำคัญของกระบวนการ ]  [ ประโยชน์ที่ได้จากกระบวนการ
[ วิธีการดำเนินงานขั้นตอน A ] [ วิธีการดำเนินงานขั้นตอน I ] [ วิธีการดำเนินงานขั้นตอน C ]
[ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้]
หมายเหตุ: หากยังไม่ link หมายถึงยังไม่ตีพิมพ์ไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 5579เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2005 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท